Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18195
Title: การศึกษาเชิงประเมินการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยวิทยุกระจายเสียง ของวิทยาลัยครูเทพสตรี
Other Titles: An evaluative study of academic service to society through radio of Tepsatri Teachers College
Authors: จำเนียน สุขหลาย
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: วิทยุกระจายเสียง
วิทยุเพื่อการศึกษา
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลการบริการวิชาการแก่สังคมโดยวิทยุกระจายเสียงของวิทยาลัยครูเทพสตรี ในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี ในกรณีต่อไปนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบปริมาณความรู้และความเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพ ของความรู้ที่ประชาชนได้รับจากรายการวิทยาลัยทางอากาศ 2. เพื่อศึกษาลักษณะความรู้ที่ประชาชนต้องการ ตลอดจนวัน และเวลาที่สามารถรับบริการ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของอาชีพกับลักษณะของความรู้ที่ประชาชนต้องการ4. เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่ได้รับการบริการวิชาการในราบการวิทยาลัยทางอากาศ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,209 คน จำแนกตามจังหวัดลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี จำนวน 1,025, 790 และ 394 คนตามลำดับ และจำแนกตามอาชีพรับราชการค้าขาย และเกษตรกรรม จำนวน 530, 499 และ 1,180 คนตามลำดับ โดยใช้วิธีสุ่มแบบแยกกลุ่ม (Stratified Random Sampling) ผู้วิจัยได้ใช้วิธีสัมภาษณ์ประชาชนโดยอาศัยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองทั้งที่เป็นแบบกำหนดข้อกระทงไว้แล้วแบบให้ตอบอย่างอิสระ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการแจกแจงร้อยละและหาช่วงความเชื่อมั่นของร้อยละในการเปรียบเทียบปริมาณความรู้ที่ประชาชนได้รับความเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพ ได้ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (two way Analysis of Variance) โดยจำแนกตามอาชีพและจังหวัด และทำการทดสอบไคสแควร์ (x^2 - Test) สำหรับความเป็นอิสระระหว่างลักษณะความรู้ที่ต้องการกับประเภทของอาชีพส่วนการทดสอบความแตกต่างของร้อยละสาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่ได้รับบริการนั้น ได้ทำการแปรค่าร้อยละให้เป็นแองกูล่าร์สกอร์ (Angular Scores) แล้ววิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two way Analysis of Variance one observation Percell Model) แล้วทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีแพร์ไวส์เทส (Pairwise Test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ประชาชนทั้งสามจังหวัดที่เคยรับฟังรายการวิทยาลัยทางอากาศ มีร้อยละ 25.49 และในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพรับราชการมากที่สุด ส่วนความถี่สูงสุดในการรับฟัง พบว่าร้อยละ 29.84 รับฟัง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับวัตถุประสงค์ในการรับฟังนั้นมีถึงร้อยละ 82.06 บอกว่าเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ 2. ประชาชนทั้ง 3 กลุ่มอาชีพและทั้ง 3 จังหวัด มีความเห็นได้รับความรู้จากการฟังรายการวิทยาลัยทางอากาศเป็นปริมาณไม่แตกต่างกัน 3. ประชาชนทั้ง 3 กลุ่มอาชีพมีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการฟังนั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนแต่ละจังหวัดมีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการฟังเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีปฏิกิริยาร่วมระหว่างจังหวัดและอาชีพ ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับฟังที่มีต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพซึ่งเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของประชากรแต่ละอาชีพแต่ละจังหวัด พบว่า อาชีพรับราชการและเกษตรกรรมมีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันในทั้ง 3 จังหวัด แต่สำหรับอาชีพค้าขายจังหวัดสิงห์บุรีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ทางด้านนี้ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับจังหวัด ลพบุรีและสระบุรี 4. ประเภทของอาชีพกับลักษณะความรู้ที่ต้องการรับบริการมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่ต้องการให้บริการความรู้ทั่วๆ ไป มากกว่าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพโดยตรง 5. สาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่ได้รับฟังรายการวิทยาลัยทางอากาศแตกต่างจากสาเหตุอื่นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 คือ ไม่ทราบเวลาของการออกอากาศเผยแพร่และไม่มีเวลาที่จะรับฟัง 6. ประเภทของความรู้ที่ประชาชนต้องการให้ออกอากาศที่สำคัญสามอันดับแรก คือความรู้เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและการศึกษา