Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18265
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of administrators and teachers concerning personnel administration in ฉatholic schools in Bangkok Metropolis
Authors: ชนะ ธนสมบูรณ์
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Noppong.b@chula.ac.th
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในด้าน การให้ได้บุคลากรมา การธำรงรักษา การพัฒนา และการให้พ้นจากงาน 3. เพื่อการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร สมมติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารคณะครูโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลทั้งสี่ด้านคือการให้ได้บุคลากรมา การธำรงรักษา การพัฒนา และการให้พ้นจากงาน แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชาการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 59 คน และครูจำนวน 331 คน จากโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 โรงเรียนที่สุ่มได้ รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ที่มีลักษณะเดียวกัน ชุดที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ชุดที่ 2 สำหรับครู แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับบริหารงานบุคคลของโรงเรียนคาทอลิก 4 ด้าน จำนวน 55 ข้อ และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานบุคคลทั้ง 4 ด้านดังกล่าว ได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 390 ฉบับ และได้รับคืนฉบับที่สมบูรณ์ใช้ได้ จำนวน 368 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.35 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้วิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1. ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้านการให้ได้บุคลากรมา การธำรงรักษา การพัฒนา และการให้พ้นจากงานของบุคลากรโรงเรียนได้ปฏิบัติออกมาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เมื่อแยกพิจารณาความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลทั้ง 4 ด้านดังกล่าว มีข้อที่น่าสังเกตคือ ด้านการธำรงรักษาบุคลากร ที่ผู้บริหารเห็นว่าปฏิบัติออกมาอยู่ในระดับมาก แต่ครูเห็นว่าปฏิบัติออกมาในระดับปานกลาง นอกนั้นเห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติออกมาในระดับปานกลางทั้งสิ้น 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลทั้ง 4 ด้านดังกล่าว ปรากฏว่า ความคิดเห็นของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนคาทอลิก มีดังนี้ 3.1 ปัญหาด้านการได้บุคลากรมา ผู้บริหารเห็นว่า การสรรหาบุคลากรไม่ได้คนที่มีคุณสมบัติครบทุกด้านตามที่ต้องการ และบุคลากรบางประเภทเช่น ครูสอนภาษาอังกฤษ ดนตรี ศิลปะ วิชาชีพที่ต้องการนั้นหายาก ส่วนครูเห็นว่าการให้ได้บุคลากรมาขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารเพียงคนเดียว ไม่มีการดำเนินงานในรูปกรรมการและไม่มีการประกาศรับสมัครให้บุคคลภายนอกทราบ รู้กันอยู่แต่วงภายในเท่านั้น 3.2 ปัญหาด้านการธำรงรักษาบุคลากร ผู้บริหารเห็นว่า เงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ทางโรงเรียนไม่สามารถจัดให้เท่าเทียมกับโรงเรียนรัฐบาล ทำให้ครูลาออกไปเข้าโรงเรียนรัฐบาลหรือประกอบอาชีพอื่นๆ และเมื่อทำงานไปนานๆ ไม่มีการปรับขั้นเงินเดือนเหมือนโรงเรียนรัฐบาล ทำให้รายได้ของครูไม่เพียงพอ ส่วนครูมีความเห็นเหมือนกับผู้บริหารในประการแรก และครูได้รับความสนใจจากผู้บริหารน้อยไป ทำให้ครูขาดกำลังใจ 3.3 ปัญหาทางด้านพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารเห็นว่า ขาดปัจจัยในการจัดอบรมทางวิชาการ และส่งครูไปดูงาน กับครูไม่ชอบเข้ารับการอบรม ส่วนครูเห็นว่า ครูไม่ชอบเข้ารับการอบรมเช่นเดียวกับผู้บริหาร และครูมุ่งหารายได้โดยไม่คำนึงถึงการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเอง 3.4 ปัญหาด้านการพ้นจากงาน ผู้บริหารเห็นว่า ครูลาออกอย่างกะทันหันเมื่อสอบเข้ารับราชการได้ และครูลาออกได้ทันที แต่ทางโรงเรียนไม่สามารถให้ครูออกได้ตามความต้องการ ส่วนครูเห็นว่า การพิจารณาให้ครูออกจากงานขาดหลักเกณฑ์ตายตัวที่แน่นอน และครูถูกให้ออกจากงานกลับได้รับเงินทดแทน แต่ครูที่ลาออกเองกลับไม่ได้อะ
Other Abstract: Objectives 1. To study personnel administration in the Catholic schools in Bangkok Metropolis. 2. To compare the opinions of the administrators with those of the teachers regarding personnel recruitment, maintenance development, and withdrawal. 3. To study the problem and obstacles in personnel administration in the Catholic schools in Bangkok Metropolis. Hypothesis The opinions of the administrators and teachers concerning personnel administration in catholic schools In Bangkok Metropolis regarding personnel recruitment, maintenance development and withdrawal are different. Procedures The sample Used in this study consisted of 59 administrators and 331 teachers from 33 Catholic schools in Bangkok Metropolis for a total of 390 persons. The instrument used in this research included check list, rating scale, and open-ended questions regarding personnel recruitment, maintenance, development, and withdrawal. The data, collected by mail, 358 out of 390 questionnaires and were analysed by means of percentages, arithmetic means, standard deviations, and t-test. Findings and conclusions The administrators and teachers perceived that the Catholic schools in Bangkok Metropolis ' performed the four tasks of personnel administration as follows: 1. The administrators and teachers perceived that the Catholic schools performed the tasks of personnel recruitment, development, and withdrawal at the moderate level. The task of maintenance in the opinion of the administrators, is at the high level, but the teachers rate it at the moderate level. 2. The opinions of the administrators and the teachers regarding the four tasks are statistically significantly different at the .05 level, so the hypothesis is accepted. 3. The important problems and obstacles in personnel administration in the Catholic schools are as follows: 3.1 Personnel recruitment: The administrators cannot find perfectly qualified teachers. They also cannot find sp cial teachers such as English teachers, music teachers, fine arts teachers and vocational teachers. The teachers indicate that the administrators make decisions about personnel recruitment alone without the help of a committee, and that there is no public advertising. 3.2 personnel maintenance: The administrators .indicate Catholic schools cannot provide fringe benefits and salary as good as the government schools do, so many teachers resign from Catholic schools to teach in goverment schools or to work in other position. The teachers in spite of the number of years they work, do not receive raises in salary in the same way as government school teachers do. The teachers agree with the administrators about the lack of adequate fringe benefits and salary, but also feel that the administrators lack interest in them. The teachers therefore have low morale. 3.3 Personnel development: The administrators feel that Catholic schools lack adequate budget for personnel development, and that the teachers do not like to attend seminars. The teachers indicate that they do not like to attend seminars and that spend most of their time earning money instead of increasing their knowledge. 3.4 Personnel withdrawal: The administrators indicate that the teachers resign any time they want in order to work in government schools, but administrators cannot get rid of incompetent teachers. The teachers indicate that there is no standard criteria for personnel withdrawal. In addition, there are other problems: for example, receive six-month salary, while teachers who resign receive
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18265
ISBN: 9745622613
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chana_Th_front.pdf427.54 kBAdobe PDFView/Open
Chana_Th_ch1.pdf616.03 kBAdobe PDFView/Open
Chana_Th_ch2.pdf701.12 kBAdobe PDFView/Open
Chana_Th_ch3.pdf349.8 kBAdobe PDFView/Open
Chana_Th_ch4.pdf999.38 kBAdobe PDFView/Open
Chana_Th_ch5.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Chana_Th_back.pdf511.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.