Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18235
Title: การบำบัดน้ำเสียไบโอดีเซลโดยระบบหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
Other Titles: Biodiesel wastewater treatment by two-stage anaerobic digestion system
Authors: ปนัดดา นิลอาญา
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: orathai.c@chula.ac.th
Subjects: เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของระบบหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล และผลของอัตราภาระสารอินทรีย์ที่มีต่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว โดยใช้น้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้สารด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ทำการทดลองโดยใช้ถังหมักกรดแบบกวนสมบูรณ์ขนาด 0.5 ลิตร ต่ออนุกรมกับถังหมักก๊าซมีเทนแบบกวนสมบูรณ์ ขนาด 5 ลิตร ด้วยอัตราการป้อนน้ำเสียเข้าระบบ 0.5 ลิตรต่อวัน คงที่ตลอดการทดลอง โดยถังหมักกรดมีระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์เท่ากับ 1 วัน และถังหมักก๊าซมีเทนมีระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์เท่ากับ 10 วัน ผลการวิจัยพบว่าที่อัตราภาระสารอินทรีย์เท่ากับ 0.46-1.50 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีละลาย เมทานอล และกลีเซอรอล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 93.30-98.04 88.00-100 และ 67.00-100 ตามลำดับ ซึ่งระบบมีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้สูง โดยพบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด และปริมาณก๊าซมีเทนต่อซีโอดีที่ถูกกำจัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.21-0.39 และ 0.19-0.25 ล./ก.ซีโอดีทีถูกกำจัด ตามลำดับ โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มีค่าเฉลี่ยของปริมาณก๊าซมีเทนที่เป็นองค์ประกอบอยุ่ในช่วงร้อยละ 63.32-68.58 โดยการเพิ่มอัตราภาระสารอินทรีย์ตั้งแต่ 0.46-1.50 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดมลสารต่างๆ ในน้ำเสีย ปริมาณก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด และร้อยละของปริมาณก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยที่อัตราภาระสารอินทรีย์เท่ากับ 1.10 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน มีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีละลายสูงสุด เท่ากับร้อยละ 98 มีปริมาณก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด และปริมาณก๊าซมีเทนต่อซีโอดีที่ถูกกำจัดสูงสุดเท่ากับ 0.30 และ 0.20 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ
Other Abstract: The aim of this research was to investigated the performance of Two Stage Anaerobic Digestion for treat biodiesel wastewater and the effect of organic loading rate (OLR) to biodiesel wastewater treatment efficiency. Wastewater used in this study was collected from biodiesel production process with alkali-catalyzed transesterification of Refined Bleacheached and Deodorized (RBD Palm Oil). CSTR acidification tank (0.5 L) was connected to 5 L CSTR methane tank in series, while while the flow rate constantly was kept at 0.5 L/d throughout all experiments. The retention time of acid tank and methane tank was 1 day and 10 days, respectively. At Organic loading rates 0.46-1.50 kgCOD/m³-d., showed that the removal efficiencies of soluble COD, methanol and glycerol were 93.30-98.40%, 88-100% and 67-100%, respectively. The biogas yield and methane yield were 0.21-0.39 and 0.19-0.25 l/gCOD removed, respectively. The biogas analysis showed that ratio of methane in biogas was ranged from 63.32-68.58%. It was observed that the COD removal efficiency and biogas yield were increased with additional OLR from 0.46-1.50 kg-COD/m³-day. The optimum OLR was occurred at 1.10 kg-COD/m³-day, the highest COD removal efficiency was achieved at 98% while biogas yield and methane yield were 0.30 and 0.20 l/gCOD removed respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18235
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.981
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.981
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panadda_ni.pdf21.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.