Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17975
Title: แบบจำลองการสอนจุลภาคเรื่อง "การเล่าเรื่อง"
Other Titles: A microteaching model on "story telling"
Authors: นคร สรชาติ
Advisors: วิรุฬท์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอนด้วยสื่อ
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย 1. เพื่อสร้างแบบจำลองทักษะการสอนเรื่อง การเล่าเรื่องในรูปของแถบบันทึกภาพขนาด ½ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกทักษะการสอนแบบจุลภาคของครูและนิสิตฝึกสอน ในสถาบันฝึกหัดครูต่างๆ 2. เพื่อสร้างคู่มือการฝึกทักษะการเล่าเรื่องสำหรับนิสิตและอาจารย์นิเทศก์ ใช้ควบคู่กับแบบจำลองทักษะการสอนที่สร้างขึ้น ในรูปของแถบบันทึกภาพ 3. เพื่อหาประสิทธิภาพและปรับปรุงแบบจำลองทักษะการสอนที่สร้างขึ้นอันเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ก่อนจะนำไปใช้จริง การดำเนินการ : ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาค จากแหล่งต่างๆ ต่อมาจึงเขียนบทโทรทัศน์ และสร้างตัวแบบจำลองการสอนในรูปของแถบบันทึกภาพ 1 นิ้ว แล้วถ่ายทอดลงแถบขนาด ½ นิ้ว แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน เพื่อรับรองคุณภาพของแบบจำลอง แล้วจึงนำแบบจำลองนั้นไปทดสอบ กับนิสิตกลุ่มทดลองที่เรียนพฤติกรรมการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินผลครั้งแรก หลังจากนั้น 10 วัน นำแถบบันทึกภาพแบบจำลอง มาเปิดเล่นกลับให้นิสิตกลุ่มเดิมดู หลังจากนิสิตดูทักษะการสอนจบลงก็ให้ทำข้อสอบชุดเดิมเพื่อประเมินผลอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงนำค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง มาหาค่าความแตกต่างของความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัย : 1.คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณารับรองคุณภาพของแบบจำลองการสอนและรับรองว่า โดยเฉลี่ยทั้งเนื้อหา ทักษะการสอน และเทคนิคการถ่ายทำอยู่ในเกณฑ์ดี 2.คะแนนการทดสอบโดยเฉลี่ยของนิสิต ก่อนและหลังการทดลองใช้แบบจำลองการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือนิสิตดูแบบจำลองการสอนจากแถบบันทึกภาพแล้วมีความรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่องเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ : 1.เปรียบเทียบความสามารถหรือทักษะในการสอนของครูประจำการ หรือนิสิตฝึกสอนที่ได้ฝึกทักษะการสอนด้วยวิธีการสอนแบบจุลภาคกับครูประจำการหรือนิสิตฝึกสอนที่ไม่ได้ ฝึกทักษะการสอนด้วยวิธีการสอนแบบจุลภาค ว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีทักษะการสอนแตกต่างกันหรือไม่ และมีพัฒนาการในการสอนแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 2.ควรจะได้มีการจัดตั้งคลินิกการสอนแบบจุลภาคในสถาบันฝึกหัดครู เพื่อช่วยเหลือครูประจำการและนิสิตฝึกสอนที่มีปัญหาในการสอน 3.ควรจะสร้างและปรับปรุงแบบจำลองการสอน เป็นในรูปของภาพยนตร์ขนาด 16 มม. เพื่อการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และกว้างขวางยิ่งขึ้น
Other Abstract: It was the purpose of this study (1) construct a microteaching Model on “ Story Telling” by a ½ inch videotape as a partial mean of student teacher’s skill practice, (2) provide a handbook of the model for its practical use, and (3) evaluate the quality and efficiency of the constructed model. Procedure : After relevant information from various sources was preliminary investigated, a model script was written for the videotape production. The produced 1 inch videotape was later duplicated to a ½ inch. Eight validating committee members were appointed to certify the quality of the model. Then 30 elementary major students randomly selected as an experimental group, were given the pre-test. Ten days after their pretest, the constructed model was played back to be viewed by the students. Then the post-test was given. The average tasting scores were then statistically computed and compared at the 0.01 level. Results : .Analysis of data for this experiment allows the following conclusions to be made: 1.The good quality level was certified by the validating committee. 2.Significant differences in learning achievement of the sampling group was found at the 0.01 level; therefore it is assumed that each student had gained more “ Story Telling” skill. Suggestions : 1.A logical follow-up to this study could be and experiment to test the effectiveness of a skill model in and teacher training program. The control group would directly view live classroom lessons while the experimental group would receive identical instruction via skill models. 2. Every teacher’s education institution in Thailand should establish microteaching clinic for improving teaching and learn strategies. 3.The models should be made in 16 m.m. film more effective and widely uses .
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17975
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nakorn_So_front.pdf436.12 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_So_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Nakorn_So_ch2.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Nakorn_So_ch3.pdf439.63 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_So_ch4.pdf334.31 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_So_ch5.pdf432.82 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_So_back.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.