Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18590
Title: ผลของนโยบายส่งเสริมการลงทุน ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2544) ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่มีต่อตลาดแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Other Titles: The results of BOI policies No.3/2544 of Board of Investment on the labour market in the lower-northeastern region
Authors: เสาร์เช้า ช้างกลาง
Advisors: พนิต ภู่จินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Panit.P@Chula.ac.th
Subjects: ตลาดแรงงาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การส่งเสริมการลงทุน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลของนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขต 3 พิเศษ ที่มีต่อตลาดแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เริ่มจากการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และใช้พื้นที่ดังกล่าวในการอธิบายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในช่วงก่อนและหลังได้รับสิทธิประโยชน์เขตส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษ การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์นโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานของพื้นที่ระดับประเทศ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้ข้อมูลต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ มูลค่าเงินลงทุน และอัตราการจ้างงาน เป็นต้น โดยใช้การหาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์ตารางไขว้ (Crosstab) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ โดยทำการวิเคราะห์ลักษณะอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเพื่อสรุปหาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษมากที่สุดโดยวิเคราะห์จากจำนวนโรงงาน จำนวนแรงงานและจำนวนเงินลงทุน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า จังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์แรงงานคือต้องการแรงงานภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยต้องการแรงงานที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดวัย แต่ต้องมีทักษะด้านการเย็บผ้า โดยยินดีจ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของพื้นที่ในขณะนั้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยมีอายุระหว่าง 25-35 ปี และส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ทำงานวันละ 8-10 ชั่วโมง ได้รับค่าจ้าง 156 บาทต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในจังหวัดชัยภูมิทุกโรงงานประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยมีตำแหน่งว่างงานรวม 4,000 อัตรา เนื่องจากอุปทานแรงงานในจังหวัดชัยภูมิไม่ได้เข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด มีเฉพาะอุปทานแรงงานที่อาศัยอยู่ในระยะที่สามารถเดินทางถึงโรงงานได้อย่างสะดวก อีกทั้งค่าแรงที่ได้รับอยู่ในอัตราที่ต่ำ ทำให้ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับแรงงานได้ นอกจากนี้อุปทานแรงงานที่มีอยู่บางส่วนออกไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อื่นที่มีค่าแรงสูงกว่า และบางส่วนก็ประกอบอาชีพอื่นที่อยู่นอกภาคอุตสาหกรรม ทำให้อุปทานแรงงานที่เหลือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้จังหวัดชัยภูมิเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
Other Abstract: The study is aimed to indicate the impacts of BOI policy No.3/2544 on the labor market in the lower-Northeastern of Thailand. This policy provided several incentives to the selected industries for doing business in the Investment Promotion Zone 3, especially in the area with numerous labor surpluses as in the Northeastern. Firstly, the impacts of BOI policy are analyzed in 3 major aspects –physical, economic and social. It is also divided into in 3 different scales –national, regional and provincial. Field survey is performed, as well as collection secondary data such as the Gross Domestic Product (G.D.P.), the investment value, the wage rate, etc., In the next step, statistical analytic method Cross Tabulation and Correlation are selected to indicate the interrelation between industrial development affected by BOI Policy and changes in labor market. In conclusion, Chaiyaphum province gets the most industrial impacts from the BOI incentives because of additional incentives from the province itself and the large number of labor surplus. Several garment industries applied for BOI incentives and established their production factories in this province. On labor demand-side, those factories require semi-skilled workers with at least elementary school education. However, from focus group interview, the current workers in those factories are 25 – 35 years old women with elementary and high school level. They live in the commuting distance from the factories, work 8-10 hours and get 156 baht per day. Unfortunately, there are still more than 4,000 available jobs waiting for the workers because the spatial limitation of labor force and the low competitiveness of wage comparing with the other industrial location in Thailand. As the result, Chaiyaphum province has the problem of labor shortages in the garment industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18590
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.558
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.558
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saochao_ch.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.