Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17761
Title: การเลือกตัวอย่างแบบสถิติเพื่อการตรวจสอบบัญชี
Other Titles: Statistical sampling in auditing
Authors: แน่งน้อย เจริญทวีทรัพย์
Advisors: วิไล วีระปรีย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอบบัญชี
การสุ่มตัวอย่าง
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเลือกตัวอย่างแบบสถิติได้มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในสาขาวิชาต่างๆ เช่น การอุตสาหกรรม การแพทย์ และการตลาด การประสบความสำเร็จในการนำมาใช้ในด้านต่าง ๆ ทำให้ผู้สอบบัญชีอิสระ ซึ่งใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างในการทดสอบอยู่เสมอ ๆ ให้ความสนใจในการนำการเลือกตัวอย่างแบบสถิติมาใช้กับงานตรวจสอบ ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานตรวจสอบ และเพื่อให้ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่น่าเชื่อถือต่อบุคคลโดยทั่วไป เนื่องจากการเลือกตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณซึ่งผู้สอบบัญชีปฏิบัติอยู่นั้นไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน (Objectivity) และในการเลือกตัวอย่างนั้นมักจะได้รับอิทธิพลจากทัศนคติ ความรู้ ประสบการณ์ของผู้สอบบัญชีแต่ละคนซึ่งแตกต่างกันไป การเลือกตัวอย่างแบบสถิติสามารถจะนำมาใช้ได้กับการทดสอบภายใต้มาตรฐานการสอบบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยจะต้องมีการให้ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดค่าความเสี่ยงทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยค่าผิดพลาดจากการใช้ตัวอย่าง และระดับความเชื่อมั่นกับวัตถุประสงค์ในด้านการตรวจสอบ เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่คุ้นเคยกับวิธีการทางสถิติ และการนำมาใช้กับงานตรวจสอบนั้นยังเป็นเทคนิคที่มิได้นำมาใช้กันโดยทั่ว ๆ ไป การศึกษาให้ทราบถึงแนวทางหรือวิธีการในการนำมาใช้ ตลอดจนปัญหาซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการนำมาใช้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีโดยทั่วไป ในการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนอาศัยข้อมูลจากตำราต่าง ๆ ความเห็นของนักบัญชีผู้มีชื่อเสียง สถาบันผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของสหรัฐอเมริกา การวิจัยที่มีผู้เคยกระทำมาแล้ว คู่มือการสอบบัญชีในสำนักงานซึ่งผู้เขียนปฏิบัติงานอยู่ ตลอดจนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยตรงของผู้เขียน เนื่องจากการค้นคว้าในเรื่องดังกล่าวยังมิได้มีผู้ใดกระทำอย่างจริงจังในประเทศไทย ข้อมูลต่าง ๆ จึงได้มาจากเอกสารวิจัยซึ่งมีผู้กระทำไว้แล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะข้อคิดเห็นจากรายงานพิเศษซึ่งออกในปี ค.ศ. 1962 โดยคณะกรรมการเกี่ยวกับการเลือกตัวอย่างแบบสถิติซึ่ง AICPA ได้แต่งตั้งขึ้น วิธีการดำเนินการศึกษาจะเป็นไปตามขั้นตอนของปัญหาพื้นฐานของการเลือกตัวอย่างซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการทดสอบ การเลือกตัวอย่าง การกำหนดขนาดของตัวอย่างที่เหมาะสม และการประเมินผล ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจของผู้สอบบัญชีโดยใช้ผลจากตัวอย่าง ในบทก่อนสุดท้ายก็จะเป็นตัวอย่างการนำการเลือกตัวอย่างแบบสถิติมาใช้กับงานทดสอบในด้านต่าง ๆ ของผู้สอบบัญชี การเลือกตัวอย่างแบบสถิติ แม้ว่าจะมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าการเลือกตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณ แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้สอบบัญชีจะต้องนำการเลือกตัวอย่างแบบสถิติมาใช้ในการทดสอบทุกครั้ง ทั้งนี้เพราะในบางสถานการณ์การเลือกตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณก็มีความเหมาะสมมากกว่า การเลือกตัวอย่างแบบสถิติมีปัญหาหรือข้อจำกัดบางประการในการนำมาใช้ เช่น ปัญหาเรื่องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างค่าผิดพลาดจากการใช้ตัวอย่างและระดับความเชื่อมั่นกับวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ และความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์ด้านสถิติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่ผู้สอบบัญชีได้ทราบถึงแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการนำมาใช้ก็จะเป็นประโยชน์ เพื่อจะได้พิจารณาถึงโอกาสหรือสถานการณ์ซึ่งการเลือกตัวอย่างแบบสถิติจะมีความเหมาะสม นอกจากนั้น ในกรณีที่กิจการซึ่งตรวจสอบอยู่ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสถิติกับการปฏิบัติงาน เช่น แผนกตรวจสอบภายในของกิจการซึ่งตรวจสอบอาจใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสถิติในการปฏิบัติงาน ผู้สอบบัญชีควรมีความรู้ความสามารถที่จะประเมินความน่าเชื่อถือและใช้ได้ของวิธีการที่กิจการใช้ ในอนาคตอันใกล้เชื่อว่า การเลือกตัวอย่างแบบสถิติจะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับงานการตรวจสอบมากขึ้น เพราะกิจการส่วนมากจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น ปริมาณข้อมูลที่ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบมีมาก ผู้สอบบัญชีย่อมต้องการวิธีการซึ่งมีหลักเกณฑ์ และน่าเชื่อถือมากกว่าการเลือกตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณซึ่งผู้สอบบัญชีใช้อยู่
