Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18239
Title: การควบคุมทางสังคมในระดับครอบครัวชนบทภาคเหนือของไทย
Other Titles: Social control in Northern Thai village families
Authors: ไฉไลฤดี เจริญภักดี
Advisors: พัทยา สายหู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครอบครัวชนบท -- ไทย (ภาคเหนือ)
หมู่บ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ)
เชียงใหม่ -- ภาวะสังคม
การควบคุมทางสังคม
หมู่บ้านหนองแหย่ง (เชียงใหม่)
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาการควบคุมทางาสังคมในระดับครอบครัวชนบทในภาคเหนือ ของไทยในระยะ พ.ศ. 252 – 2529 การเก็บข้อมูลใช้วิธีสังเกตและสัมภาษณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้รายละเอียดในแต่ละครอบครัว โดยจำแนกครัวเรือนเป็นครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยายตามขนาดของครอบครัวรวมทั้งความแตกต่างด้านอายุของหัวหน้าครัวเรือนและเสนอผลการศึกษากรณีตัวอย่าง 10 ครอบครัว ผลของการศึกษาพบว่า เนื่องจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมีลักษณะคล้ายคลึงกัน การควบคุมทางสังคมในแต่ละครอบครัวจึงไม่แตกต่างกันมากนัก และมีการควบคุมกันในลักษณะที่เป็นทางการมากกว่าแบบเป็นทางการโดยกลไกทางวัฒนธรรมถูกนำมาใช้มากที่สุด ตลอดจนมีการใช้การปรองดองกันเกือบทุกครอบครัว และพบว่ามีการแยกหน้าที่กันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในครอบครัวค่อนข้างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีความแตกต่างกันบ้างในครอบครัวที่มีขนาดต่างกันครอบครัวใหญ่มักมีความขัดแย้งกันมากเพราะมีคนอยู่มากและแต่ละคนมีหลายบทบาท ปัญหาในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของครอบครัวเมื่อเวลาล่วงไป และมีการไม่ร่วมมือของผู้ถูกสัมภาษณ์เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวเกินไป อีกทั้งระยะเวลาสั้น ทำให้ไม่สามารถพบเหตุการณ์ที่น่าสนใจมากนัก และการศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนตัวอย่างและวิธีการในการค้นหาความจริง ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการศึกษาในเรื่องการควบคุมทางสังคมนี้อีกในโอกาสต่อไป
Other Abstract: This Thesis is a study of Social Control in Northern Thai Village families during the year 1984 -1986. Data were collected by the method of close observation and depth interview in order to obtain the detail of each family regarding social control. The study is based on the distinction of nuclear families and extended families by family size and by the age of the family head. There is also a report on 10 ease studies. The results of the study show that as the villages share a similar mode of living. Their method of social control are not much different. The use informal more than formal method of social control and culture stratenies are used most. Accommodation is attempted and achieved in most all families, and there is clear separation of male and female duties in the family. Nevertheless, family size may result in some differences, sarge families often have more conflicts playing multiple because there more persons roles. The present – study encountered some problems of changing family composition over time, a problem of cooperation because of the private nature of the question, and the problem of time constraint. The present study suffers several limitations in both the size of population and the methods of invertigation, More study of family social control is still needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18239
ISBN: 9745668095
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chailairudee_Ch_front.pdf323.05 kBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_ch1.pdf930.87 kBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_ch2.pdf417.11 kBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_ch3.pdf606.6 kBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_ch4.pdf813.57 kBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_ch5.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_ch6.pdf282.84 kBAdobe PDFView/Open
Chailairudee_Ch_back.pdf244.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.