Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18153
Title: ผลของเทคนิคการสอบสวน หลักฐานเท็จ การยอมตาม และการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถามต่อการรับสารภาพเท็จ
Other Titles: Effects of interrogative technique, false evidence, compliance and interrogative suggestibility on false confession
Authors: ภัทรา พิทักษานนท์กุล
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Apitchaya.C@Chula.ac.th, weechaya@hotmail.com
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านสถานการณ์ และปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่มีต่อการรับสารภาพเท็จของกลุ่มตัวอย่างในระหว่างกระบวนการสอบสวน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด 165 คน การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกและผลที่ได้พบว่าจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 165 คน มีกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับสารภาพเท็จทั้งหมด 71 คน ในการวิจัยครั้งนี้สมการถดถอยโลจิสติกสามารถทำนายการรับสารภาพเท็จได้ถูกต้องร้อยละ 64.8 โดยที่เทคนิคการสอบสวน หลักฐานเท็จ และการยอมตามเป็นตัวแปรที่สามารถทำนายการรับสารภาพเท็จได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ส่วนอัตราเร็วในการพิมพ์และการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถามไม่สามารถทำนายการรับสารภาพเท็จได้ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอบสวนแบบลดความรุนแรงจะยอมรับสารภาพเท็จมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอบสวนแบบเพิ่มความรุนแรง และการยอมตามเป็นตัวแปรที่สามารถทำนายการรับสารภาพเท็จได้ดีกว่าการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถาม เมื่อพิจารณาสมการถดถอยโลจิสติกที่ประกอบไปด้วยตัวแปรต้นทั้งหมด (ได้แก่ เทคนิคการสอบสวน, หลักฐานเท็จ, การยอมตาม, การคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถาม, และอัตราเร็วในการพิมพ์) พบว่าสมการดังกล่าวเป็นสมการที่สามารถทำนายความเป็นไปได้ที่กลุ่มตัวอย่างจะรับสารภาพเท็จได้ดีที่สุด โดยสามารถทำนายการรับสารภาพเท็จได้ร้อยละ 18.00 (R2CS= .18) ในขณะที่ในสมการที่มีเพียงตัวแปรด้านสถานการณ์ ได้แก่ เทคนิคการสอบสวน หลักฐานเท็จ และอัตราเร็วในการพิมพ์ สามารถทำนายการรับสารภาพเท็จได้รองลงมา และโมเดลที่ประกอบไปด้วยตัวแปรด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ การยอมตาม และการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถาม สามารถทำนายการสารภาพเท็จได้ต่ำที่สุด
Other Abstract: The purpose of this experiment was to investigate the effect of situational and personality factors on false confession during an interrogative procedure. The research sample consists of 165 undergraduate students and the logistic regression was used to analyze the data. Results indicate that 71 out of 165 participants make false confession, while 94 do not make false confession and the logistic regression equation can correctly predict false confession for 66.7%. Interrogative technique, false evidence, and compliance can significantly predict false confession (p < .01), whereas typing speed and interrogative suggestibility can not. Furthermore, the findings also suggest that participants of the minimization (reduced) condition are more likely to confess than those of the maximization (included) condition and compliance can predict false confession better than interrogative suggestibility. The equation comprises of all five variables (i.e., interrogative techniques, false evidence, compliance, suggestive personalities, and typing speed) is the best equation in predicting 18% (R2CS= .18) of the variation when compared to the second equation that has only situational factors. The worst equation has only personality factors as predictors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18153
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattra_pi.pdf14.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.