Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18742
Title: ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: The Effectiveness of nursing interventions for prevention of oral mucositis in cancer patients receiving chemotherapy : a meta - analysis
Authors: สุกัญญา โระอีน
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: มะเร็ง -- ผู้ป่วย
มะเร็ง -- การพยาบาล
การวิเคราะห์อภิมาน
เคมีบำบัด
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับเคมีบำบัด 2) ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับเคมีบำบัด 3) วิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับเคมีบำบัด โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์ และรายงานการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2528-พ.ศ. 2553 จำนวน 30 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Borenstein et al. (2009) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 185 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในประเทศส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (70.00%) ในสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ (60.00%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2550 (50.00%) แบบแผนการวิจัยแบบ กึ่งทดลอง (70.00%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดีมาก (83.55%) ต่างประเทศรายงานทีนำมาสังเคราะห์เป็นรายงานการวิจัย (100.00%) ในสาขาการแพทย์ (70.00%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2003 - ค.ศ. 2007 (40.00%) แบบแผนการวิจัยแบบทดลองเกือบทั้งหมด (95.00%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดับดี (92.9%) การปฏิบัติการพยาบาลที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ Locally applied non-pharmacological method (23.34%) รองลงมาเป็นการปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสาน (16.67%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบ ด้านอื่นๆ ได้แก่ การใช้กลีเซอรีนพญายอให้ค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย (d = 2.50) รองลงมา คือ การปฏิบัติการพยาบาลด้านสารต้านอนุมูลอิสระ(Anti-oxidant) ได้แก่ การใช้ zinc sulfate ให้ค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย (d = 2.35) และการปฏิบัติการพยาบาลด้านการดูแลช่องปาก (Oral care) ให้ค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย (d = 2.09) 3. ตัวแปรในโมเดลที่ 1 คือ คุณลักษณะงานวิจัยด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัยร่วมกันพยากรณ์ค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ ร้อยละ 45.00 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.671 เมื่อเพิ่มชุดตัวแปรในโมเดลที่ 2 คือ คุณลักษณะงานวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ค่าขนาดอิทธิพลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.50 ตัวแปรระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดลอง และระยะเวลาในการปฏิบัติการพยาบาลแต่ละครั้ง มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเพิ่มตัวแปรในโมเดลที่ 3 คือ คุณภาพงานวิจัย ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ค่าขนาดอิทธิพลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.40 โดยมีเพียงตัวแปรระยะเวลาทั้งหมดในการทดลอง และระยะเวลาในการปฏิบัติการพยาบาลแต่ละครั้งมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this meta analysis were 1) to study methodological and substantive characteristics of nursing interventions for prevention of oral mucositis in cancer patients receiving chemotherapy; 2) to compare the effect size of nursing interventions for prevention of oral mucositis in cancer patients receiving chemotherapy ; and 3) to study the influences of methodological and substantive characteristics on effect sizes. Thirty studies conducted in Thailand and International publications during 1985-2010 were recruited. Studies were analyzed for general, methodological, and substantive characteristics. Effect sizes of each study were calculated using the method of Borenstein, et al., (2009). This meta analysis yielded 185 effect sizes. Results were followings: 1. The majority of these studies in Thailand were Master ,s thesis (70.00%), in field of Adult nursing (60.00%). Almost half of these studies were published between 2003-2007 (50.00%). Quasi experimental study were mostly used in the research studies, and more than half of them were at very good quality. The international studies were journal (100.00%), in field of medicine (70.00%). Almost half of these studies were published between 2003-2007 (40.00%). Randomized study were mostly used in the research studies, and more than half of them were good quality. Locally applied non-pharmacological method for prevention of oral mucositis was the most studies, and the second is integrates of intervention (16.67%). 2. Nursing interventions has moderate affected on prevention of oral mucositis. Glycerin payayor had the largest effect size on affective domain (d = 2.50). Zinc sulfate had the secondly larges affective domain (d = 2.35) and oral care had larges effect size on affective domain (d = 2.09). 3. Model 1 including substantive characteristics can explain 45.00% of variance in effect size, when adding model 2 which are methodological characteristics increase variance explaining for 19.50%, and finally when adding model 3 which are research quality variables can increase variance explaining for 6.40%
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18742
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1766
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1766
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sukanya_ro.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.