Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18447
Title: การหาแรงในค้ำยันนอกระนาบของโครงข้อหมุนด้วยการวิเคราะห์แบบไร้เชิงเส้น
Other Titles: Determination of force in lateral bracing of planar truss by nonlinear analysis
Authors: ศศิธร บรรจงกุลลิขิต
Advisors: วัฒนชัย สมิทธากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Watanachai.S@Chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์)
ทฤษฎีไม่เชิงเส้น
การวิเคราะห์เชิงตัวเลข
Structural analysis ‪(Engineering)‬
Nonlinear theories
Numerical analysis
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการคำนวณหาแรงในค้ำยันนอกระนาบของโครงข้อหมุน ด้วยการวิเคราะห์แบบไร้เชิงเส้นสามมิติ ร่วมกับการพิจารณาผลของความไม่สมบูรณ์ตั้งต้นที่จุดต่อ ทั้งนี้ การวิเคราะห์แบบไร้เชิงเส้นจะคำนึงถึงผลของการเปลี่ยนรูปของโครงสร้าง และความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดที่ไม่เป็นเชิงเส้น ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมจริงของโครงสร้างมากกว่าการวิเคราะห์แบบเชิงเส้น งานวิจัยนี้ได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นสามกรณีคือ การวิเคราะห์แบบเชิงเส้น การวิเคราะห์แบบไร้เชิงเส้นทางเรขาคณิต และการวิเคราะห์แบบไร้เชิงเส้นทั้งทางเรขาคณิตและทางวัสดุ โดยพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวาเพื่อใช้วิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว และใช้วิธีการของนิวตันราฟสันในการคำนวณหาคำตอบ ความไม่สมบูรณ์ตั้งต้นของโครงสร้างเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และไม่สามารถกำหนดได้ล่วงหน้า เพราะอาจเกิดขึ้นระหว่างการเตรียมชิ้นส่วนโครงสร้างที่โรงงานหรือระหว่างการก่อสร้าง ส่งผลให้อัตราส่วนปลอดภัยของโครงสร้างลดลง ด้วยเหตุนี้จึงอาศัยวิธีทางสถิติเข้ามาช่วยสุ่มหารูปแบบความไม่สมบูรณ์ตั้งต้นที่จุดต่อ ที่ทำให้เกิดแรงในค้ำยันมากที่สุด ขนาดความไม่สมบูรณ์ตั้งต้นกำหนดให้มีค่าสูงสุดไม่เกิน L/500 ตามมาตรฐาน AISC ผลจากกรณีศึกษาชี้ให้เห็นว่า ถ้าโครงสร้างปราศจากความไม่สมบูรณ์ตั้งต้น การคำนวณหาแรงในค้ำยัน ไม่ว่าด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบเชิงเส้นหรือไร้เส้น จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันน้อยมาก ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาความไม่สมบูรณ์ตั้งต้น แรงในค้ำยันจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20% และ 49% เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเชิงเส้นและไร้เชิงเส้น ตามลำดับ ดังนั้นค่าความไม่สมบูรณ์ตั้งต้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรจะพิจารณาร่วมด้วยในการออกแบบโครงสร้าง และการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีไร้เชิงเส้นจะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากกว่า
Other Abstract: To study the determination of force in lateral bracing of planar truss by nonlinear analysis in three dimensions. Also, effects of initial imperfection at the connections are investigated. Providing a more accurate result to structural behavior than linear analysis, the nonlinear analysis takes into account the effects of deformed geometry and nonlinear stress-strain relation. Here, three types of analyses are considered: linear, geometric nonlinear and combined geometric and material nonlinear. Employing Newton-Raphson technique in the iteration process, a computer program is developed using Java language. Initial imperfection of a structure, occurring during pre-fabrication and installation processes, is usually unavoidable and unpredictable in normal practice. As a result, structural safety factor is reduced. In order to find the maximum force in lateral bracing, a random process is employed for initial imperfection pattern of the structure with the magnitude capped within L/500, according to AISC Specification. Results from case studies indicate that in the absence of initial imperfection, forces in lateral bracing computed by linear and nonlinear analyses have only little difference. In contrast, if initial imperfection is taken into account, the force in lateral bracing will increase approximately 20% and 49% when using linear and nonlinear analyses, respectively. Therefore, initial imperfection is a significant factor to be considered in the design process and the method of nonlinear analysis is necessary.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18447
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasithorn_bu.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.