Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18819
Title: การเปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของครูพยาบาล และผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลเกี่ยวกับความร่วมมือ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บนหอผู้ป่วยให้กับนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: A comparison of expected and actual performance of nursing instructors and nursing administrators concerning cooperation on management of clinical learning experiences for student nurses
Authors: นงนาฏ จงธรรมานุรักษ์
Advisors: สมคิด รักษาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของครูพยาบาลและผู้บริหารฝ่ายพยาบาลเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บนหอผู้ป่วยให้กับนักศึกษาพยาบาล ตัวอย่างประชากรคือครูพยาบาลและผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล จำนวน 200 คน จากสถาบันการศึกษาและโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย ทบวงมหาวิทยาลัยและรัฐวิสาหกิจ การเลือกตัวอย่างประชากรใช้วิธีสุ่มแบบแยกประเภทเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและนำไปหาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังของครูพยาบาลและผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ระหว่างฝึกปฏิบัติงาน และภายหลังการฝึกปฏิบัติงานโดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันซึ่งยอมรับสมมุติฐานข้อที่ 1 แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า มี 9 ข้อ จาก 44 ข้อ ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ซึ่งอยู่ในขั้นเตรียมการ 4 ข้อ ระหว่างฝึกปฏิบัติงาน 5 ข้อ ส่วนในขั้นภายหลังการฝึกปฏิบัติงานไม่มีข้อใดที่แตกต่างกัน 2.คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือที่ปฏิบัติจริงในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บนหอผู้ป่วยให้กับนักศึกษาพยาบาลของครูพยาบาลและผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลได้เท่ากับ 3.24 และ 3.46 ตามลำดับ เมื่อรวมเป็นค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติจริงของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมดมีค่า 3.35 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง จึงปฏิเสธสมมุติฐานข้อที่ 2 3.คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือที่ปฏิบัติจริงตามความเห็นของครูพยาบาลและผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งครูพยาบาลมีความเห็นต่อการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้บนหอผู้ป่วยให้กับนักศึกษาพยาบาลโดยส่วนรวมมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล จึงปฏิเสธสมมุติฐานข้อที่ 3 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีข้อที่ความเห็นของครูพยาบาลแตกต่างกับผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลที่ระดับนัยสำคัญ .001, .01 และ .05 รวม 21 ข้อ จาก 44 ข้อ ซึ่งอยู่ในขั้นเตรียมการ 5 ข้อ ระหว่างฝึกปฏิบัติ 10 ข้อ และภายหลังฝึกปฏิบัติงาน 6 ข้อ 4.ความแตกต่างของคะแนนคาดหวังและการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บนหอผู้ป่วยให้กับนักศึกษาทั้งโดยส่วนรวมและรายข้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทุกข้อ และในทุกกลุ่มตัวอย่างคือ ครูพยาบาล ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล และรวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด จึงปฏิเสธสมมุติฐานข้อที่ 4
Other Abstract: The purpose of this research was to compare of the expectation and actual performance of nursing instructors and nursing administrators concerning cooperation on management of clinical learning experiences for nursing students. The research population were nursing instructors and nursing administrators from the hospitals and nursing schools in Bangkok under the Ministry of Public Health, The Ministry of Defence, the Ministry of the Interior, Ministry of the University Affairs and State Enterprise. The sample groups selected by a stratified random sampling were 100 each of nursing instructors and nursing administrators. The questionnaire was developed by the researcher which had tested for content validity by ten professors. The data was analyzed by using statistical methods, there are arithmetic mean, standard deviation and t-test. The Major Finding: 1.With the arithmetic means, there was no statistically significant differences to the expectation of nursing instructors and nursing administrators on management of clinical learning experiences for nursing students. The first hypothesis was valid. After analyzing individual questions, there were nine, four on preparation and five on practical training for nursing students, out of forty-four questions which had same significance in the proportion of .01 and .05 respectively. 2.As a result, the scores of the management of clinical learning experiences were 3.24 and 3.46 respectively. But 3.35 was for the total population. This meant the second hypothesis was insignificant. 3.As a result, the scores of the agreement comments from the instructors and administrators were significant at the proportion of .01. This was agreeable for the instructors with the management of clinical learning experiences. Therefore, the third hypothesis was insignificant. After analyzing individual questions, there were twenty-one, six on preparation, ten on practical training and five on concluding the clinical experience for nursing students, out of forty-four questions which had same significance in the proportion of .001, .01 and .05 respectively. 4.It was also insignificant for the fourth hypothesis that the scores of the expectations and management of clinical learning experiences were significant at .001 in each question and each sampling group of instructors, administrators and the total population.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18819
ISBN: 9745623946
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongnart_Jo_front.pdf362.25 kBAdobe PDFView/Open
Nongnart_Jo_ch1.pdf446.79 kBAdobe PDFView/Open
Nongnart_Jo_ch2.pdf874.92 kBAdobe PDFView/Open
Nongnart_Jo_ch3.pdf308.83 kBAdobe PDFView/Open
Nongnart_Jo_ch4.pdf894.77 kBAdobe PDFView/Open
Nongnart_Jo_ch5.pdf615.18 kBAdobe PDFView/Open
Nongnart_Jo_back.pdf731.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.