Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17662
Title: การสร้างแบบจำลองการสอนสังคมศึกษาเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ หก โดยเน้นทักษะการใช้แผนที่
Other Titles: Construction of a social studies teaching model emphasizing map skills on "Neghbour Countries" for prathom suksa six
Authors: ลินจง อินทรัมพรรย์
Advisors: สุมร อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการสอนสังคมศึกษา เรื่องประเทศเพื่อนบ้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลหลังการใช้แบบจำลองการสอนระหว่างกลุ่มทดลองซึ่งเรียนด้วยการเน้นทักษะการใช้แผนที่กับกลุ่มควบคุมซึ่งเรียนด้วยวิธีสอนแบบธรรมดาไม่เน้นทักษะการใช้แผนที่ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม วิธีดำเนินการวิจัย 1. ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรประถมศึกษา หนังสือแบบเรียน คู่มือครู เนื้อหาวิชาสังคมศึกษา เรื่องประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งศึกษาโครงการสอนวิชาสังคมศึกษา แล้วจึงสร้างแบบจำลองการสอนสังคมศึกษาเรื่องประเทศเพื่อนบ้านจำนวน 8 เรื่อง 2. สร้างแบบสอบสัมฤทธิผลทางการเรียนแล้วทำการวิเคราะห์ปรับปรุงจนมีคุณภาพเชื่อถือได้ และนำแบบสอบถามนี้ไปทดสอบนักเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองสอนและหลังทดลองสอน 3. นำแบบจำลองการสอนที่สร้างขึ้นไปใช้สอนนักเรียน 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งสอนโดยเน้นทักษะการใช้แผนที่ เรียกว่า กลุ่มทดลอง อีกกลุ่มหนึ่งสอนวิธีการสอนแบบธรรมดาไม่เน้นทักษะการใช้แผนที่ เรียกว่า กลุ่มควบคุม เมื่อทำการสอนเป็นเวลา 4 สัปดาห์แล้ว ผู้วิจัยได้ทดสอบสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบสอบชุดเดิม การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาซึ่งเน้นทักษะการใช้แผนที่ ผู้วิจัยได้ใช้การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการทดสอบปรากฏว่า ตัวอย่างประชากรทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาสูงขึ้นหลังจากที่ครูได้ใช้แบบจำลองการสอนที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 และสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยเน้นทักษะการใช้แผนที่กับนักเรียนที่เรียนแบบธรรมดาไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The Purpose of the study: The purpose of this study was to construct a Social Studies teaching model on "The Neighbouring Countries" for Prathom Suksa Six. It was also to compare the achievement scores after using this model between the experimental group and controlled group which were taught with and with-out the emphasis on map skills. The sample were students in Prathom Suksa Six Chulalongkorn University Demonstration School (Elementary). Procedures: 1. an elementary level curriculum, the text books, the teacher's manual and the content on "the Neighbouring Countries" were gathered and analyscd eight units of Teaching models were then constructed. 2. The achievement test constructed by the researcher was analyzed and developed to use as a pre-test and post-test for the experimental and controlled groups. 3. The experimental group was taught by the teaching model with emphasis on map skills while the controlled group was taught by using the. Ordinary technique. After 4 weeks both group were post-tested. In analyzing the data and in the comparing the achievement in Social Studies concerning map skills, t-test method was used. Results: The results of the study indicated that, in comparing pre-test and post-test scores, both experimental and controlled groups had significantly greater achievement, at the .01 level. On the other hand there was no. significant difference in map skills between both groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17662
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Linchong_In_front.pdf326.9 kBAdobe PDFView/Open
Linchong_In_ch1.pdf499.04 kBAdobe PDFView/Open
Linchong_In_ch2.pdf742.88 kBAdobe PDFView/Open
Linchong_In_ch3.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Linchong_In_ch4.pdf244.26 kBAdobe PDFView/Open
Linchong_In_ch5.pdf290.74 kBAdobe PDFView/Open
Linchong_In_back.pdf700.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.