Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18209
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมือง-
dc.contributor.advisorอมรา พงศาพิชญ์-
dc.contributor.authorละเอียด กิตติยานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-19T15:20:26Z-
dc.date.available2012-03-19T15:20:26Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745660914-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18209-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือ “ชาวเล” ที่เรียกตัวเองว่า “ชาวไทยใหม่” ทั้งหมด จำนวน 84 ครอบครัว ที่อาศัยอยู่หมู่บ้านชาวเลหาดราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยการเข้าไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวเลเป็นเวลา 5 เดือน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสังเกตสภาพของชุมชน การบันทึกภาพถ่าย เทปบันทึกเสียงขณะการสัมภาษณ์ โดยมีล่ามแปลภาษาพูดของชาวเล และแบบสอบถามสำหรับ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 3 ประการคือ 1. ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของชาวเลในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมือง การปกครอง การสาธารณสุข ศาสนา ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี 2. ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของชาวเลในเรื่องความจำเป็นพื้นฐานและคุณภาพชีวิต 3. ศึกษาความต้องการของชาวเลในเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลการวิจัย 1. ในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ด้านต่างๆ พบว่า 1.1 สภาพความเป็นอยู่ทางด้านประชากรพบว่าชาวเลมีจำนวนทั้งสิ้น 439 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่หาตราไวย์ในฐานะชนกลุ่มน้อย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับชาวมาลายู มีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน สร้างบ้านเรือนอยู่อย่างง่ายๆ ในที่ดินของเอกชน มีนิสัยที่ เห็นอย่างเด่นชัดคือความซื่อสัตย์และการไม่ชอบสมาคมกับคนแปลกหน้า ชาวเลส่วนใหญ่ชอบดื่มสุราและเล่นไพ่ 1.2 สภาพความเป็นอยู่ทางด้านเศรษฐกิจพบว่า ชาวเลส่วนใหญ่มีอาชีพในการจับปลาในทะเลมาขาย โดยนิยมขายให้แก่คนที่มารับซื้อและนายทุนมากกว่าที่จะนำไปขายด้วยตนเองชาวเลส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงอยากให้สมาชิกในครอบครัวหารายได้เพิ่ม ไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ แต่ต้องการให้ทางราชการหรือหน่วยงานเอกชนส่งเสริมหรือสนับสนุนทางด้านอาชีพของตน 1.3 สภาพเป็นอยู่ทางด้านสังคมพบว่า ชาวเลส่วนใหญ่สมรสแล้ว และสมรสตั้งแต่อายุยังน้อย คือประมาณ 14-16 ปี ในสังคมชาวเลนิยมยกให้ฝ่ายภรรยาเป็นใหญ่ในครอบครัว แต่ละครอบครัวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 5-6 คน ชาวเลส่วนใหญ่มีความพอใจที่จะอาศัยอยู่ในชุมชนปัจจุบันต่อไป 1.4 สภาพเป็นอยู่ทางด้านศาสนา ความเชื่อ และขนมธรรมเนียมประเพณีพบว่า ชาวเลส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และคำสอนของบรรพบุรุษอยู่อย่างเคร่งครัด สำหรับในเรื่องประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้น ได้รับเอาประเพณีและวิธีการของคนพื้นเมืองในบริเวณใกล้เคียงไปใช้เป็นบางส่วน และยังมีชาวเลส่วนหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ แต่นับถืออย่างไม่เคร่งครัดนัก 1.5 สภาพความเป็นอยู่ทางด้านสุขภาพอนามัย และการรักษาพยาบาลพบว่าชาวเลส่วนใหญ่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีอาหารและน้ำบริโภคอย่างสมบูรณ์ ไม่มีส้วมใช้โรคที่เป็นกันมากคือโรคผิวหนัง (เกลื้อน) เมื่อมีการเจ็บป่วยนิยมซื้อมากินเอง นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา และชาวเลส่วนใหญ่เคยใช้บริการวางแผนครอบครัว 1.6 สภาพเป็นอยู่ทางการศึกษาพบว่า ชาวเลส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ เพราะไม่เคยเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน และไม่สนับสนุนให้บุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ต้องเรียนปะปนกับคนพื้นเมือง แต่ต้องการเรียนมีโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของตนเองโดยเฉพาะการศึกษาของชาวเลส่วนใหญ่เป็นไปในรูปของการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากครอบครัวและบรรพบุรุษและมีชาวเลส่วนหนึ่งเคยเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ที่จัดโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1.7 สภาพเป็นอยู่ทางด้านการเมืองการปกครองพบว่า ชาวเลทั้งหมดไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ในที่ดินของเอกชนโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า แต่จะต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่เจ้าของที่ดินวางไว้ ไม่มีชาวเลคนใดเสียภาษีและเข้าร่วมการคัดเลือกทหาร และมีความสนใจทางด้านการเมืองการปกครองน้อยมาก 2.สภาพความเป็นอยู่ทางด้านความจำเป็นพื้นฐาน และคุณภาพชีวิตพบว่า ชาวเลส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เข้าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานในเป้าหมายปี 2529 ชาวเลส่วนใหญ่เห็นว่า “คุณภาพชีวิต” หมายถึง “ชีวิตที่ดี” ซึ่งประกอบด้วยการกินดีและอยู่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และเมื่อนำเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานของคนไทยมาเป็นเกณฑ์วัดคุณภาพชีวิต ชาวเลส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ เกณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องชี้วัด 3. ความต้องการของชาวเลเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่าชาวเลต้องการความรู้เกี่ยวกับการหนังสือหรือการให้อ่านออกเขียนมากที่สุด และต้องการความรู้ในการประกอบอาชีพ ความรู้ในเรื่องการรักษาพยาบาลและการรักษาสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานและความรู้พื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในชุมชน เป็นอันดับรองลงมาตามลำดับ ลักษณะการศึกษาที่ชาวเลต้องการคือการศึกษานอกระบบโรงเรียน และวิธีการศึกษาที่ต้องการมากที่สุดคือการให้ผู้รู้ช่วยสอนหรือแนะนำให้ 4. ปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า ชาวเลส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือความยากจน การไม่รู้หนังสือ การไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และการไม่มีส้วมใช้ ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คือปัญหาที่เกี่ยวกับการไม่รู้หนังสือและการขาดผู้รู้มาช่วยสอนหรือแนะนำให้-
