Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17887
Title: การพัฒนาระบบการฝึกอบรมความสามารถสำหรับพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทปั๊มขึ้นรูป
Other Titles: Competency training system development for production operators in automotive press part industry
Authors: วัชฤทธิ์ เอกนิพิฐสริ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: การกระจายการทำงานเชิงคุณภาพ
การฝึกอาชีพ
การศึกษาแบบสามัตถิยฐาน
การวัดผลงาน
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาระบบการฝึกอบรมความสามารถสำหรับพนักงานฝ่ายผลิต ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทปั๊มขึ้นรูป โดยใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (Quality function deployment: QFD) การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนหลักดังนี้ 1) การสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งได้แก่ หัวหน้างานและผู้จัดการของฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และฝ่ายทรัพยากรบุคคล 2) การแปลงความต้องการนั้นเข้าสู่เฟสต่างๆ ของ QFD ทั้ง 4 เฟส ได้แก่ การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวางแผนกระบวนการ และการวางแผนการผลิต 3) การดำเนินการปรับปรุงในบริษัทตัวอย่าง ผลที่ได้จาก QFD พบว่ามีวิธีการปรับปรุงระบบการฝึกอบรมเป็น 4 วิธีด้วยกันคือ การปรับปรุงระเบียบมาตรฐาน การปรับปรุงขั้นตอนวิธีการ การปรับปรุงเอกสารการฝึกอบรม และการปรับปรุงทรัพยากรอุปกรณ์ ทำให้ได้ระบบการฝึกอบรมหลังปรับปรุงแล้วในส่วนประกอบต่างๆ ทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ หลักสูตรและเนื้อหาการฝึกอบรม เพิ่มขึ้น 5 เรื่อง ผู้สอน เพิ่มขึ้น 1 เรื่อง สภาพแวดล้อมและทรัพยากร เพิ่มขึ้น 1 เรื่อง และการประเมินผล เพิ่มขึ้น 4 เรื่อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาทำให้ระดับความสามารถของพนักงานฝ่ายผลิตสูงขึ้น ซึ่งวัดได้จากระดับคะแนนหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.61% จำนวนความผิดพลาดของพนักงานฝ่ายผลิตลดลงเฉลี่ย 21.73% และจำนวนชิ้นงานเสียลดลงเฉลี่ย 45.22%
Other Abstract: To develop the competency training system for production operators in automotive press part industry by quality function deployment (QFD). The procedure for this research had three main major steps, there were 1) survey the requirements of customer who concern with operator training, leaders and managers of production department, quality control department and human resource department 2) transform the requirements into 4 phases of QFD. There were product planning, design deployment, process planning and production planning 3) implement to the case study companies. Result from QFD showed that method to develop training system had 4 methods: improve procedure, improve process, improve training document and improve resource equipment. The results after develop training system in 4 parts were course and training content part increased 5 items, trainer part increased 1 item, resource equipment part increased 1 item and evaluation part increased 4 items. The result from this research was shown that the competency level of production operators increased 16.61%, operator error decreased 21.73% and number of defect decreased 45.22%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17887
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.198
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.198
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharit_ea.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.