Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18925
Title: | การแสดงออกทางอารมณ์ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันของนักเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของตนเอง |
Other Titles: | Emotional expressions in different situations of matthamyom suksa sutdents as perceived by themselves |
Authors: | วิภาดา แซ่ตัง |
Advisors: | ชุมพร ยงกิตติกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chumporn.Y@Chula.ac.th |
Subjects: | อารมณ์ นักเรียน -- วิจัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาระดับความเข้ม และพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์โกรธ ดีใจ และเสียใจของนักเรียนมัธยมศึกษา เมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ เมื่อยู่ต่อหน้าเพื่อน เมื่ออยู่ต่อหน้าคนแปลกหน้า และเมื่ออยู่ตามลำพัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ 2 และมัธยมปีที่ 5 จากโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นนักเรียนชาย 252 คน และนักเรียนหญิง 252 คน รวมจำนวนทั้งหมด 504 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างเป็นเรื่องสั้นเร้าอารมณ์โกรธ ดีใจ และเสียใจ อารมณ์ละ 1 เรื่อง แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นของนักเรียน และตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับระดับความเข้ม และพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำของระดับความเข้มของการแสดงออกทางอารมณ์ และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้สูตรของตูกี (เอ) คำนวณหาค่าร้อยละของพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ระดับความเข้มของการแสดงออกทางอารมณ์ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน พบว่า 1. นักเรียนมัธยมศึกษามีระดับความเข้มของการแสดงอารมณ์โกรธ แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ทั้งนี้นักเรียนมัธยมศึกษารับรู้ว่าตนจะแสดงอารมณ์โกรธออกมามากที่สุดเมื่ออยู่ตามลำพัง และแสดงอารมณ์โกรธออกมาลดน้อยลงไปตามลำดับเมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อน เมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ และเมื่ออยู่ต่อหน้าคนแปลกหน้า 2. นักเรียนมัธยมศึกษามีระดับความเข้มของการแสดงอารมณ์ดีใจ แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ทั้งนี้นักเรียนมัธยมศึกษารับรู้ว่าตนจะแสดงอารมณ์ดีใจออกมามากที่สุดเมื่อยู่ต่อหน้าเพื่อน และแสดงอารมณ์ดีใจออกมาลดน้อยลงไปตามลำดับเมื่ออยู่ตามลำพัง เมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ และเมื่ออยู่ต่อหน้าคนแปลกหน้า 3. นักเรียนมัธยมศึกษามีระดับความเข้มของการแสดงอารมณ์เสียใจ แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ทั้งนี้นักเรียนมัธยมศึกษารับรู้ว่าตนจะแสดงอารมณ์เสียใจออกมามากที่สุดเมื่ออยู่ตามลำพัง และแสดงอารมณ์เสียใจออกมาลดน้อยลงไปตามลำดับเมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อน เมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ และเมื่ออยู่ต่อหน้าคนแปลกหน้า พฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน พบว่า 1. เมื่อมีอารมณ์โกรธ นักเรียนมัธยมศึกษาจะพยายามควบคุมสีหน้าของตนเมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ ทั้งนี้เมื่ออยู่ตามลำพัง และเมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนเขาจะแสดงสีหน้าบึ้งตึงไม่พอใจ และกัดฟันด้วยความโมโห อย่างไรก็ตามเขาจะไม่แสดงพฤติกรรมการพูดคำหยาบ-ด่าทอและขว้างปาสิ่งของในทุกสถานการณ์ 2. เมื่อมีอารมณ์ดีใจ นักเรียนมัธยมศึกษาจะพยายามควบคุมสีหน้าของตนเมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ ทั้งนี้เมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนเขาจะแสดงพฤติกรรมที่สนุกสนาน อาทิเช่น มีสีหน้ายิ้มแย้ม ปรบมือ หัวเราะสนุกสนาน ตะโกนโห่ร้อง และกระโดดโลดเต้น อย่างไรก็ตามเขาจะไม่แสดงอาการร้องไห้ออกมาในทุกสถานการณ์ 3. เมื่อมีอารมณ์เสียใจ นักเรียนมัธยมศึกษาจะพยามยามควบคุมสีหน้าของตนเมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่-ครูอาจารย์ ทั้งนี้เมื่ออยู่ตามลำพังเขาจะแสดงสีหน้าเศร้า-หดหู่ และพูดระพึงรำพัน อย่างไรก็ตามเขาจะไม่แสดงพฤติกรรมการพูดตีโพยตีพาย และร้องไห้ในทุกสถานการณ์ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to study the intensity and the manifestation of emotions of anger, happiness and sorrow of students in Matthayom Suksa when facing parents-teachers, friends, strangers and when alone. The samples were drawn from Matthayom suksa 2 and Matthayom suksa 5 students in Bangkok public secondary schools: 252 male students and 252 femal students for a total of 504 subjects. The instrument used for this study was developed by the researcher : it included three short stories followed by questionnaires. The questionnaires were divided into two parts: the first part asked about emotions existing in the students and the second part asked about the intensity and the manifestation of emotions. Data were analysed through the one way ANOVA, multiple comparison using the Tukey (a) formula on intensity of emotional expressions and percentages for manifestations of emotions. The results of the study were as follows: As for the intensity of emotional expressions in different situations it was found that: 1. The intensity of emotional expressions of anger of matthayom suksa students varied in different situations. When alone, they expressed the most intensed expression of anger. The intensity of expression of anger decreased in each situation, respectively, when facing friends, parent-teachers and strangers. 2. The intensity of emotional expressions of happiness of matthayom suksa students varied in different situations. When facing friends, they expressed the most intensed expression of happiness. The intensity of expression of happiness decreased in each situation, respectively, when alone, when facing parents-teachers and strangers. 3. The intensity of emotional expressions of sorrow of matthayom suksa students varied in different situations. When staying alone, they expressed the most intensed expression of sorrow. The intensity of expression of sorrow decreased in each situation, respectively, when facing friends, parents-teachers and strangers. As for manifestation of emotional expressions in different situations it was found that 1. In situations of anger, when facing parents-teachers, the matthayom suksa tried to control their facial expressions. When alone and when facing friends, they tightened their teeth with anger and made unsatisfactory face, however, they did not use unsuitable words nor did they throw things in all situations. 2. In situations of happiness, when facing parents-teachers, the matthayom suksa students tried to control their facial expressions. When facing friends, they expressed joyous behavior such as smilling, clapping, 3. In situations of sorrow, when facing parents-teachers, the matthayom suksa students tried to control their facial expression. When alone, they looked sad and mournful; however, they did not attack of hysteria nor did they cry in all situations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18925 |
ISBN: | 9745661341 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wipada_Sa_front.pdf | 630.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipada_Sa_ch1.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipada_Sa_ch2.pdf | 415.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipada_Sa_ch3.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipada_Sa_ch4.pdf | 630.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipada_Sa_ch5.pdf | 408.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipada_Sa_back.pdf | 573.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.