Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18943
Title: ผลของจิตบำบัดด้วยการเล่นที่มีต่อช่วงความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องในการทำงานของเด็กป่วยเรื้อรัง ในโรงพยาบาล : การศึกษาเฉพาะกรณี
Other Titles: Effects of play therapy on attention span, amount and accuracy of work of chronic hospitalized children : a case study
Authors: สิรีรัตน์ จารุจินดา
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chumporn.Y@Chula.ac.th
psy@chula.ac.th
Subjects: จิตบำบัด
การรักษาด้วยการเล่น
จิตเวชศาสตร์เด็ก
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาผลของจิตบำบัดด้วยการเล่นที่มีต่อช่วงความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องของงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชายและเด็กหญิง จำนวน 6 คน อายุ 7-9 ปี ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เด็กเหล่านี้อยู่ในโรงพยาบาลก่อนได้รับการทดลองมาแล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และจะอยู่ในโรงพยาบาลต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ช่วยวิจัยได้ทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานทั่วไปของเด็กแล้วจึงนำเด็กที่ผ่านกรทดสอบนี้มาวัดช่วงความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องของงาน กลุ่มตัวอย่างนี้ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง 3 คน กลุ่มควบคุม 3 คน กลุ่มทดลองได้รับจิตบำบัดด้วยการเล่นร่วมกันกับการได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเพียงแต่การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ตามปกติเท่านั้น เมื่อครบ 2 สัปดาห์จึงวัดช่วงความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องของงานเด็กซ้ำอีกครั้ง ผลจากการทดสอบ พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับจิตบำบัดด้วยการเล่นร่วมกับการได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ตามปกติมีช่วงความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องของงานในช่วงหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าเดิม ส่วนกลุ่มควบคุมที่ได้รับเพียงการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ตามปกติ มีเด็ก 1 คนที่มีความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องของงานในช่วงหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าเดิม และมีเด็ก 2 คน ที่มีช่วงความสนใจ ปริมาณงาน และความถูกต้องของงานในช่วงหลังการทดลองต่ำลงกว่าเดิม
Other Abstract: The objective of this research was to study the effect of play therapy on attention span, amount and accuracy of work of chronic hospitalized children. The sample consisted of six boys and girls, aged 7-9 years, who had been hospitalized at least 1 week before this study began and who were supposed to stay for another 2 weeks. The research assistant tested these children’s basic development abilities. Six children who passed the basic development abilities tests were measured attention span, amount and accuracy of work. These children were divided into 2 groups, i.e., the experimental and control groups. Each group included 3 children. The experimental group received play therapy as well as participated in the recreational activities provided by the hospital. The control group was allowed to participate in the routine recreational activities as provided by the hospital. After 2 weeks, The research assistant measured the children’s attention span, amount and accuracy of work. The result is that the experimental group showed higher attention span, amount and accuracy of working performance in the post-test than those in the pre-test. In the control group, there was only one child who showed higher attention span, amount and accuracy of working performance in the post-test than those in the pre-test, and there were two children who showed lower attention span, amount and accuracy of working performance in the post-test than those in the pre-test.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18943
ISBN: 9745640492
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sireerat_Ch_front.pdf414.55 kBAdobe PDFView/Open
Sireerat_Ch_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Sireerat_Ch_ch2.pdf507.74 kBAdobe PDFView/Open
Sireerat_Ch_ch3.pdf756.28 kBAdobe PDFView/Open
Sireerat_Ch_ch4.pdf624.53 kBAdobe PDFView/Open
Sireerat_Ch_ch5.pdf318.64 kBAdobe PDFView/Open
Sireerat_Ch_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.