Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18510
Title: | ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร |
Other Titles: | Problems of the academic administration in elementary schools under the auspices of Sakon Nakhon provincial administrative organization |
Authors: | วัฒนา สุวรรณไตรย์ |
Advisors: | น้อมศรี เคท |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Normsri.C@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาตามสภาพความแตกต่างของขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการเป็นครูใหญ่ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปใช้กับตัวอย่างประชาคือครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำนวน 165 คน ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 100 เป็นแบบอบถามที่สมบูรณ์และนำมาวิเคราะห์ จำนวน 163 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.78 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างแล้วทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีทดสอบของนิวเเมนเคิลล์ (Newman Keuls Test) และเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์แตกต่างกันโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษามีปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยส่วนรวมในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละด้าน ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษามีปัญหามากที่สุด เรื่องงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานวิชาการไม่เพียงพอ และทางราชการแจกหนังสือเรียนล่าช้าทำให้เกิดปัญหาการเรียนการสอน ส่วนเรื่องที่เป็นปัญหาน้อยได้แก่ เรื่องการจัดการสอนประจำชั้นหรือสอนประจำวิชายังไม่เหมาะสม และสภาพของชุมชนไม่อำนวยให้โรงเรียนเข้าร่วมในกิจกรรมส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ ส่วนเรื่องอื่นๆ ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาเห็นว่ามีปัญหาในระดับมากและปานกลาง 2. ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีปัญหาการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวม 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการบริหารที่สนับสนุนงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการจัดกิจกรรม เสริมหลักสูตร ส่วนด้านหลักสูตร และเอกสารหลักสูตร และด้านการวัดและประเมินผลกการศึกษา มีปัญหาไม่แตกต่างกัน 3. ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเป็นครูใหญ่ต่างกัน มีปัญหาการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนด้านอื่นๆ นั้นไม่มีปัญหาแตกต่างกัน 4. อุปสรรค์ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาการบริหารงานวิชาการตามความเห็นของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา ได้แก่ ขาดงบประมาณสนับสนุน ขาดแคลนครู และนักเรียนส่วนใหญ่ยากจน ตามลำดับ |
Other Abstract: | Purposes 1. To study the problems of the academic administration of the elementary school principals under the Auspices of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization. 2. To compare the problems of the academic administration of the elementary school principals according to the school sizes and the experiences in being principals. Procedure The questionnaires were sent to 165 elementary school principals under the Auspices of Sakon Nakhon Provincial Adminis¬trative Organization. One hundred percents of the questionnaires were returned, but 98.78% were completed. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, one-way analysis f variance, Newman-Keuls test and t-test. Findings. 1. Generally, the elementary school principals viewed that the problems of the administration of the academic affairs were moderate. They considered that inadequacy of budget for academic affairs and the delay of sending textbooks from the official authority were the major problems in academic administration. 2. There were significant differences at the .05 level among the problems of the principals of the elementary schools which differed in sizes on four topics namely : the process of academic administration, learning-teaching activities, instruc¬tional supervision and extra curriculums activities. There were no significant differences on the other two topics as the manage¬ment of curricula and curriculum materials, and measurement and evaluation. 3. There were significant differences at the .05 level between the problems of the elementary school principals whose experiences in being principals were different, on the topic of instructional supervision. 4. The major difficulties of the academic administration were ranked as followed : lack of budget for supplying academic affairs, inadequacy of teachers, and economical problems of the parents. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18510 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watana_Su_front.pdf | 358.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watana_Su_ch1.pdf | 415.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watana_Su_ch2.pdf | 958.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watana_Su_ch3.pdf | 315.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watana_Su_ch4.pdf | 696.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watana_Su_ch5.pdf | 521.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watana_Su_back.pdf | 725.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.