Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18782
Title: ผลของนโยบายส่งเสริมการลงทุน ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2544) ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่มีต่อตลาดแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Other Titles: The results of BOI policies No.3/2544 of Board of Investment on the labour market in the upper-Northeastern region
Authors: อรอรุณ สิทธิ
Advisors: พนิต ภู่จินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Panit.P@Chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมการลงทุน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ตลาดแรงงาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Investment promotion -- Thailand, Northeastern
Labor market -- Thailand, Northeastern
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์ผลของนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขต 3 พิเศษ ที่มีต่อตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI และใช้พื้นที่ดังกล่าวในการอธิบายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในช่วงก่อนและหลังได้รับสิทธิประโยชน์ เขตส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษ การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์นโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานของระดับประเทศ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้ข้อมูลต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ มูลค่าเงินลงทุน อัตราการจ้างงาน เป็นต้น และได้วิเคราะห์ลักษณะอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อสรุปหาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษมากที่สุดโดยวิเคราะห์จากจำนวนโรงงาน จำนวนแรงงานและจำนวนเงินลงทุน ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้ใช้วิธีการทางสถิติ คือ การวิเคราะห์ตารางไขว้ (crosstab) และการหาค่า สหสัมพันธ์ (correlation) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดที่มีการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทำให้ตลาดแรงงานในจังหวัดมหาสารคามมีการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์แรงงาน คือมีความต้องการแรงงานภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยลักษณะแรงงานที่ต้องการคือ ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุ การศึกษารับตั้งแต่ระดับประถมขึ้นไป ต้องการแรงงานในตำแหน่งตัดเย็บมากที่สุด ได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ศึกษายังคงมีความต้องการแรงงานเพิ่ม จำนวน 3,000 อัตรา เนื่องจากในปัจจุบันแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปนั้น แรงงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 25-31 ปี จบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาและเป็นแรงงานที่ปฎิบัติงานในตำแหน่งตัดเย็บ ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันคือ 154 บาท ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้เป็นเพียงกลุ่มอุปทานส่วนหนึ่งของพื้นที่ เท่านั้น สาเหตุที่อุปทานแรงงานในพื้นที่ไม่ได้เข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด เนื่องจากค่าแรงที่ได้รับค่อนข้างถูก ทำให้ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับแรงงานได้ แรงงานในอุตสาหกรรมนี้ จึงเป็นเพียงแรงงานที่สามารถเดินทางมายังโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างสะดวก นอกจากนี้อุปทานแรงงานส่วนหนึ่งก็เลือกที่จะไปทำงานยังพื้นที่อื่น ที่ได้รับค่าตอบแทนมากกว่า เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงเป็นสาเหตุให้ในพื้นที่ศึกษายังคงขาดแคลนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
Other Abstract: To analyze the impact of BOI Policy No. 3/2544 on the Upper-Northeastern of Thailand. it is started from identifying the areas and industries affected by BOI-incentives . Then the labor market changes, before and after being granted BOI incentives are analyzed. it begins with data collecting process which several related data such as Gross Domestic Product (G.D.P) and employment rate are collected. The characteristics of industry sector in the upper northeastern area are analyzed to identify the province that has the highest concentration resulted by BOI-incentives based on the number of factories and workers as well as investment value. To find the results, the statistic methods, which are crosstab and correlation are performed. In conclusion, Mahasarakham province gets the most industrial impacts from the BOI incentives because of additional incentives from the province itself and the large number of labor surplus. Several garment industries applied for BOI incentives and established their production factories in this province. On labor demand-side, those factories require semi-skilled workers with at least elementary school education. However, from focus group interview, the current workers in those factories are 25-31 years old women with elementary and high school level. They live in the commuting distance from the factories, and get 154 baht per day. Unfortunately, there are still more than 3,000 available jobs waiting for the workers because the spatial limitation of labor force and the low competitiveness of wage comparing with the other industrial location in Thailand. As the result, Mahasarakham province has the problem of labor shortages in the garment industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18782
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.430
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.430
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
onaroon_si.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.