Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17957
Title: | การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาชีววิทยาเรื่อง "การขับถ่าย" สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Construction of a science programmed lesson on "Excretion" at the upper secondary education level |
Authors: | กอบกุล รัตนสุวรรณ |
Advisors: | โรจนี จะโนภาษ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2520 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างบทเรียนแบบโปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง “การขับถ่าย” สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเป็นลำดับขั้นดังนี้ คือ ศึกษาหลักสูตร ชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และหนังสือแบบเรียนชีววิทยาต่าง ๆ เลือกชนิดและเทคนิคในการสร้างบทเรียน ตั้งวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน สร้างบทเรียนและแบบสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แล้วนำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 3 ครั้ง นำผลการทดลองมาแก้ไข และวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 96.46/80.94 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อวิเคราะห์ผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม ปรากฏว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 จึงกล่าวได้ว่าบทเรียนเรื่อง “การขับถ่าย” นี้ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this research was to construct a science programmed lesson on “Excretion” at the Upper Secondary Education Level, and to find out its effectiveness according to the 90/90 standard. Research procedures and activities were carried out in steps as follow : studying the curriculum of biology and the biology textbooks at the Upper Secondary Education Level ; Selecting of kinds and techniques for constructing the programmed lesson ; defining the general and behavioral objectives ; constructing the programmed lesson and a test to meet the defined objectives to used as the pre-test and post-test ; and trying out three times with the student at the Upper Secondary Education Level. The result of the study showed that the effectiveness of the programmed lesson was 96.46-80.94, which was lower than the 90/90 standard. However, the analysis of the arithmetic means of both pre-test and post-test have indicated a statistically significant difference at the level of .01. It could be concluded that this programmed lesson has significant improved the knowledge of the students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17957 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kobkul_Ra_front.pdf | 342.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kobkul_Ra_ch1.pdf | 357.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kobkul_Ra_ch2.pdf | 825.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kobkul_Ra_ch3.pdf | 365.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kobkul_Ra_ch4.pdf | 282.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kobkul_Ra_ch5.pdf | 311.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kobkul_Ra_back.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.