Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18388
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษา ของอาจารย์ในวิทยาลัยครู
Other Titles: Opinions concerning methods of teaching social studies instruction in teachers colleges
Authors: นงนุช สุวรรณแสง
Advisors: อัจฉรา ประไพตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ทัศนคติ
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัญหาทั่วไปและความคิดเห็นของอาจารย์ในวิทยาลัยครู เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษา เพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชานี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม เพื่อถามกลุ่มประชากร ซึ่งได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษา ในวิทยาลัยครูทั่วประเทศรวม 29 แห่ง จำนวน63 คน ปรากฏว่าได้รับแบบสอบถามคืน 58 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.06 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ผู้สอนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรี เพิ่งสำเร็จการศึกษาและไม่เคยมีประสบการณ์ในการสอนระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษามาก่อน ชั่วโมงสอนของอาจารย์อยู่ในระดับที่เหมาะสมคือ 6-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจารย์ผู้สอนวิชานี้เกือบทั้งหมดเป็นอาจารย์นิเทศก์ด้วย อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ส่วนหนึ่งสอนเพราะเห็นว่าเป็นวิชาที่มีประโยชน์ แต่อาจารย์อีกส่วนหนึ่งสอนเพราะหัวหน้าสายวิชาจัดให้สอน อาจารย์ส่วนใหญ่เตรียมการสอนเป็นอย่างดีทุกครั้ง วิธีการสอนและกิจกรรมที่อาจารย์ปฏิบัติบ่อยครั้งก็คือการบรรยายแล้วเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามและการให้นักศึกษาฝึกสอนในกลุ่มเดียวกัน ช่วยกันติชมแก้ไข วิพากษ์วิจารณ์ ส่วนวิธีสอนและกิจกรรมที่ใช้น้อยมากหรือไม่เคยใช้เลยคือ การเชิญวิทยากรมาบรรยายและการพานักศึกษาออกไปศึกษานอกสถานที่ การเลือกใช้วิธีการสอนและกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนนั้น อาจารย์ผู้สอนจะเลือกโดยคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมของเนื้อหาในบทเรียนเป็นหลัก หนังสือที่ใช้ค้นคว้าและอุปกรณ์การสอนนั้นอาจารย์ส่วนใหญ่กล่าวว่ามีไม่พอกับความต้องการ การวัดผลส่วนใหญ่ที่อาจารย์ใช้ก็คือ ให้นักศึกษาประเมินผลกันเอง ปัญหาที่อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ประสบอยู่และต้องการให้มีการปรับปรุงแก้ไขก็คือ หลักสูตร ประมวลการสอนหนังสือต่างๆที่ใช้ค้นคว้าประกอบการสอน และอุปกรณ์การสอน นอกจากนี้อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นว่าควรมีการส่งเสริมให้ครูอาจารย์มีความรู้มากขึ้น โดยการให้ได้ศึกษาต่อในระดับสูงกว่าที่เป็นอยู่ หรือการจัดอบรมสัมมนา เพื่อจะได้นำความรู้ความคิดใหม่ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: This study was designed to determine instructors' general problems and opinions concerning Methods of Teaching Social Studies in order to improve the methods of teaching in Teachers' Colleges. Questionnaires were constructed and administered to 63 instructors of Methods of Teaching Social Studies in 29 Teachers' Colleges. 58 questionnaires counted for 92.06% were returned. Percentages, arithmetic means and standard deviations of the data were determined and presented in tables and description. The results were: most of the instructors of Methods of Teaching Social Studies had the Bachelor of Arts degree, most of them had just graduated, and they had no experiences in teaching at the elementary or secondary education levels. Their teaching loads were 6-12 hours per week which were appropriate. Most of the instructors also worked as the supervisory teachers. Some instructors taught Methods of Teaching Social Studies because they felt that it was a useful subject while others were assigned by Head of Social Studies Section. The instructors always planned their lessons. Peer – teaching, lecture and discussion were mostly used while resource persons and filed-trips were never employed. The instructors selected teaching and learning activities by considering the content. References and audio – visual aids were not available. Student – self evaluation was the main method. The problem areas which the instructors faced and needed to be improved were: curriculum and course of study, references, and upgrading of the instructors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18388
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongnuch_Su_front.pdf384.6 kBAdobe PDFView/Open
Nongnuch_Su_ch1.pdf454.29 kBAdobe PDFView/Open
Nongnuch_Su_ch2.pdf651.99 kBAdobe PDFView/Open
Nongnuch_Su_ch3.pdf276.69 kBAdobe PDFView/Open
Nongnuch_Su_ch4.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Nongnuch_Su_ch5.pdf468.11 kBAdobe PDFView/Open
Nongnuch_Su_back.pdf760.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.