Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18826
Title: | การใช้บริการหนังสือสำรองของนักศึกษามหาวิทยาลัย |
Other Titles: | The University students' utilization of reserved book services |
Authors: | ทัศนีย์ จุลิกพงศ์ |
Advisors: | กล่อมจิตร พลายเวช ทวี รื่นจินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บริการหนังสือจอง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบริการหนังสือสำรอง และเพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อบริหารหนังสือสำรองของห้องสมุดมหาวิทยาลัย วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าจากหนังสือ และวารสารสัมภาษณ์บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบบริการหนังสือสำรองของห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัย ๑๐ แห่ง และแจกแบบสอบถามให้แก่นักศึกษาชั้นปริญญาตรีผู้ใช้บริการหนังสือสำรองของห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัย ๕๐๐ คน ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน ๕๐๐ ฉบับ หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามนำมาเสนอในรูปของร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักศึกษามีความเห็นว่า อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ที่ให้บริการหนังสือสำรองมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง แต่จำนวนที่นั่งสำหรับนั่งอ่านหนังสือสำรองมีความเหมาะสมในระดับน้อย การให้บริการหนังสือสำรอง/นักศึกษามีความเห็นว่า หนังสือสำรองช่วยนักศึกษาในการเรียนได้ในระดับดีมาก/ ส่วนจำนวนหนังสือที่ให้ยืมต่อครั้ง ระยะเวลาที่ให้ยืมหนังสือ ค่าปรับหนังสือสำรองทีส่งช้ากว่ากำหนด เวลาเปิดปิดบริการ ระเบียบการชดใช้หนังสือสำรองที่หาย ความสะดวกในการติดต่อขอยืมหนังสือสำรอง ความเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่ และการจัดหนังสือแบบชั้นปิด มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง แต่มีความเห็นว่าห้องสมุดจัดหนังสือสำรองไว้บริการจำนวนน้อยและมีหนังสือตรงกับความต้องการของนักศึกษาในระดับน้อย ทางด้านความพอใจในบริการของหนังสือสำรองนั้น นักศึกษามีความพอใจปานกลางต่อการจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือสำรองแยกตามรายวิชา แต่มีความพอใจในระดับน้อยต่อการประชาสัมพันธ์ การแนะนำหนังสือสำรองใหม่ๆ การจัดทำบรรณนิทัศน์ นักศึกษามีความต้องการในระดับมากที่จะให้ห้องสมุดจัดแยกบริการหนังสือสำรองในโอกาสที่เหมาะสม จัดที่นั่งอ่านหนังสือสำรองไว้โดยเฉพาะ และจัดนิทรรศการหนังสือสำรองในโอกาสที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะต่อห้องสมุด บริการหนังสือสำรองจะสมบูรณ์มากขึ้น ถ้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงสิ่งต่อไปนี้คือ เพิ่มจำนวนหนังสือให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ แยกบริการหนังสือสำรองออกเป็นสัดส่วนต่างหาก แก้ไขระเบียบการยืมหนังสือสำรอง ทำสำเนาสำหรับหนังสือสำรองที่นักศึกษาใช้มาก และการประชาสัมพันธ์บริการหนังสือสำรองให้มากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะต่ออาจารย์ อาจารย์ควรให้ความร่วมมือในการเสนอรายชื่อหนังสือสำรองก่อนเปิดภาคการศึกษาเพื่อให้ทางห้องสมุดจัดเตรียมหนังสือสำรองไว้บริการได้ทันต่อความต้องการของนักศึกษา |
Other Abstract: | The objectives of the research thesis are as follow : to survey the students’ opinions and degree satisfaction on Reserved Book Services, and to study the students’ needs towards the Reserved Book services of University’s central library. Research methodology is based on the collecting of secondary data from various texts and periodicals. However, primary data were adopted librarians or those who held responsibility on Reserved Book Services were interviewed ; 500 questionnaires being distributed to undergraduate students using Reserved Book Services of University’s central libraries. 500 questionnaires were obtained or 100 percent of the distributed questionnaires. Data from questionnaires were analyzed and presented in the form of percentage and average means. The research findings are as follow : appropriateness of material and building section of Reserved Book Services were rated as “medium” but number of seats were rated as “low”. Reserved Book help to enhance students learning progress. The appropriateness of book loan, Procedure and ease of contacting Reserve book Services personnels and close-shelf arrangement were rated as “medium. Students opinions revealed that number of books provided in the Reserved Book Collection were insufficient and could not cater to their need. Students’ satisfaction were rated “medium“ on index and subject categorized but new reserved book introduction, information and annotation were rated “low” . There is also a high demand for separated Reserved Book Section, special reading seat allocation and reserve books display on special occasion. Recommendation to libraries Reserved Book Services will yield more completeness if the following aspects are put into action; i.e. increasing the quantity of reserved books to cover the users’ demand; setting the reserved Book Services out of other Library Services ; improving of Reserved Book Services regulations ; reprographing of the highly demand reserved book ; and putting more effort in Public Relationship. Recommendation to lectures Lectures should cooperate with library by submitting a list of reference for reserved before each semester started. Thus the preparation of reserved books can be catered to students’ need. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18826 |
ISBN: | 9745634255 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tasanee_Ch_front.pdf | 434.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Ch_ch1.pdf | 529.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Ch_ch2.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Ch_ch3.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Ch_ch4.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Ch_back.pdf | 560.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.