dc.description.abstractalternativePurpose of the Study 1. To study the economic , social, education, political administration, public health, religious, belief, culture and tradition, and living condition of Chaoley. 2. To study their living condition with respect to the "basic needs" and "quality of life" development concepts. 3. To study their educational needs to improve their quality of life. Procedure This research combined the qualitative and quantitative methodologies. Population under study comprised of 84 families of Chaoley who call themselves "New Thais", residing at Rawai Beach in Muang District of Phuket Province. The author carried out research while living in the village for 5 months. Field techniques include participant observation, in-depth interviews and questionaire enumeration and research instruments consist of village mapping, interview guides, photography, tape recording, interpreters, and questionnaires. Findings 1. Living conditions. 1.1 There are altogether 439 people living as minority people at Rawai Beach. Their features were that of Malaysians. They had their own dialects, but had no alphabet. Houses are simply built on private land. These people dislike strangers, heavy drinkers and enjoy gambling. 1.2 Most of chaoley were fishermen. They preferred to sell their catches at their places, rather than go out and 'sell at the market. Most of these people were poor and wanted their family members to earn additional income. They did not want to change their means of livelihood, but would like the Government or the government agencies concerned to promote or support by introducting new fishing teachniques. 1.3 Most of the people got married when they were between 14-16 years of age. Wives were normally regarded as leaders of families. Each family comprised about 5-6 members. Most of couple had 3-4 children. They were content and prefered to continue living in the village. 1.4 Most of Chaoiey are Buddhist, but not religious. They were superstitious anf followed traditional practices. Meanwhile, they also excepted certain traditions and practices from the nearly villages. 1.5 The majority of Chaoley were healthy, had sufficient supply of food and water. They did not have sanitary facilities and were suffering from skin disease. They prescribed their own medicines when were sick. The infants were breast-fed by their mothers. Family planning programme was being implemented in the village. 1.6. The majority of the people were illeterate because the children were discouraged to study in the schools with other villagers. But they wanted to have their own school in the village. However, some of chaoley enrolled in the non-formal education programmes offered the Non-formal Education Center. 1.7 None of the people owned land. They resided on the landlords' land without having to pay rental fees. However, they had to abide by the conditions laid down by the landlords. None of the people paid income tax or joined millitary service. They also had very little interests in the country's politics and/or local administration. 2. The living standard of the poeople did not meet the national standard target set for 1986. For them, quality of life meant a decent life (kin dee yu dee) both physically and mentally. They also agreed with the basic needs indicators used by the Thai government in evaluating the quality of life. 3. Chaoley wanted most to know how to write and read as well as knowledge related to their occupation. Beside, they neaded basic health care and fundamental knowledge in community living. They prefered non-formal education and prefered to have knowledgable persons to teaching or advis them. 4. Problems faced by Chaoley were poverty, illeteracy, landlessness and lack of sanitary facilities. The quality of life could be improved by provid an appropriate education system, i-e, different forms of non-formal education, which would help them learn how to read and write as well as accupational skills and be able to improve their living standard.-
dc.format.extent385601 bytes-
dc.format.extent357173 bytes-
dc.format.extent1058922 bytes-
dc.format.extent1954115 bytes-
dc.format.extent1295180 bytes-
dc.format.extent564290 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชาวเล -- ความเป็นอยู่และประเพณีen
dc.subjectภูเก็ต -- ประชากรen
dc.subjectคุณภาพชีวิตen
dc.subjectความจำเป็นพื้นฐานen
dc.titleสภาพความเป็นอยู่และความต้องการที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเลen
dc.title.alternativeLiving conditions and needs concerning education for the development of Chaoley's quality of lifeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสารัตถศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchanita.r@chula.ac.th-
dc.email.advisorAmara.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
La-iad_Ki_front.pdf376.56 kBAdobe PDFView/Open
La-iad_Ki_ch1.pdf348.8 kBAdobe PDFView/Open
La-iad_Ki_ch2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
La-iad_Ki_ch3.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
La-iad_Ki_ch4.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
La-iad_Ki_back.pdf551.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.