Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1817
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
Other Titles: Relationships between uncertainty in illness, social support, and adaptation of elderly with knee osteoarthritis
Authors: สุณี สุวรรณพสุ, 2507-
Advisors: พิชญาภรณ์ มูลศิลป์
ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Pichayaporn.M@Chula.ac.th
Subjects: การปรับตัว (จิตวิทยา)
ข้อเสื่อม
ผู้สูงอายุ
การสนับสนุนทางสังคม
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แรงสนับสนุนทางสังคม กับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 150 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการปรับตัว ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .85, .94 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การปรับตัวของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.81) 2. แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.15) 3.ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง (X =2.37) 4.ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.498,p<.05) 5.แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.685,p<.05) 6.ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันพยากรณ์การปรับตัว ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 52.2 (R2 =.522) สร้างสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ การปรับตัวของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม = .578 แรงสนับสนุนทางสังคม -.253 ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships between uncertainty in illness, social support and adaptation. Subjects were 150 elderly with osteoarthritis at King Chulalongkorn Memorial Hospital selected by simple random sampling technique. Data were collected using instruments: uncertainty in illness scale, social support questionnaires, and adaptation questionnaire. The questionnaires were tested for content validity by panel of experts. Alpha Cronbach coefficients were .85, .94, and .91, respectively. The data were analyzed using Pearson' s product moment correlation and stepwise multiple regression at the significant level of .05. The major findings were as follows: 1. The adaptation of elderly with osteoarthritis was at a moderate level. (X =2.81) 2. The social support of elderly with osteoarthritis was at a moderate level. (X = 2.15) 3. The uncertainty in illness of elderly with osteoarthritis was at a moderate level. (X = 2.37) 4. The relationship between uncertainty in illness and adaptation was negatively significant (r =-.498 ,p<.05). 5. The relationship between social support and adaptation was positively significant (r=.685 ,p<.05). 6. Uncertainty in illness and social support were the variables that significantly predicted adaptation at the level of .05. These predictive power was at 52.2 % (R2) of the variance. Adaptation of elderly with osteoarthritis = .578 social support - .253 uncertainty in illness.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1817
ISBN: 9740316735
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.