สำหรับวันที่สามารถรับฟังได้มากที่สุดคือวันอาทิตย์ รองลงไปได้แก่วันเสาร์ โดยที่สามารถรับฟังได้มากที่สุดในช่วงเวลาสามอันดับแรกคือ เวลา 20.01 – 22.00, 18.01 – 20.00 และ 6.00 – 8.00 นาฬิกา ส่วนองค์ประกอบของรายการที่ประชาชนต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขที่สำคัญสามอันดับแรก คือเวลาของรายการ เนื้อหาสาระและวิธีการโฆษณาตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research are to study the academic service to the society through radio of Tepsatri teachers college in Lopburi, Saraburi and Singburi provinces. The cases to study are : 1. to compare among the audiences in the quantity of knowledge and also the advantages to the way of living and to occupation which they acquired from the college broadcasting program. 2. to investigate the preferences of the people in those three provinces on articles, day and time they would like the college to provide in this program. 3. To find the relationship between the audiences occupations and the types of knowledge or articles they prefer and. 4. to find the cause that made some people in those provinces didn't listen to the program. Two thousand two hundred and nine samples were selected by the stratified random sampling technique from the Lopburi, Saraburi and Singburi provinces. The numbers selected from each provinces were 1025, 790 and 394 respectively. The total sample consisted of 530 government officials, 499 businessmen and 1,180 farmers. The data were collected by Structured and less-structured interview developed by the author. These data were analyzed by distribution and the confident interval of percentage, two-way analysis of variance, Chi-squire test, angular scores, two-way analysis of variance one observation per cell model and pairwise test methods. The results are as follows : 1. Twenty-five point four nine percent of the people in the three provinces listen to the college broadcasting program and most of them are government officials. Twenty-nine point eight four 'percent of the audiences listen to the college broadcasting program once a week which is the highest frequency. Eighty-two point zero six percent of them listen to the program in order to increase their knowledge. 2. There is no difference in the quantity of knowledge acquired by the audiences living in different provinces and different occupations. 3. In general there is no difference among the audiences of the different occupations on the advantages they acquired from the college broadcasting program but there is an interaction effect between provinces and occupations the mean of the goverment officials and farmers are nearly the same for all provinces , but the mean of the businessmen in Singburi is distinctly higher than those of Lopburi and Saraburi. 4. The audiences' occupations correlated to the types of knowledge the audinces would like the college to provide. However, they perfer to have general knowledge to the specific vocational knowledge. 5. Most of the people who didn't listen to the college broadcasting program give the two reasons; the first was that they didn't know the broadcasting time and the second was that they were too bust to listen to the program. 6. The first three article in the college broadeasting program that the people want the college to provide for them about politics, economics and education. The two most preferable broadcasting days are Sunday and Saturday and the three most preferable broadcasting time interval are 20:01 - 22:00, 18:01 - 20:00 and 6:00 - 8:00 o'clock respectively. What the audiences would like the college to improve are timing and the content of broadcasted articles and also the commercial during the intermission.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18195
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jumnian_So_front.pdf437.96 kBAdobe PDFView/Open
Jumnian_So_ch1.pdf335.64 kBAdobe PDFView/Open
Jumnian_So_ch2.pdf966.94 kBAdobe PDFView/Open
Jumnian_So_ch3.pdf346.39 kBAdobe PDFView/Open
Jumnian_So_ch4.pdf935.17 kBAdobe PDFView/Open
Jumnian_So_ch5.pdf525.15 kBAdobe PDFView/Open
Jumnian_So_back.pdf500.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.