Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18527
Title: เปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลากับวิทยาลัยครูสงขลา ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา
Other Titles: A comparison of teaching behaviors of the instructors in Srinakarinwirot University Songkhla and Songkhla Teachers' College as perieived by instructors and students
Authors: วงศ์ชัย ภูมิระวิ
Advisors: ไพฑูรย์ สินลารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: paitoon@dpu.ac.th, Paitoon.Si@chula.ac.th
Subjects: อาจารย์มหาวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลากับวิทยาลัยครูสงขลา ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา มีผลสรุปโดยย่อดังนี้ วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา กับครูวิทยาลัยครูสงขลาที่ให้ความสำคัญของพฤติกรรมต่อประสิทธิภาพของการสอน และความถี่ของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทั้งระหว่างสถาบันและสถาบันเดียวกันในวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกคณิตศาสตร์ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิชาเอกสังคมศึกษา และวิชาการศึกษา ว่ามีความแตกต่างหรือไม่เพียงใด วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครีนทรวิโรฒสงขลา และวิทยาลัยครูสงขลา ซึ่งได้ทำการเรียนการสอนในวิชาเอกต่างๆ มาแล้วเกินกว่าครึ่งหนึ่งของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2522 เป็นผู้ตอบเกี่ยวกับความสำคัญของพฤติกรรมต่อประสิทธิภาพของการสอน และความถี่ของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ได้แบบสอบถามของอาจารย์มาสถาบันละ 20 ฉบับ รวม 40 ฉบับ และได้แบบสอบถามจากนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา และวิทยาลัยครูสงขลา จำนวน 641 ฉบับ นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที สรุปผลของการวิจัย 1. อาจารย์ทั้งสองสถาบัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของพฤติกรรมต่อประสิทธิภาพของการสอนในวิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกคณิตศาสตร์ และวิชาการศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกพฤติกรรม สำหรับวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกวิทยาศาสตร์ และ วิชาเอกสังคมศึกษา มีความเห็นแตกต่างกันเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ของพฤติกรรมทั้งหมด 2. อาจารย์ทั้งสองสถาบันประเมินเกี่ยวกับความถี่ของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์เองที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกพฤติกรรมในวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิชาเอกสังคมศึกษา และวิชาการศึกษา แต่ประเมินความถี่ของพฤติกรรมแตกต่างกันร้อยละ 5 ของพฤติกรรมทั้งหมด ในวิชาเอกคณิตศาสตร์ 3. นักศึกษาทั้งสองสถาบันมีความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของพฤติกรรมต่อประสิทธิภาพของการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกพฤติกรรม ในวิชาการศึกษาแต่มีความเห็นแตกต่างร้อยละ 32.5 ในวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกคณิตศาสตร์ และวิชาเอกสังคมศึกษา ส่วนวิชาเอกวิทยาศาสตร์มีความเห็นแตกต่างกันร้อยละ 87.5 ของพฤติกรรมทั้งหมด 4. นักศึกษาทั้งสองสถาบันประเมินเกี่ยวกับความถี่ของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ในวิชาเอกภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร้อยละ 80 ในวิชาการศึกษาแตกต่างกันร้อยละ 45 นอกจากนี้ประเมินแตกต่างกันเฉลี่ยร้อยละ 25.62 ของพฤติกรรมทั้งหมด 5. อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา มีความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญพฤติกรรมต่อประสิทธิภาพของการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกพฤติกรรม ในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ และวิชาการศึกษา แต่มีความเห็นแตกต่างร้อยละ 27.5 ในวิชาเอกภาษาอังกฤษ และวิชาเอกคณิตศาสตร์ ส่วนวิชาเอกภาษาไทยมีความเห็นแตกต่างกันร้อยละ 7.5 และวิชาเอกสังคมศึกษา มีความแตกต่างกันร้อยละ 2.5 ของพฤติกรรมทั้งหมด 6. อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ประเมินเกี่ยวกับความถี่ของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกพฤติกรรมในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ แต่มีความแตกต่างกันเฉลี่ยร้อยละ 28.75 ในวิชาเอกภาษาไทย และวิชาเอกภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาเอกคณิตศาสตร์ วิชาเอกสังคมศึกษา และวิชาการศึกษา มีความเห็นแตกต่างกันเฉลี่ยร้อยละ 4.16 ของพฤติกรรมทั้งหมด 7. อาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลามีความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของพฤติกรรมต่อประสิทธิภาพของการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกพฤติกรรมในวิชาเอกคณิตศาสตร์ นอกนั้นมีความเห็นแตกต่างกันเฉลี่ยร้อยละ 10.6 ของพฤติกรรมทั้งหมด 8. อาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลาประเมินเกี่ยวกับความถี่ของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกพฤติกรรมในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ ส่วนในวิชาเอกสังคมศึกษามีความเห็นแตกต่างกันร้อยละ 17.5 และในวิชาการศึกษาร้อยละ 2.5 นอกนั้นมีความเห็นแตกต่างกันเฉลี่ยร้อยละ 9.17 ของพฤติกรรมทั้งหมด เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่าความแตกต่างจะต้องมากกว่าร้อยละ 50 ของพฤติกรรมทั้งหมดจึงนับว่ามีความแตกต่างกัน ดังนั้นผลการวิจัยพบว่า ความเห็นของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา และวิทยาลัยครูสงขลา ทั้งที่เปรียบเทียบระหว่างสถาบันและในสถาบันเดียวกันไม่มีความแตกต่างกันทุกวิชาเอก จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทุกข้อ ข้อเสนอแนะ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปควรทราบว่าพฤติกรรมการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา และวิทยาลัยครูสงขลา จากการประเมินของอาจารย์และนักศึกษาไม่แตกต่างกันมากนัก ผู้บริหารและอาจารย์ทั้งสองสถาบันควรนำผลการวิจัยนี้มาพิจารณาว่าพฤติกรรมใดอยู่ในลักษณะที่ควรมีการปรับปรุงก็ควรจะได้พิจารณาหาวิธีปรับปรุง และพัฒนาพฤติกรรมนั้นๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
