Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18260
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง "ไฟฟ้าสถิต" สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Construction of a science programmed lesson on "Static electricity" for the upper secondary education level
Authors: จำเนียร ร่มโพธิ์
Advisors: โรจนี จะโนภาษ
จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Chanpen.C@Chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
แบบเรียนสำเร็จรูป
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “ไฟฟ้า” สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การดำเนินการวิจัย ดำเนินเป็นขั้นๆ ดังนี้ คือ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนิดและเทคนิคการสร้างบทเรียนแบบโปรแกรม ศึกษาหลักสูตรวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษา แบบเรียน และตำราเรียนต่างๆ ตั้งวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน สร้างแบบสอบก่อนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สร้างบทเรียนแบบโปรแกรม แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 3 ขั้น นำเสนอผลทดลองมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ 90/90 ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 94.00/79.05 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่เมื่อเปรียบเทียบผลความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมแล้ว ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เรื่อง “ไฟฟ้าสถิต” เพิ่มขึ้น จากเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมนี้
Other Abstract: The purpose of this research was to construct and find out the efficiency of a science programmed lesson on “Static Electricity” for the Upper Secondary Education level. The procedures was carried out in steps as follows: studying the types and techniques for con¬structing the programmed lesson: studying the physics curriculum and textbooks; defining the general and behavioral objectives constructing a reliable test to be used as both pre-test and post-test. Constructing the programmed lesson; and trying out three times with Mathayom Suksa 4 students. The data was collected and analyzed to find out the efficiency of the programmed lesson, according to the 90/90 criteria. The result showed that the efficiency of this programmed lesson was 94.00/79.05 which was less than the 90/90 criteria. However the analyzed data indicated that there was significant difference between pre-test and post-test scores of the subject at .02 level, so it showed that the subject gained more knowledge on “Static Electricity” after learning from this programmed lesson.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18260
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chamnian_Ro_front.pdf347.24 kBAdobe PDFView/Open
Chamnian_Ro_ch1.pdf335.91 kBAdobe PDFView/Open
Chamnian_Ro_ch2.pdf590.42 kBAdobe PDFView/Open
Chamnian_Ro_ch3.pdf295.51 kBAdobe PDFView/Open
Chamnian_Ro_ch4.pdf277 kBAdobe PDFView/Open
Chamnian_Ro_ch5.pdf284.98 kBAdobe PDFView/Open
Chamnian_Ro_back.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.