Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18519
Title: | องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมกล้าแสดงออก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors related to assertive behavior of secondary school students in Bangkok Metropolis |
Authors: | วัฒนา พันธุ์เมฆา |
Advisors: | สวัสดิ์ ประทุมราช พรรณราย ทรัพยะประภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Paranrai.s@chula.ac.th |
Subjects: | พฤติกรรม |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการวิจัยครั้งนี้มีจดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของวัยรุ่นไทยโดยมุ่งศึกษาว่าสภาพสังคมและกระบวนการของสังคม ได้แก่ การอบรมเลียงดูพ่อแม่ ประเภทโรงเรียน ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ตลอดจนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกล้าแสดงออกของวัยรุ่นมากน้อยเพียงใด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2527 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1055 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชุด คือ (1) แบบสอบถามวัดพฤติกรรมกล้าแสดงออก สร้างโดย รังสรรค์ เพ็งนู (2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ สร้างโดย สุกัญญา กุลอึ้ง (3) แบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ ตนเอง สร้างโดย วันทนา ศริรัตน์ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และการเปรียบเทียบรายคู่ ผลปรากฏว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป และนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของพฤติกรรมกล้าแสดงออกระหว่างนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป และนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (2) นักเรียนที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเองสูง มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเองต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (3) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางพฤติกรรมกล้าแสดงออกระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมต้น และนักเรียนชั้นมัธยมปลาย (4) นักเรียนโรงเรียนสาธิต และนักเรียนโรงเรียนสหศึกษา มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนหญิงล้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (5) นักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวต่ำมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05(6) นักเรียนที่มีผู้ปกครองมีการศึกษาสูง มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนที่ผู้ปกคลองมีการศึกษาต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study Thai adolescent assertive behavior in relation to the degree to which social status and social process childrearing practices, school types parent educational level, family economic status and self-esteem were related to assertive behavior. The subjects comprised 1055 secondary students who were studying at grade 7 to grade 12 in schools in Bangkok Metropolis. Assertive Behavior Questionaire (Rungsan Pengnu), Child Rearing Questionaire (Sukanya Kuneung) and Self-Esteem Reported Questionaire (Wantana Sirirat) were utilized to assess the variables of assertive behavior, the method of childrearing parctices and student's self-esteem, respectively. Two-Way Analysis of Variance and Multiple Comparison were utilized as statistical methods for data analysis. The results revealed that (1) Students reared under democracy atmosphere gained higher scores on assertive behavior than the students reared under the atmospheres of overprotection and rejection at .05 level of significance. But no significant differences were found between the students reared under the atmosphere of overprotection and rejection (2) Students with high scores on self-esteem were significantly more assertive than the lower ones at the .01 level of significance. (3) There was no significant differences in assertive behavior between the students at the lower and the upper secondary levels. (4) Students in the demonstration schools and the students in the co-education school were found to be more assertive than the students in all girl schools. (5) Students with low economic status were found to be more assertive than the student with high economic status and (6) Students with higher parental educational level were found to be more assertive than students with lower parental educational level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18519 |
ISBN: | 9745644595 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wattana_Pu_front.pdf | 329.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_Pu_ch1.pdf | 391.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_Pu_ch2.pdf | 499.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_Pu_ch3.pdf | 346.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_Pu_ch4.pdf | 424.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_Pu_ch5.pdf | 414.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_Pu_back.pdf | 669.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.