Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19017
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิจิตร เกิดวิสิษฐ์ | - |
dc.contributor.author | สุจิตรา อ่อนค้อม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-06T05:12:11Z | - |
dc.date.available | 2012-04-06T05:12:11Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19017 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาทรรศนะเกี่ยวกับความสุขในพุทธปรัชญา เพื่อที่จะได้ทราบชัดว่า พุทธปรัชญามีทรรศนะเกี่ยวกับความสุขซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาว่าอย่างไร พุทธปรัชญาอธิบายว่าชีวิตตามสภาพที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นทุกข์ จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่าพุทธปรัชญามองโลกในแง่ร้าย เป็นทุนิยม (pessimism) แต่ตามความเป็นจริงพุทธปรัชญามิได้มีลักษณะเป็นทุนิยมแต่ประการใด ดังจะเห็นได้จากการที่พุทธปรัชญาแสดงความสุขและปฏิปทาเพื่อเข้าถึงความสุขไว้อย่างสมบูรณ์ อันเป็นเครื่องยืนยันว่า พุทธปรัชญามิได้มองโลกในแง่ร้าย ผู้วิจัยได้พบว่าพุทธปรัชญาแบ่งความสุขออกเป็นสองประเภทคือ โลกียสุข กับโลกุตตรสุขและความสุขทั้งสองประเภทนี้ยังแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ กัน ระดับต่ำสุดได้แก่กามสุข และระดับสูงสุดได้แก่นิพพานสุข ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา ธรรมชาติของจิตมีหลายระดับ ดังนั้นจึงแสดงความสุขซึ่งบุคคลสามารถเข้าถึงได้ไว้หลายระดับที่แตกต่างกัน เมื่อได้แบ่งความสุขออกเป็นระดับต่าง ๆ กันแล้ว พุทธปรัชญาก็ได้เสนอปฏิปทา เพื่อเข้าถึงความสุขอันเหมาะสมแก่ความสุขแต่ละระดับ ปฏิปทาดังกล่าวแบ่งเป็นสองแบบ คือ (1) ใช้ระดับของบุคคลเป็นเกณฑ์ โดยแบ่งเป็นปฏิปทาสำหรับฆราวาส และปฏิปทาสำหรับบรรพชิต (2) ใช้ระดับของความสุขเป็นเกณฑ์โดยแบ่งเป็นปฏิปทาเพื่อเข้าถึงกามสุข ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงฌานสุข และปฏิปทาเพื่อเข้าถึงนิพพานสุข ความสุขในระดับต่าง ๆ และปฏิปทาเพื่อเข้าถึงความสุขมีอยู่จริง ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างผู้เข้าถึงความสุข ซึ่งได้พบว่ามีบันทึกไว้มากมายในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ผลจากการวิจัยทำให้เราทราบว่า ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา ความสุขระดับนิพพานสุข เป็นความสุขสูงสุดของชีวิต เป็นความสุขที่เป็นผลโดยตรงของการดับกิเลสาสวะ ซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง เป็นความสุขที่ผู้มุ่งความดีสูงสุดตามคำสอนของพระพุทธศาสนา สามารถเข้าถึงได้แม้ในชีวิตปัจจุบันด้วยการดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทาหรืออริยมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและวางไว้เป็นหลักปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน ผลจากการวิจัยทำให้เราทราบว่า ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา ความสุขระดับนิพพานสุข เป็นความสุขสูงสุดของชีวิต เป้นความสุขที่เป็นผลโดยตรงของการดับกิเลสาสวะ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง เป้นความสุขที่ผู้มุ่งความดีสูงสุดตามคำสอนของพระพุทธศาสนา สามารถเข้าถึงได้แม้ชีวิตในปัจจุบันด้วยการดำเนินตามมัชฌิมาปฎิปทาหรืออริมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและวางไว้เป็นหลัก ปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน | - |
dc.description.abstractalternative | The aim of this thesis is to study the concept of happiness in Buddhist Philosophy. Buddhism is of the view that life in its natural process is suffering. People tend to bring accusation against this concept that it is pessimistic. In fact, Buddhist Philosophy is not at all pessimistic. This is because there are various levels of teachings about happiness and different ways leading to the attainment of happiness. According to my research, it is found that Buddhist Philosophy divides happiness into two kinds : mundane and supramundane level, each of which can be further divided into distinctive levels, the lowest being sensual happiness and the highest the happiness of Nirvana. According to Buddhist Philosophy, the nature of mental development can be divided into various levels, so the happiness that can be obtained has to be categorized as such. After dividing happiness into various levels as such, Buddhist Philosophy offers two kinds of ways for obtaining happiness. First, the one bases on the levels of mental development of the individuals, namely: ways for laymen and ways for monks. Second, the one bases on types of happiness, namely : ways of obtaining sensual happiness, ways of obtaining meditative happiness and ways of obtaining happiness of Nirvana. Happiness of various levels and ways for obtaining it actually do exist. There are many examples of those who had obtained such happiness found in Tripitaka or the Holy Three Baskets of Buddhism and its Atthakatha or Commentaries. The result of this research show that Buddhist Philosophy considers the happiness of Nirvana to be the highest. It is the state that defilements which are the causes of suffering are completely eradicated. It is the aim which one who wishes to attain the highest good in Buddhist teachings can obtain even in this very life by following the Middle Way of the Noble Eightfold Path that the Buddha discovered and expounded as a principle of practice for every Buddhist. | - |
dc.format.extent | 438954 bytes | - |
dc.format.extent | 329285 bytes | - |
dc.format.extent | 1225805 bytes | - |
dc.format.extent | 1401963 bytes | - |
dc.format.extent | 1838164 bytes | - |
dc.format.extent | 614617 bytes | - |
dc.format.extent | 370195 bytes | - |
dc.format.extent | 320406 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความสุข | en |
dc.subject | พุทธปรัชญา | en |
dc.title | ทรรศนะเรื่องความสุขในพุทธปรัชญา | en |
dc.title.alternative | The concept of happiness in Buddhist Philosophy | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchitra_On_front.pdf | 428.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_ch1.pdf | 321.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_ch2.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_ch3.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_ch4.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_ch5.pdf | 600.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_ch6.pdf | 361.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchitra_On_back.pdf | 312.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.