Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18807
Title: ลักษณะเด่นของกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
Other Titles: The Predominant Characteristics of Prince Thammathibet's Kap Ho Khlong and Kap He Rua
Authors: นิตยา ตันทโอภาส
Advisors: คมคาย นิลประภัสสร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ธรรมธิเบศร์, เจ้าฟ้า, 2258-2298
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาพระนิพนธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรโดยละเอียด เพื่อหาลักษณะเด่นและสุนทรียภาพในบทพระนิพนธ์ตลอดจนศึกษาลักษณะนิราศ อันช่วยเสริมให้บทพระนิพนธ์ดังกล่าวได้รับยกย่องให้เป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยม ผู้วิจัยแบ่งวิทยานิพนธ์ออกเป็น 6 บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจค้นคว้าและเรียบเรียงวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ บทที่สอง กล่าวถึงเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกับพระนิพนธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือ ช่วงแรกผู้วิจัยกล่าวถึงพระประวัติโดยสังเขป และวิจารณ์ว่าพระนิสัยบางประการมีอิทธิพลต่อบทพระนิพนธ์เพียงไรช่วงที่สองบรรยายความเป็นมาและแผนผังของคำประพันธ์ประเภทกาพย์และโคลง ตลอดตนข้อสันนิษฐานของผู้รู้เกี่ยวกับกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือ บทที่สาม ว่าด้วยลักษณะนิราศในกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ผู้วิจัยได้เสนอความเห็นว่า ลักษณะนิราศมีส่วนทำให้พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็นที่เลื่องลือจับใจผู้อ่านมาทุกสมัย บทที่สี่ว่าด้วยสุนทรียภาพในกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ผู้วิจัยได้เสนอข้อคิดว่าสุนทรียภาพประการหนึ่งคือ ลักษณะสัมผัสเด่นทั้งประเภทสระและประเภทพยัญชนะในกาพย์และโคลง สุนทรียภาพอีกประการหนึ่ง คือการที่ทรงเลือกสรรคำ สำนวน ตลอดจนโวหารเปรียบเทียบได้เหมาะสม แสดงให้เห็นถึงพระลักษณะพิเศษของพระองค์เอง บทที่ห้าว่าด้วยจินตนาการและอารมณ์สะเทือนใจในกาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ผู้วิจัยเสนอความเห็นว่า ทรงใช้จินตนาการที่ไม่ซับซ้อนแต่ให้อารมณ์สะเทือนอันเนื่องมาจากการที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงพระนิพนธ์ได้อย่างดี บทที่หก เป็นการสรุปงานวิจัยพร้อมข้อเสนอแนะ ในการเขียนวิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยมิได้ใช้ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เลือกมาใช้เท่าที่เห็นว่าเหมาะสม และยึดแนวที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณทรงเรียกว่าเป็นการ “อ่านละเอียด” โดยเน้นศึกษาจากบทพระนิพนธ์กาพย์ห่อโคลง 2 เรื่องคือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารโศกและกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง และกาพย์เห่เรือ 1 เรื่อง คือ กาพย์เห่เรือ บทพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ตลอดจนศึกษาวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเขียนวิทยานิพนธ์นี้
Other Abstract: The author of this thesis intends to study in detail Prince Thammathibet’s Kap Ho Khlong and Kap He Rua to identify the prominent characteristics, the aesthetic value, and the “Nirat” Character of these highly-praised pieces of literature. The thesis is divided into six chapters. Chapter One, the introductory chapter, describes the influential factors which lead the author to conduct this detailed study. Chapter Two deals with Prince Thammathibet and his Kap Ho Khlong and Kap He Rua. The first section gives a brief biography of the Prince, showing how his own temperament has influenced his works. The second section gives the origin and history of the Kap and Khlong together with theories of scholars in this field. Chapter Three deals with the characteristics of Prince Thammathibet’s Kap Ho Khlong and Kap He Rua. It is proposed that the “Nirat’ characteristic has contributed much to the popularity of Prince Thammathibet’s writings for men of all times. Chapter Four deals with aesthetic character of Prince Thammathibet’s Kap Ho Khlong and Kap He Rua. The author proposed that the aesthetic value of these pieces of Literatures comes first of all from the rhyme of both vowels and consonants in both Kap and Khlong. Another factor of aesthetic value lies in the choice of words, expression and suitable comparisons which bring out very appropriately Prince Thammathibet’s own special characteristics. Chapter Five deals with the imagination and emotion of prince Thammathibet’s Kap Ho Khlong and Kap He Rua ; the author gives the opinion that the use of imagination which is not confusing but rather feeling, helps the reader to understand the poetry. Chapter Six gives the conclusion of the study and the author’s recommendations. In this thesis, no particular theory is used by the author. Rather, suitable theories are chosen and used at different times. The author follows Prince Bidyalankarana’s concept of thorough reading and emphasized Prince Thammathibet’s Kap He Rua and two pieces of Kap Ho Khlong namely “Kap Ho Khlong Praphat Than Sok” and “Kap Ho Khlong Praphat Than Thongdaeng” including other related literary works.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18807
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya_Ta_front.pdf345.15 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_ch1.pdf265.12 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_ch2.pdf434.63 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_ch3.pdf721.98 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_ch4.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_ch5.pdf492.32 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_ch6.pdf251.12 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ta_back.pdf267.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.