Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19095
Title: | การเปรียบเทียบระหว่างผลของการเดินออกกำลังกายแบบใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนักและไม่ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนักต่อการสลายของกระดูกและสุขสมรรถนะในหญิงวัยทำงาน |
Other Titles: | A comparison betaween the effects of walking exercise with and without weighted vests on bone resorption and health-related physical fitness in working women |
Authors: | นิศากร ตันติวิบูลชัย |
Advisors: | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Thanomwong.K@Chula.ac.th Pongsak.Y@Chula.ac.th |
Subjects: | การออกกำลังกาย การเดิน กระดูกพรุนในสตรี |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลของการเดินออกกำลังกายแบบใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนักและไม่ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนักต่อการสลายของกระดูก และสุขสมรรถนะ ในหญิงวัยทำงาน ในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีการสร้างการสลายของกระดูกในอัตราปกติ (NB) จำนวน 23 คน และกลุ่มที่มีการสร้างกระดูกและการสลายของกระดูกในอัตราสูงกว่าปกติ (HB) จำนวน 25 คน แล้วนำมาสุ่มเข้ากลุ่มแบบกำหนด (random assignment) ลงในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มทดลอง NB ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก (NBEW) จำนวน 12 คน กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มทดลอง HB ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก (HBEW) จำนวน 12 คน กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มควบคุม NB ไม่ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก (NBE) จำนวน 11 คน และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มควบคุม HB ไม่ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก (HBE) จำนวน 13 คน ทุกกลุ่มเดินบนลู่กล ที่ระดับความชัน 0 เปอร์เซ็นต์ ครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ที่ความหนัก 65-75 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยกลุ่มทดลองเริ่มใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก 2 % ของน้ำหนักตัว และเพิ่มน้ำหนักครั้งละ 2% ในทุกสัปดาห์ จนกระทั่งครบ 8% ของน้ำหนักตัว ทดสอบค่าการสร้างของกระดูก (P1NP) และการสลายของกระดูก ([beta]-crossLaps) ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ส่วนสุขสมรรถนะ ทำการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ ผลวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมและความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า 1.การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ 1 NBEW และกลุ่มที่ 2 HBEW) และกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ 3 NBE และกลุ่มที่ 4 HBE) หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า ค่าการสร้างและการสลายของกระดูก และสุขสมรรถนะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.การเปรียบเทียบก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ภายในกลุ่มที่มีการสร้างและการสลายของกระดูกในอัตราสูงกว่าปกติ (กลุ่มที่ 2 HBEW และกลุ่มที่ 4 HBE) พบว่า ค่าการสลายของกระดูกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง 24.17 % และ 25.31 % ตามลำดับ 3.การเปรียบเทียบก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ภายในกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ 1 NBEW และกลุ่มที่ 2 HBEW) และกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ 3 NBE และกลุ่มที่ 4 HBE) พบว่า มวลกล้ามเนื้อปราศจากไขมัน เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขน และขา และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า : การเดินออกกำลังกายแบบใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก และไม่ใส่เสื้อเพิ่มน้ำหนัก ในหญิงวัยทำงานมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการสร้างและการสลายของกระดูก และสุขสมรรถนะดีขึ้น จึงสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการออกกำลังกายของหญิงวัยทำงานทั่วไปได้ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare the effects of walking exercise with and without weighted vests on bone resorption and other health-related physical fitness in working women. Forty eight female personnels of Chulalongkorn University aged 30-60 years old voluntarily participated in the study. The subjects were categorized into two groups: normal bone turnover group: NB (n=23) and high bone turnover group: HB (n=25). Both groups were randomly assigned into four groups: the first group was the experimental NB group performing walking exercise wearing weighted vests (NBEW, n=12); the second group was the experimental HB group performing walking exercise wearing weighted vests (HBEW, n=12); the third group was the control NB group performing walking exercise without wearing weighted vests (NBE, n=11) and the fourth group was the control HB group performing walking exercise without wearing weighted vests (HBE, n=13). The treatment was a 30-minutes walking exercise on treadmill at 0 % of grade, 3 times per week for 12 weeks with an intensity of 65-75 % of subject’s maximal heart rate. The vest load was progressively increased each week starting from 2% of the body weight until it reached 8% of the body weight of each participant. Bone turnover was determined from P1NP (bone formation) and β-crossLaps (bone resorption) which were collected during the pre-test and post-test. Health-related physical fitness was measured during pre-test, mid-test (after 6 weeks) and post-test (after 12 weeks). The obtained data were analyzed in terms of mean and standard deviation, paired t-test, one way analysis of covariance, one way analysis of variance with repeated measure and multiple comparisons by using Least Significant Difference (LSD) at the .05 level. The results were as follow: 1.After 12 weeks of training, bone formation marker, bone resorption marker and health-related physical fitness had no significant difference between the experimental groups (NBEW and HBEW) and the control groups (NBE and HBE). 2.Before and after 12 weeks of training, bone resorption marker significantly decreased within high bone turnover group (HBEW and HBE), within group HBEW decreased of 24.17 %, and within group HBE decreased of 25.31 %.3.Before, after 6 weeks and after 12 weeks of training, health-related physical fitness: fat free mass, percent fat, flexibility, muscle strength and endurance of legs and arms, and maximum oxygen uptake in all groups were significantly changed. In conclusion: walking exercise with and without weighted vests can reduce bone resorption and improved health-related physical fitness. As a result, working women have more alternative exercise programs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19095 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.411 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.411 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nisakorn_ta.pdf | 12.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.