Other Abstract: Statistical sampling has been widely used in various fields of industry, medicine and marketing. The successful use of statistical sampling in the mentioned fields have stirred the interest of the independent auditors who normally use sampling technique. Statistical sampling improves efficiency and reliability of the audit test because judgement sampling which is normally applied by auditors lacks objectivity, does not provide a reliable basis for sampling and is dependent upon personal opinions and experiences which vary from one auditor to another. The use of statistical sampling is permitted under generally accepted auditing standards by relating measurement of sampling risk which comprises precision and confidence level to audit objective. As statistical sampling technique is not yet widely used in auditing and auditors generally are not familiar with it, a research into its application and problems which may be encountered will be useful to most auditors. In writing this thesis, the author obtained information from various text books, the opinion of prominent accountants and the American Institute of Certified Public Accountants (AICPA), from researches carried out by the scholars, from the audit manual of the firm where the author is currently working, and from the author own experience gained directly from the audit field work. As this topic has never been seriously studied before in Thailand, most of the information was therefore obtained from research papers compiled abroad and particularly from the opinion in the special report issued in 1962 by the committee on statistical sampling assigned by AICPA. The method of study in this thesis traces through the basic sampling problems which consist of determination of test objective, selection of sample, determination of sample size and evaluation of sample result including decisions made by auditors from sample result. In the chapter before last, examples are given of application of statistical sampling to various audit tests performed by the auditors. Although statistical sampling has more advantages than judgement sampling, it does not imply that auditors have to apply statistical sampling in every audit test. In certain circumstances judgement sampling may be more appropriate. There are some problems and limitations in the application of statistical sampling to audit tests such as the problems of relating precision and confidence level to audit objective, audit cost and knowledge of statistical methods etc. However, it is useful for auditors to know the method of application of statistical sampling as this will give them the opportunity to consider which circumstances statistical sampling is more appropriate. In addition, when the business enterprise is already using sampling e.g. where the internal audit department uses statistical sampling, the external auditor should be competent to evaluate the reliability and validity of the method used by the business enterprise. In the near future, it is likely that statistical sampling will play an important role in auditing because most of the business operations will increase in size and the volume of data to be audited by the auditors will also increase. Auditors will need a more reliable and scientific method of sampling rather than judgement sampling which is currently used by most auditors.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17761
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nangnoi_Ch_front.pdf693.24 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch1.pdf647.45 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch3.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch5.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch6.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch7.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_ch8.pdf747.96 kBAdobe PDFView/Open
Nangnoi_Ch_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.