Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18622
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบโครงการ และวิธีสอนตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ |
Other Titles: | A comparison of achievement in science process skill of prathom suksa six students learned by the project method and method designed by the Ministry of Education |
Authors: | ดวงจิต สุขสุเมฆ |
Advisors: | วรสุดา บุญยไวโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Vorasuda.B@chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเปรียบเทียบความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบโครงการและเรียนตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2527 สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนแบบโครงการ แบบทดสอบความรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสนใจทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยได้ทดสอบนักเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสนใจทางวิทยาศาสตร์ และได้ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองด้วยแผนการสอนโครงการ ส่วนกลุ่มควบคุมให้ครูผู้สอนเดิมเป็นผู้สอนตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อสอนครบตามเนื้อหาที่กำหนดแล้ว ผู้วิจัยได้ทดสอบนักเรียนด้วยแบบวัดทั้งสองฉบับอีกครั้ง แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที่ ผลการวิจัย 1.ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสนใจทางวิทยาศาสตร์ก่อนทดลองสอนนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2.ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ภายหลังการทดลองสอนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3.ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ภายหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับมีนัยสำคัญ .05 4.ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการเรียนด้วยวิธีสอนแบบโครงการของนักเรียนกลุ่มทกลองแตกต่างกันที่ระดับมีนัยสำคัญ .05 5.ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการเรียนด้วยวิธีสอนแบบโครงการของนักเรียนกลุ่มทดลองแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the achievement in science process skill and interest of Prathom Suksa Six students learned by the Project Method and Method designed by the Ministry of Education. The samples were 40 students of Prathom Suksa six in the academic year 1984 from the Bankok Metropolitan Administration. The students were devided into experimental group and controlled group with equal in size and The Science knowledge Achievement. There were 20 students in each group. The strumpets were Project Method lesson plans, Pratho Suksa six Science Knowledge test, Science Process Skill test and Science Interest test. Both sample groups were pretested by Science Process Skill test and Science Interest test. The researcher herself had taught the experimental group with the Project Method Lesson plans, while as the controlled group was taught by their own teacher with the Method by the Ministry of Education. After learning through the contests and limited time, the students were post tested with the two tests. Scores were canalized by/mean, standard deviation and t-test. Results: 1.Before teaching, the achievement in Science process Skill and Science Interest between the experimental and the controlled group was not significantly different at the .05 level. 2. After teaching, the achievement in Science process Skill between two groups was not significantly different at the .05 level. 3. After teaching, the Science Interest between two groups was not significantly different at the .05 level. 4. The achievement and after Science Process Skill of the experimental group before and after learning by using Project Method was significantly different at the .05 level. 5. The Science Interest of the experimental group before and after learning by using the Project Method was significantly different at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18622 |
ISBN: | 9745643823 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Doungjit_Su_front.pdf | 374.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doungjit_Su_ch1.pdf | 396.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doungjit_Su_ch2.pdf | 859.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doungjit_Su_ch3.pdf | 347.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doungjit_Su_ch4.pdf | 254.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doungjit_Su_ch5.pdf | 317.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doungjit_Su_back.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.