Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18964
Title: การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Development of a social intelligence scale for undergraduate students
Authors: คณิตพันธุ์ ทองสืบสาย
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.K@Chula.ac.th
Subjects: การวัดผลทางการศึกษา
การศึกษา -- แบบทดสอบ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติวิสัย (norms) สำหรับใช้กับแบบวัดความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1307 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความฉลาดทางสังคมประกอบด้วยแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า มีรูปแบบการตอบเป็นแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ และแบบวัดสถานการณ์มีรูปแบบการตอบเป็นตัวเลือก จำนวน 3 ตัวเลือก โดยแบบวัดทั้ง 2 ชนิด มีเนื้อหาครอบคลุมองค์ประกอบของความฉลาดทางสังคมซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน และ 8 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีตัวบ่งชี้ 4 ตัวบ่งชี้ คือ การเข้าใจความรู้สึกของบุคคล การให้ความสนใจผู้อื่น การเกิดความถูกต้องในการเข้าใจบุคคลอื่น การรับรู้ทางสังคม และ 2) องค์ประกอบด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มี 4 ตัวบ่งชี้ คือ ความสามารถในการเข้าร่วมกับบุคคล ความสามารถในการแสดงตนเอง ความสามารถในการชี้นำพฤติกรรมของบุคคล ความสามารถในการคำนึงถึงผู้อื่น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าความสามารถในการจำแนก และค่าความเที่ยงของแบบวัดความฉลาดทางสังคมโดยใช้โปรแกรม B-Index และ SPSS for Windows และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสร้างแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต พบว่า ได้แบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางสังคมชนิดมาตรประมาณค่า มีจำนวนข้อคำถาม 59 ข้อ และแบบวัดความฉลาดทางสังคมชนิดสถานการณ์ มีจำนวนข้อคำถาม 43 ข้อ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต พบว่า แบบวัดความฉลาดทางสังคมชนิดมาตรประมาณค่า มีค่าความสามารถในการจำแนก 0.68-8.66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าความเที่ยงของแบบวัดแยกแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.76 ส่วนด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.79 และเมื่อพิจารณาทั้งฉบับ พบว่า มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 ส่วนแบบวัดความฉลาดทางสังคมชนิดสถานการณ์ มีค่าความสามารถในการจำแนกอยู่ระหว่าง 0.00-10.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าความเที่ยงของแบบวัดแยกแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.73 ส่วนด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.83 และเมื่อพิจารณาทั้งฉบับ พบว่า มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 เมื่อรวมข้อคำถามจากแบบวัดทั้งสองฉบับ พบว่ามีความเที่ยงรวมทั้งสองฉบับ เท่ากับ 0.90 และแบบวัดความสามารถมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง 3. การสร้างเกณฑ์ปกติในการแปลความหมายคะแนนโดยการแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานที พบว่า แบบวัดความฉลาดทางสังคมชนิดมาตรประมาณค่ามีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T16-T82 แบบวัดความฉลาดทางสังคมชนิดสถานการณ์มีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T16-T84 และเมื่อพิจารณาแบบวัดความฉลาดทางสังคมทั้งสองชนิด พบว่า มีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T16-T84
Other Abstract: The purposes of this research are 1) to develop a social intelligence scale for undergraduate students, 2) to assess the quality of a social intelligence scale, and 3) to provide criteria for national norms using the social intelligence scale to measure social intelligence among undergraduate students. The samples cover 1307 1st-3rd year undergraduate students in academic year 2009. The research instruments are 2 social intelligence scale including, which are a rating scale and a situation test developed by the researcher. Data are analyzed by B-index SPSS and confirmatory factor analysis through LISREL. The research results are divided as follows: 1. The social intelligence scale with rating scale consists of 59 question items and the situation test consists of 43 question items. 2. The results of the discrimination and the reliability analysis of the rating scale and situation tests forms by the Classical Test Theory show that the rating scale providing discrimination were 0.68-8.66 respectively at the 0.01 significant level, and the rating scale provided Cronbach's alpha reliability coefficient were 0.86. The situation tests with the discrimination were 0.00-10.77 respectively at the 0.01 significant level, and the situation tests providing Cronbach's alpha reliability coefficient were 0.87. There was a construct validity proof by the second order confirmatory factor analysis. 3. The national norms of the rating scale are in the range of T16-T82, respectively. The national norms of the situation tests are in the range of T16-T84, respectively, whereas the national norms of the rating scale and situation tests in the range of T16-T84, respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18964
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.705
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.705
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanitpan_to.pdf68.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.