Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18182
Title: ปัญหาในการจัดเก็บภาษีการค้าในประเทศไทย
Other Titles: Problems in business tax collection in Thailand
Authors: จันทิมา จันทรโคลิกา
Advisors: ไพจิตร โรจนวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษีการค้า
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ ภาษีการค้าเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลประเภทหนึ่ง แต่ก็มีข้อวิจารณ์เกี่ยวกับปัญหาการจัดเก็บภาษีการค้าหลายด้าน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เช่น ในหลักความเป็นธรรมของภาษี มีข้อวิจารณ์ว่า ภาษีการค้าไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะการจัดเก็บไม่เป็นไปตามหลักความสามารถของผู้เสียภาษี ในทางปฏิบัติมีข้อวิจารณ์หลายด้านเช่นด้านความยุ่งยากของผู้ประกอบการค้าที่จะต้องรู้ว่าตนเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทใด หรือมิใช่เป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร ด้านการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นเหตุให้มีการเสียภาษีผิดอัตราขึ้นจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องนี้มีอยู่สามประการคือ.- ก. เพื่อศึกษาความเป็นมาของภาษีการค้าในประเทศไทยว่า มีวิวัฒนาการจัดเก็บมาอย่างไร ข. เพื่อศึกษาความเป็นธรรมของภาษี และผลในทางเศรษฐกิจของภาษีการค้า ค. เพื่อศึกษาปัญหาข้ออุปสรรคของภาษีการค้าในประเทศไทยในด้านต่างๆ โดยแยกออกเป็น 1. ด้านบทบัญญัติประมวลรัษฎากร 2. ด้านผู้ประกอบการค้า 3. ด้านการบริหารจัดเก็บเนื้อความโดยย่อของการศึกษา ในวิทยานิพนธ์นี้ ได้แบ่งออกเป็น 8 บท ได้แยกการศึกษาออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้.- ในบทที่ 1 เกี่ยวกับบทนำ เพื่อเน้นให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาปัญหา และวิธีการที่จะศึกษาวิจัย ในบทที่ 2 เรื่องหลักการและประเภทภาษีการค้า จะกล่าวถึงภาษีการค้าว่ามีลักษณะเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคประเภทหนึ่ง และจัดให้อยู่ในจำพวกภาษีการขายโดยจะกล่าวรวมไปถึงรูปแบบต่างๆ ของภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคด้วย ในบทที่ 3 จะกล่าวถึงความเป็นมาของภาษีการค้าในประเทศไทยว่า ประเทศไทยได้ใช้นโยบายการภาษีอากรมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน การจัดเก็บภาษีทางอ้อมลักษณะเดียวกับภาษีการค้าก็ได้มีมาช้านานจนถึงปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีพระราชบัญญัติ “ภาษีการค้า” ขึ้น และต่อมาก็ได้ถูกกำหนดรวมไว้เป็นภาษีชนิดหนึ่งในประมวลรัษฎากรจนถึงทุกวันนี้ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 50 หน้า 90 วันที่ 17 เมษายน 2476 ในบทที่ 4 เรื่องความเป็นธรรมและผลในทางเศรษฐกิจของภาษีการค้า 1. มีการวิจัยเกี่ยวกับคำวิจารณ์ที่ว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีที่ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะการจัดเก็บมิได้เป็นไปตามความสามารถในการเสีย โดยได้ทำการวิจัยด้วยวิธีการ ก) แบ่งครัวเรือนทั่วประเทศออกเป็นกลุ่มๆ ตามระดับรายได้ออกเป็น 8 กลุ่ม ข) กระจายปริมาณภาษีการค้าตามรูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนเพื่อศึกษาว่า ภาระภาษีการค้าจะตกอยู่กับกลุ่มรายได้ใดมากกว่าที่สุด ค) หาอัตราการเสียภาษีการค้าที่แท้จริง ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่สุดเป็นผู้รับภาระภาษีการค้าอัตราสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนรายได้ที่ได้รับ ซึ่งเป็นข้อยืนยันคำวิจารณ์ความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีการค้าไว้อีกข้อหนึ่ง 2. ศึกษาผลในทางเศรษฐกิจของภาษีการค้า และหนทางที่รัฐบาลสามารถที่จะใช้ภาษีการค้าเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ก) ผลในด้านการบริโภคและการเก็บออม ข) ผลในด้านการลงทุน ค) ผลในด้านการนำสินค้าเข้า ง) ผลในด้านการกำหนดรูปแบบการบริโภค จ) ผลต่อรายได้ของรัฐบาล ง. ปัญหาในด้าน บทบัญญัติประมวลรัษฎากร ด้านผู้ประกอบการค้า และการบริหารงานการจัดเก็บภาษี ได้นำมากล่าวไว้ในบทที่ 5, 6 และ 7 สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาความเป็นมาของภาษีการค้าในประเทศไทย และปัญหาต่างๆ ของภาษีการค้า พบว่า การจัดเก็บภาษีการค้าในประเทศไทยมีตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการจัดเก็บรูปแบบต่างๆ กัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามยุคสมัย ซึ่งเป็นการจัดเก็บจากการประกอบกิจการค้าของประชาชน และเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การที่จะเลิกเก็บภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีการค้า และหันไปจัดเก็บภาษีทางตรงแต่เพียงอย่างเดียว รายได้ของรัฐย่อมไม่เพียงพอ ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า ภาษีการค้ายังคงเป็นภาษีทางอ้อมที่ประเทศไทยจะต้องจัดเก็บอยู่ เพื่อนำรายได้มาบริหารประเทศ แม้ว่าการจัดเก็บภาษีการค้าจะยังเป็นปัญหาต่างๆ อยู่ ดังที่ได้ทำการศึกษาถึงปัญหาเหล่านี้ เช่นปัญหาด้านความเป็นธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านบทบัญญัติประมวลรัษฎากร ด้านผู้ประกอบการค้า ด้านการบริหารจัดเก็บ และคาดว่ายังคงมีปัญหาอื่นๆ อีก ฉะนั้น เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้ผล ควรจะได้มีการดำเนินการดังนี้ ก. เพิ่มอัตราภาษีการค้าสำหรับสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และลดอัตราภาษีการค้าหรืองดเก็บภาษีการค้าจากสินค้าที่จำเป็นในการครองชีพเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีการค้ามากยิ่งขึ้น ข. เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ให้มีการยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ค 4) เพื่อเสียภาษีได้เพียงแห่งเดียว