Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18266
Title: | กิจกรรมการพัฒนาคณาจารย์ : การศึกษาเฉพาะกรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ |
Other Titles: | Faculty development activities a case study of King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok Campus |
Authors: | ชนัดดา เหมือนแก้ว |
Advisors: | อมรชัย ตันติเมธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Amornchai.T@chula.ac.th |
Subjects: | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ -- คณาจารย์ |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษากิจกรรมการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมการพัฒนาคณาจารย์ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารจำนวน 27 คน อาจารย์จำนวน 203 คน รวมเป็นประชากรที่ใช้ในการวิจัย 230 คน ประชากรตอบแบบสอบถามใช้ประชากรทั้งหมดโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ตอบแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 27 คน และอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 10 ของ แต่ละคณะ/วิทยาลัย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สัมภาษณ์จำนวน 47 คน การวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวกับข้องกับการจัดกิจกรรมการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วนตนเอง ได้นำมาวิเคราะห์โดยคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ผู้บริหารและคณาจารย์ไม่ทราบนโยบายในการพัฒนาคณาจารย์ที่แน่นอน การดำเนินการพัฒนาคณาจารย์ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ขาดการติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมตลอดจนการสำรวจความต้องการของคณาจารย์ ทำให้การพัฒนาคณาจารย์ด้านต่างๆ ได้ปฏิบัติน้อยและไม่ต่อเนื่อง กิจกรรมซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปฏิบัติน้อยได้แก่ การปฐมนิเทศ การส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อ การวิจัย การฝึกอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาทางการวิชาการ การเผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการ และการสับเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน ส่วนกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติน้อยที่สุดได้แก่การจัดสัปดาห์ทางวิชาการ ในบรรดากิจกรรมเหล่านี้คณาจารย์ต้องการให้จัดการฝึกอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการมากที่สุด ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ที่ผู้บริหารและอาจารย์มีความเห็นสอดคล้องกันว่าระดับของปัญหาในการจัดกิจกรรมการพัฒนาคณาจารย์อยู่ในระดับมาก สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากการขาดงบประมาณ ขาดการวางแผน และการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนไม่มีหน่วยงานทำหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาคณาจารย์โดยเฉพาะ ส่วนปัญหาซึ่งคณาจารย์มีความคิดเห็นแตกต่างจากความคิดเห็นของผู้บริหารได้แก่ พัฒนาคณาจารย์ไม่ทั่วถึง ความยุติธรรมในการคัดเลือกบุคคลเพื่อพัฒนา และการประชาสัมพันธ์ โดยผู้บริหารเห็นว่าเป็นปัญหาน้อย แต่คณาจารย์เห็นว่าเป็นปัญหามาก ข้อเสนอแนะ สถาบันมีนโยบายการพัฒนาคณาจารย์ที่แน่นอนชัดเจน มีการวางแผนการพัฒนาคณาจารย์โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของสถาบันและคณาจารย์เป็นหลัก ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบการพัฒนาคณาจารย์โดยเฉพาะ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปรับปรุงการพัฒนาคณาจารย์ต่อไป นอกจากนี้ควรได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขว้างเพื่อให้คณาจารย์ได้ทราบแนวทางการพัฒนา ทั้งในเรื่องขอนโยบาย แผนการเนินงาน ผลการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้บริหารและอาจารย์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความไม่ยุติธรรมและการพัฒนาคณาจารย์ใฃได้ไม่ทั่วถึงตลอดจนปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น การดำเนินงานอย่างเป็นระบบและความเข้าใจอันดีต่อกันดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร่วมมือ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาในที่สุด |
Other Abstract: | Research Purposes 1. To study the faculty development activities at King Mongkut's Institute of Technology, North Bangkok Campus. 2. To study the problems and obstacles in organizing the faculty development activities at King Mongkut's Institute of Technology, North Bangkok Campus. Research Procedure The population involved in the research were 27 administrators and 203 instructors. The total population was 203. The whole population was used as the respondances of the questionnaire. The interviewes included 27 administrators and the instructors amounting to 10% of instructors in each faculty or college by simple random sampling. This resulted in an example group of 20 instructors and 47 persons interviewed. The descriptive research used as the method of the study. Instruments used in this research were documents concerning the faculty development activities at King Mongkut's Institute of Technology, North Bangkok Campus, questionnaires, the structured interview oreated and data collected by the researcher. These are analyzed to find the frequency, the percentage, the arithmatic mean, the standard deviation and the content analysis. Findings Administrators and instructors didn't know about the exact faculty development policy. Lacked of system planning in faculty development, lacked of follow-up and evaluation of faculty development program including needs assessments. As a result, only a few programs were followed in a non-continuous manner. These less implemented activities were studied orientation, upgrading, research program, train¬ing and workshop practices, seminars, publications of technical news and transference; The programs least organized was symposium while the programs on training and workshop practice were the top activities. Administrators and instructors agreed on the fact that the problems and obstacles arise were high. The main reasons were insuf¬ficient budget, lacked of planning and management and the specific department to hold full responsibility on the matter. Administrators and instructors had different opinions in the development program being not fully cover all the staff, partiality in selecting parsonel and publicity. These items were considered to be negligible problems by the administrators as apposed by the instructors. Suggestions The main point is that the institute should have a clear policy and planning for faculty development program according to the needs and demands of the campus and the instructors. The program must be conducted continuously as a system with the assessment and follow-up procedures. All the data should be collected for the improvement and the correct guidance of the program. Beside, an information service should be provided so that the instructors will know about faculty development including the policy, the organization, the result, the problems and obstacles that Occur. These will give administrators and the instructors especially the problems of injustice and lack of opportunity to join the programs and other problems that exist. The well organized program will create co-operation which will lead to the successful outcome of faculty develop¬ment program. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18266 |
ISBN: | 9745644625 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanadda_Mu_front.pdf | 329.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanadda_Mu_ch1.pdf | 342.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanadda_Mu_ch2.pdf | 623.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanadda_Mu_ch3.pdf | 281.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanadda_Mu_ch4.pdf | 778.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanadda_Mu_ch5.pdf | 449.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanadda_Mu_back.pdf | 483.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.