Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17665
Title: การเปรียบเทียบสัมฤทธิผลในการเขียนอักษร สำหรับเด็กเริ่มเรียนระหว่างวิธีสอนแบบถ่ายโยงรูปลักษณ์ กับวิธีสอนแบบธรรมดา
Other Titles: An achievement in alphabet writing of beginners a comparison between transfer of figure and traditional techniques
Authors: ลักษณ์ยุทธ ตรีชัย
Advisors: กิติยวดี บุญซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เด็ก -- การเขียน
การเขียน -- การศึกษาและการสอน
ภาษาไทย -- ตัวอักษร
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนสัมฤทธิ์ผลในการเขียนอักษรไทยของเด็กเริ่มเรียน ระหว่างการสอนแบบถ่ายโยงรูปลักษณ์กับการสอนแบบธรรมดากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีอายุระหว่าง 3 ปีครึ่ง- 4ปี ของโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็กจำนวน 60 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงนำมาจับคู่จากคะแนนที่ทำแบบทดสอบความพร้อมในการเขียนของ ประภา โชติบุตร เพื่อให้ได้ตัวอย่างประชากรที่มีความสามรถทางการเขียนใกล้เคียงกันจำนวน 15 คู่ จากนั้นได้แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนนักเรียนในกลุ่มทดลองด้วยตัวเอง โดยวิธี ถ่ายโยงรูปลักษณ์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างประชากรในกลุ่มควบคุมนั้น ครูประจำชั้นเป็นผู้สอนโดยวิธีธรรมดา เมื่อสอนครบตามเนื้อหาที่กำหนดไว้แล้ว ผู้วิจัยได้ทดสอบสัมฤทธิ์ผลในการเขียนของเด็ก ด้วยเครื่องมือทดสอบสัมฤทธิ์ผลด้านการจำและการจำแนกพยัญชนะที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น แล้วนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบของตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม มาทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยค่าที (t-Test) ผลการวิจัย สัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนการเขียนด้วยวิธีถ่ายโยงรูปลักษณ์ และวิธีธรรมดามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีถ่ายโยงรูปลักษณ์ มีสัมฤทธิ์ผลสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีธรรมดา
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the achievement scores on writing Thai Alphabet of the beginners comparing between Teaching by Transfer of Figure technique and Traditional technique. Sixty students from 3 and a half to 4 years old of Bandek Kindergarten were samples of this research. They were matched by pair using Readiness Test in writing constructed by Prapa Chotibooth in order to obtain 15 pairs. After that they were pararelly devided into 2 groups, one as an experimental group while the other one as a controlled group. The lesson plans were designed by the researcher using the Transfer of Figure technique and was taught by the researcher himself to the experimental group within 10 periods of time 20 minutes for each lesson. At the same time the controlled group was taught using Traditional technique by their own teacher within the same period of time and also with the same content. After 10 periods of teaching the samples of both groups were taken the Writing Achievement Test developed by the researcher which was already proved its validity by the experts. The obtained scores were analyzed in order to compare the two teaching techniques by using t –test. Finding The writing achievement of the students learning writing by Transfer of Figure technique and by Traditional technique were significantly different at the .05 level. The achievement of the students learning by Transfer of Figure technique was higher than learning by Traditional technique.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17665
ISBN: 9745623393
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Luckyuth_Tr_front.pdf325.6 kBAdobe PDFView/Open
Luckyuth_Tr_ch1.pdf441.96 kBAdobe PDFView/Open
Luckyuth_Tr_ch2.pdf708.73 kBAdobe PDFView/Open
Luckyuth_Tr_ch3.pdf412.55 kBAdobe PDFView/Open
Luckyuth_Tr_ch4.pdf244.17 kBAdobe PDFView/Open
Luckyuth_Tr_ch5.pdf321.49 kBAdobe PDFView/Open
Luckyuth_Tr_back.pdf380.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.