Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18185
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)
Other Titles: An analytical study of Luang Thanmaphimon (Thuk Chitrakathuk)'s literary works
Authors: จารีต เชาว์ขุนทด
Advisors: อารดา กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ธรรมาภิมณฑ์, หลวง, 2401-2471
วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมและเผยแพร่ผลงานของหลวงธรรมาภิมณฑ์ทั้งที่เป็นตัวต้นฉบับตัวเขียนที่ตีพิมพ์แล้ว การศึกษามุ่งวิเคราะห์ทั้งในด้านรูปแบบ ส่วนประกอบ ของเนื้อหาในวรรณกรรมได้แก่ โครงเรื่อง สาระสำคัญของเนื้อหา ตัวละคร คุณค่าของเนื้อเรื่อง และลักษณะดีเด่นในวรรณกรรมของท่าน ซึ่งได้แก่การเลือกใช้คำที่ไพเราะงดงาม ทั้งด้านเสียงและความหมาย การใช้ความเปรียบเทียบ บทพรรณนาและลักษณะคำประพันธ์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกัน ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมนิทานของหลวงธรรมาภิมณฑ์ มีทั้งที่นำเค้าโครงเรื่องมาจากชาดก จากบทละครของเชกสเปียร์ และที่แต่งขึ้นเอง วรรณกรรมนิทานบางเรื่อง หลวงธรรมาภิมณฑ์สามารถดำเนินเรื่องให้มองเห็นความขัดแย้งที่เด่นชัด อันมีต่อผลการดำเนินเหตุการณ์ในเรื่องอย่างสมเหตุสมผล และสามารถดำเนินเรื่องไปสู่จุดคลี่คลายในตอนจบได้อย่างสมจริง ส่วนวรรณกรรมประเภทที่ไม่มีตัวละครมีสาระสำคัญของเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการแต่ง เช่น วรรณกรรมนิราศ วรรณกรรมตำรา วรรณกรรมสดุดี วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีการและวรรณกรรมคำสอน นอกจากนี้วรรณกรรมของหลวงธรรมาภิมณฑ์ยังมีลักษณะเด่นในด้านศิลปะการประพันธ์อีกด้วย กล่าวคือท่านมีความสามารถในการแต่งบทพรรณนา โดยเฉพาะบทพรรณนาธรรมชาติได้อย่างน่าประทับใจด้วยศิลปะการเลือกใช้ถ้อยคำ ความเปรียบ และลักษณะคำประพันธ์ที่เหมาะสมมีความสอดคล้องกลมกลืนกัน กล่าวได้ว่าวรรณกรรมของท่านมีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหา และเชิงวรรณศิลป์ สมควรที่จะได้รับการเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องนี้ คือ ควรมีการค้นคว้ารวบรวมและศึกษาวิเคราะห์ผลงานของกวีท่านอื่นซึ่งมีคุณค่า แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเพิ่มขึ้นอีก
Other Abstract: This thesis aims to collect and disseminate both the original and printed literary works of Luang Thanmaphimon, a widely admired poet between 1881-1930. The study discusses the literary forms and clements of the works including plot, subject matter, character, and other major aspects in his works, namely the selection of words meticulously arranged for their harmonious sounds and distinct meanings as well as the appropriate employment of various literary comparisons and descriptions. The study reveals that some of Luang Thamnaphimon's literary works were adapted from the Buddhist Jataka and some from Shakespeare's plays, and others were his original creation. The poet successfully constructed the story to reveal the point of conflict and to clearly lead to a realistic resolution. In his practical, non-character writings, the content perfectly serves the purpose of writing, such as Rims, text book, literature in praising of certain person, literature used in ceremony and didactic literature. In addition, Luang Thanmaphimon's literary works are also recognized for the artistry of the writing. He had a great ability of writing impressive description, especially the description of nature, using appropriately selected words, imagery and genre. His words are of high quality both in moral content and literary value. Therefore, they should be widely disseminated. For further studies, there should be more research and study on valuable works of other unknown poets.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18185
ISSN: 9745666483
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jareet_Ch_front.pdf322.4 kBAdobe PDFView/Open
Jareet_Ch_ch1.pdf282.41 kBAdobe PDFView/Open
Jareet_Ch_ch2.pdf339.24 kBAdobe PDFView/Open
Jareet_Ch_ch3.pdf487.44 kBAdobe PDFView/Open
Jareet_Ch_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Jareet_Ch_ch5.pdf241.23 kBAdobe PDFView/Open
Jareet_Ch_back.pdf628.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.