Other Abstract: Teaching behaviors as perceived by the instructors and students were compared between Srinakharinwirot University Songkhla and Songkhla Teachers' College with the following specifications. The purpose of the study The purpose of this research was to compare the opinions of the instructors and students from Srinakharinwirot University Songkhla and Songkhla Teachers' College regarding the importance of behaviors on teaching efficiency and the frequency of teaching behaviors reported in the same institution and between the institutions among these areas : Thai, English, mathematic, sciences, social studies and education. Methodology and Procedure Six hundred and forty one sets of questionnaires were sent to students and 40 questionnaires to instructors of Srinakharinwirot University Songkhla and Songkhla Teachers' College in the second semester, academic year 1979. The data were collected and analyzed from questionnaires constructed by the researcher, encompassing the importance of behaviors in teaching efficiency and the frequency to teaching behaviors in the class. Statistical' procedures in terms of Mean, Standard Deviation and t-test were used in the research. Research Conclusion 1. There was no significant difference at .05 level in the opinion of the important behaviors in teaching efficiency in English, mathematic and education between instructors from both institutions. Approximately 5.8 per cent of behaviors were significant difference in Thai, sciences and social studies majors. 2. There was no significant difference at .05 level in the evaluation of the frequency of teaching behaviors from instructors in the two institutions in every major except 5 per cent of behaviors were evaluated significantly different in mathematic major. 3. There was no significant difference at .05 level in the opinion of behaviors in teaching efficiency from students in both institutions regarding all behaviors in the area of education. Approximately 3.25 per cent of behaviors were significantly different in Thai, English, mathematic and social studies and 87.5 per cent were significantly different in sciences. 4. Eighty per cent of behaviors was significant difference at .05 level in the evaluation of the frequency of class room teaching behaviors in English from students of the two institutions and 45 per cent in education. Approximately 25.62 per cent were significantly different in other majors. 5. There was no significant difference at .05 level in the opinions of behaviors in teaching efficiency from instructors and students in Srinakharinwirot University Songkhla in all behaviors of sciences major and education. Approximately 27.5 per cent were significantly difference in English and mathematic; 7.5 per cent were significantly different in Thai and 2.5 per cent in social studies. 6. There was no significant difference at .05 level in the evaluation of the frequency of teaching behaviors in the class from instructors and students in Srinakharinwirot University Songkhla to all behaviors in sciences. Approximately 28.75 per cent were significantly different in Thai and English and 4.16 per cent in social studies and education. 7. There was no significant difference at .05 level in the opinions regarding behaviors in teaching efficiency of mathematic major from instructors and students in Songkhla Teachers' College. Approximately 10.6 per cent were significantly different in other majors. 8. There was no significant difference at .05 level in the evaluation of the frequency of teaching behaviors in the class from instructors and students in Songkhla Teachers' College in all behaviors in sciences. Seventeen point five per cent of behaviors were significantly different in social studies, 2.5 per cent in education and approximately 9.17 per cent were significantly different in other majors. According to the criteria Bet in this study, the hypothesis were rejected. Recommendations Administrators, instructors, students and interested people should realize that the teaching behaviors in Srinakharin¬wirot University Songkhla and Songkhla Teachers' College were not completely different. The administrators and instructors from two institutions may use the results from this study in their practice for the identification of behaviors in need of improvement and the selection of suitable method of improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18527
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wongchai_Ph_front.pdf429.36 kBAdobe PDFView/Open
Wongchai_Ph_ch1.pdf457.29 kBAdobe PDFView/Open
Wongchai_Ph_ch2.pdf625.83 kBAdobe PDFView/Open
Wongchai_Ph_ch3.pdf320.88 kBAdobe PDFView/Open
Wongchai_Ph_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Wongchai_Ph_ch5.pdf703.01 kBAdobe PDFView/Open
Wongchai_Ph_back.pdf633.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.