ณ สำนักงานสรรพกรอำเภอ เพื่อสะดวกต่อการควบคุมจำนานการยื่นว่า ได้มีการยื่นแบบไว้ครบถ้วนถูกต้องทุกเดือนหรือไม่ เพื่อเป็นการเร่งรัดการจัดเก็บภาษีให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้รายชื่อและเลขทะเบียนการค้าของผู้ประกอบการค้าในมือของเจ้าหน้าที่สรรพากรอำเภอต้องทันสมัยอยู่เสมอ ค. ส่งเจ้าหน้าที่ออกศึกษาควบคุมกิจการต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่หรืออกสำรวจผู้ประกอบการค้าที่ยังมิได้จดทะเบียนการค้า เพื่อเรียนรู้สภาพที่แท้จริงของกิจการหรือธุรกิจ แบบสอบรายการเสียภาษีการค้าประเภทต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ในการที่จะนำไปบริหารการจัดเก็บภาษีหรือทำการตรวจสอบภาษีต่อไป ง. นำระบบงานคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยบริหารการจัดเก็บภาษีการค้าให้มากยิ่งขึ้นกว่าการเก็บตัวเลขเพียงอย่างเดียว โดยให้ช่วยจัดเก็บรายชื่อและเลขทะเบียนการค้าของผู้ประกอบการค้าให้ทันสมัยอยู่เสมอ ช่วยทำการวิเคราะห์และตรวจสอบแบบ ภ.ค. 4 เบื้องต้น รวมทั้งให้ช่วยประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมจากผู้ประกอบการค้าที่ชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องด้วย
Other Abstract: Business tax is an important source of revenue for Thailand. Criticisms on business tax cover a number of aspects both in theory and practice. For example, on the equity aspect, it is said that business tax is contrary to the ability-to-pay prin¬ciple; is practice, on the problem of specifying liable persons, traders usually find it difficult to determine whether they them¬selves are liable traders under the provisions of the Revenue-Code; on the problem of calculating the amount of tax payable, the everchanging tax rates are often blamed for making the task of calculating the correct amount of tax payable unnecessarily difficult. The objectives of this thesis are: a. to see how business tax in Thailand has been developed since Sukhothai period; b. to study the equity aspect and other economic effects of business tax in Thailand; and c. to investigate in detail the areas that hinder the smooth operation of business tax in Thailand and these are: 1. problems concerning the provisions of the Revenue Code; 2. problems concerning traders; and. 3. problems of administration of the tax. This thesis consists of eight chapters. Chapter I is the introduction which, apart from citing the importance of business tax, states the objectives, problems, scope and methods of the study that follows. Chapter II deals with general knowledge of business tax which is a form of tax on consumption. The history of business tax since sukhothai period forms the first part of Chapter III and it is evident from this part that there has been some kind of tax policy in Thailand since that period. The elabo¬ration of the structure of existing business tax in Thailand com¬pletes this chapter. The second objective is pursued in Chapter IV which consists of two parts. The first part is an empirical study on the equity aspect of business tax or in other words it tries to prove mathematically whether business tax as existing today in Thailand adheres to the generally accepted ability-to-pay principle. The result clearly shows that this is not the case for it is found that effective tax rate is highest for the lowest income class and lowest for the highest income class. The second part of Chapter IV deals with other effects the business tax might have on the economy and subsequently explores the government's possibilities of using business tax as a policy instrument to help solve various economic problems. Chapter V, VI and VII contemplate the collection problems; while chapter V tackles those collection problems which are the direct results of the provisions of the Revenue Code, Chapter VI takes on those arising from traders. The problems concerning the administration of the tax are discussed in Chapter VII and this completes all collection problems visualized. As well as concluding the study, Chapter VIII provides suggestions to improve the present tax form of business tax in Thailand. These include raising tax rate for luxuary goods, reducing tax rate for necessary goods and modernizing the adminis¬tration of business tax by making more use of computers and data processing techique.
Description: วิทยานิพนธ์ (บ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18182
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jantima_Ja_front.pdf379.12 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch1.pdf330.78 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch2.pdf333.33 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch3.pdf969.38 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch4.pdf640.93 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch5.pdf562.4 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch6.pdf504.57 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch7.pdf362.39 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_ch8.pdf297.27 kBAdobe PDFView/Open
Jantima_Ja_back.pdf835.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.