Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17670
Title: การเปรียบเทียบการระลึกได้ทันทีในเนื้อหาร้อยแก้ว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อมีและไม่มีจินตภาพจากการฟังและการอ่าน
Other Titles: A comparison of immediate recall on prose of prathom suksa five students with and without imagery from listening and reading
Authors: เรียง สุวรรณพงศ์
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การระลึก (จิตวิทยา)
จินตนาการ
การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
ความจำ
การสื่อทางภาษา -- ไทย
ภาษา
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการระลึกได้ทันทีในเนื้อหาร้อยแก้วเมื่อมีและไม่มีจินตนาภาพจากการฟังและการอ่านของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 จาก 3 โรงเรียนในเขตอำเภอพิงพระ จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 92 คน กลุ่มตัวอย่างได้ผ่านการทดสอบก่อนเรียนด้วยข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการใช้ภาษาไทย และทุกคนมีคะแนนอยู่ในระดับเดียวกัน สุ่มเข้ากลุ่มการทดลอง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มจินตภาพจากการฟัง ไม่มีจินตภาพจากการฟัง ไม่มีจินตภาพจากการอ่าน เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็นข้อความร้อยแก้ว จำนวน 1 ย่อหน้า ในกลุ่มการฟังจะให้ผู้รับการทดลองฟังคำบรรยายจากเทปบันทึกเสียงแบบตลับ ในกลุ่มการอ่านจะให้ผู้ได้รับการทดลองอ่านเนื้อหาร้อยแก้วจากใบคำสอนในแต่ละกลุ่มการทดลองจะให้เวลา 2 นาที ในการอ่านฟังร้อยแก้ว พัก 1 นาที และทำข้อสอบหลังเรียน 22 ข้อ ในเวลา 20 นาที นำคะแนนวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีตูกี (เอ) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ผลการระลึกได้ในทันทีในเนื้อหารร้อยแก้วของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โดยมีจินตภาพและไม่มี จินตภาพจากการอ่านสูงกว่าจากการมีจินตภาพ และไม่มีจินตภาพจากการฟัง 2.การระลึกได้ในทันทีในเนื้อหาร้อยแก้วของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โดยมีจินตภาพจากการอ่านสูงกว่าการมีจินตภาพจากการฟัง
Other Abstract: The purpose of the study was to compare the immediate recall on prose with and without imagery from listening and reading of Prathom Suksa five students. The subjects were 92 students from three schools in Sathingpra district Songkhla Province. They were tested on Thai usage by means of Thai Usage Achievement Test. They were at the same achievement level. Then, the subjects were randomly assigned to four experimental groups: imagery listening; without imagery listening, with imagery reading; and without imagery reading. The listening groups were given a one¬-paragraph prose by listening the narration from cassette tape recorder. The reading groups were assigned to read a one-paragraph prose from an instructional sheet. Each, group was allowed two minutes to study their material, one minutl to rest; and twenty minutes to complete the 22 -items postest. The score were analyzed by means of Two-Way Analysis of Variance. The pairwise test was conducted using Tukey (a) method. The results of this study were. 1. The immediate recall on prose learning of Prathom Suksa five students with and without imagery from reading was higher than from listening. 2. The immediate recall on prose learning of Prathom Suksa five students with imagery from reading was higher than imagery from listening.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17670
ISBN: 9745675393
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Riang_Su_front.pdf294.67 kBAdobe PDFView/Open
Riang_Su_ch1.pdf379.72 kBAdobe PDFView/Open
Riang_Su_ch2.pdf512.08 kBAdobe PDFView/Open
Riang_Su_ch3.pdf278.49 kBAdobe PDFView/Open
Riang_Su_ch4.pdf243.56 kBAdobe PDFView/Open
Riang_Su_ch5.pdf250.04 kBAdobe PDFView/Open
Riang_Su_back.pdf329.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.