Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17928
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกชมรายการโทรทัศน์ กับฐานะทางสังคมมิติ สัมฤทธิผลทางการเรียนและสถานภาพทางครอบครัวของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The relationship of socimonetric status, academic achievement and family status to preference for the type of television programmes of vacational education certificate students in Bangkok Metropolis |
Authors: | วันชาติ ศิลาน้อย |
Advisors: | เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chawalert.L@chula.ac.th |
Subjects: | รายการโทรทัศน์ |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกชมรายการโทรทัศน์กับฐานะทางสังคมมิติ สัมฤทธิผลทางการเรียนและสถานภาพของครอบครัวของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ประเภทวิชาพณิชยกรรม จากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน จำนวน 589 คน ซึ่งขนาดของกลุ่มตัวอย่างประชากรประมาณได้จากตารางสำเร็จของยามาเน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท ตามประเภทของโรงเรียนและจำนวนห้องเรียนตามลำดับ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ด้วยแบบสอบถาม ซึ่งได้สอบถามครอบคลุมตัวแปรทั้งหมด 8 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย และฐานะทางสังคมมิติของนักเรียน รายได้ของครอบครัว อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพของผู้ปกครองแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาดัชนีฐานะทางสังคมมิติและหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ต่อการเลือกชมรายการโทรทัศน์ด้วยวิธีการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) ข้อค้นพบของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ตัวแปรความสำคัญที่มีส่วนในการจำแนกความแตกต่างของกลุ่มนักเรียนที่เลือกชมรายการโทรทัศน์ประเภทต่างๆ จากการวิเคราะห์จำแนกประเภทแบบมีขั้นตอน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.1 มี 6 ตัวแปร เรียงตามระดับค่าน้ำหนักในการจำแนกดังนี้ คือ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย และฐานะทางสังคมมิติของนักเรียน รายได้ของครอบครัว และระดับการศึกษาของการปกครอง 2. รายการโทรทัศน์ที่มีจำนวนนักเรียนชายเลือกชมมากที่สุดได้แก่ รายการกีฬา กับรายการข่าวและข่าวบริการสังคม ส่วนรายการโทรทัศน์ที่มีนักเรียนชายเลือกชมน้อยที่สุด ได้แก่รายการสารคดีกับรายการศาสนาและส่งเสริมศีลธรรม สำหรับรายการที่มีนักเรียนหญิงเลือกชมมากที่สุด ได้แก่ ละครโทรทัศน์ รองลงมาได้แก่ การ์ตูนและรายการสำหรับเด็ก ส่วนรายการโทรทัศน์ที่มีนักเรียนหญิงเลือกชมน้อยที่สุด ได้แก่รายการศาสนาและส่งเสริมศีลธรรม 3. รายการโทรทัศน์ประเภทที่นักเรียนเลือกชม และมีอายุเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ รายการศาสนาและส่งเสริมศีลธรรม และรายการสารคดีตามลำดับ ส่วนรายการโทรทัศน์ที่มีนักเรียนอายุโดยเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ รายการการ์ตูนและรายการสำหรับเด็ก 4. โดยเฉลี่ยแล้วรายการโทรทัศน์ประเภทที่นักเรียนเลือกชมและมีเกรดเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ รายการศาสนาและสงเสริมศีลธรรม กับรายการข่าวและข่าวบริการสังคม ส่วนรายการที่นักเรียนมีเกรดเฉลี่ยโดยเฉลี่ยแล้วต่ำที่สุด ได้แก่ รายการศิลปะและดนตรี 5. รายการโทรทัศน์ที่นักเรียนเลือกชมและมีคะแนนฐานะทางสังคมมิติ โดยเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ รายการศิลปะและดนตรี รองลงมาได้แก่ ภาพยนตร์ ส่วนรายการที่นักเรียนเลือกชมและมีคะแนนฐานะทางสังคมมิติโดยค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ รายการศาสนาและส่งเสริมศีลธรรม 6. รายการโทรทัศน์ประเภทที่นักเรียนเลือกชมและมีรายได้ของครอบครัวโดยเฉลี่ยสูงที่สุด คือ รายการปกิณกะบันเทิง รองลงมาได้แก่ การ์ตูนและรายการสำหรับเด็ก ส่วนรายการที่นักเรียนเลือกชมและมีรายได้ของครอบครัวโดยเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ รายการศาสนาและส่งเสริมศีลธรรม 7. รายการโทรทัศน์ประเภทที่นักเรียนเลือกชม และมีระดับการศึกษาของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ รายการสารคดี และรายการกีฬาตามลำดับ ส่วนรายการโทรทัศน์ที่นักเรียนเลือกชมและมีระดับการศึกษาของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่รายการศาสนาและส่งเสริมศีลธรรม |
Other Abstract: | The purpose of this research was to find the relationship of sociometric status, academic achievement and family status to the preference for the type of television programmes of vocational education certificate students. The samples obtained by stratefied random sampling, were 589 vocational education certificate students who enrolled in the academic year of 1984 from both public and private schools in Bangkok Metropolis. The size of the samples was determined by Yamane's table. The data collected by questionnaires covering eight variables : students' gender, age, academic achieve¬ment and sociometric status, parents' age, educational level, occupation and family income were analysed by means of Discriminant Analysis. The principal findings of the research were : 1. The six variables derived from stepwise descriminant analysis at the 0.01 level of significance, which were considered to be able to discriminate those students who prefered viewing the diverse types of television programmes were : students' gender, age, academic achievement, sociometric status family income and parent's educational level respectively by the weight of the discriminant variables. 2. More of male students prefered sports, news and current affair programmes, while the fewer prefered documentary and religious programmes. More of female students prefered television plays and children's programmes respectively, while the fewer prefered religious programmes. 3. The students with the highest age mean prefered religious programmes and documentary programmes, respectively, while the students with the lowest age mean prefered children's programmes. 4. The students with the high levels of academic achieve¬ment prefered religious programmes, news and current affair programmes respectively, while the students with the low levels of academic achievement prefered arts and music programmes. 5. The students who were ranked highly in sociometric status prefered arts, music and films respectively, while the students who were ranked lower in sociometric status prefered religious programmes. 6. The students whose families had the highest mean of income prefered general entertainment programmes and children's programmes respectively, while the students whose families had the lowest mean of income prefered religious programmes. 7. The students whose parenhad the highest mean of educational level prefered documentary and sport programmes respec¬tively, while the students whose parent had the lowest mean of educational level prefered religious programmes. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17928 |
ISBN: | 9745648949 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanchaat_Si_front.pdf | 338.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchaat_Si_ch1.pdf | 375.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchaat_Si_ch2.pdf | 506.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchaat_Si_ch3.pdf | 265.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchaat_Si_ch4.pdf | 420.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchaat_Si_ch5.pdf | 376.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchaat_Si_back.pdf | 550.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.