Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19100
Title: ผลของการสอนโดยกลุ่มเพื่อนและการสอน โดยกลุ่มเพื่อนร่วมกับการวางเงื่อนไขการเสริมแรงเป็นกลุ่ม ต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า
Other Titles: Effects of peer tutoring and peer tutoring with group contingency on acedemic achievement in mathemetics of prathomsuksa five students
Authors: สุดา เหลี่ยววิริยกิจ
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sompoch.I@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การเรียน
การเสริมแรง (จิตวิทยา)
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยกลุ่มเพื่อน และการสอนโดยกลุ่มเพื่อนร่วมกับการวางเงื่อนไขการเสริมแรงเป็นกลุ่มในการเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนวัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 75 คน ซึ่งนักเรียนในแต่ละห้องนี้เป็นเด็กที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนในระดับต่างๆ อยู่รวมกัน และความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้ง 3 ห้องนี้ไม่แตกต่างกัน จากนั้นจับสลากเพื่อกำหนดกลุ่มทดลองโดยแบ่งกลุ่มตามการแบ่งจำนวนห้องเรียน ได้กลุ่มทดลองที่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนเพียงอย่างเดียว มีนักเรียน 25 คน กลุ่มทดลองที่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนร่วมกับการวางเงื่อนไขการเสริมแรงเป็นกลุ่ม มีนักเรียน 26 คน และกลุ่มควบคุม มีนักเรียน 24 คน การวิจัยนี้ใช้การทดลองแบบ A-B Control Group Designใช้เวลาทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง 2 จะได้รับการสอนโดยกลุ่มเพื่อนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที สำหรับกลุ่มที่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนร่วมกับการวางเงื่อนไขการเสริมแรงเป็นกลุ่มก็จะได้รับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรโดยการวางเงื่อนไขเป็นกลุ่ม เมื่อคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดหรือคะแนนสอบคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นจากคะแนนครั้งสุดท้ายที่กลุ่มทำได้อย่างน้อย 1 คะแนน ส่วนกลุ่มที่การสอนโดยกลุ่มเพื่อนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับการเสริมแรงและในกลุ่มควบคุมไม่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนและเสริมแรงใดๆ เลย หลังจากการสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบสัมฤทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนจากแบบทดสอบภายหลังการทดลองโดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) พบว่า กลุ่มที่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนร่วมกับการวางเงื่อนไขการเสริมแรงเป็นกลุ่ม สามารถทำคะแนนจากแบบทดสอบคณิตศาสตร์ได้สูงกว่ากลุ่มที่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนเพียงอย่างเดียวและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่มีการสอนโดยกลุ่มเพื่อนเพียงอย่างเดียวกับกลุ่มควบคุมนั้น พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่า การสอนโดยกลุ่มเพื่อนร่วมกับการวางเงื่อนไขการเสริมแรงเป็นกลุ่ม สามารถเพิ่มสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 ได้
Other Abstract: The purpose of this study was to study the effect of Peer Tutoring and Peer Tutoring with Group Contingency on Academic Achievement in Mathematics. The subjects were 75 Prathom 5 Students from 3 classes of The Wat Hua Lum Pong School, Bangkok. Each Classroom had students with different levels of Achievement but the same level of Mathematic Achievement. They were randomly assigned to two experimental groups i,e the peer tutoring group and the peer tutoring with Group contingency and the control group. The Peer Tutoring Group had 25 students. The Peer Tutoring with Group Contingency also had 26 students. And the control Group had 24 students. The A-B Control Group Design was used in this study. The Study was done with the period of 6 weeks. Both experimental Groups Joined in Peer Tutoring Program 2 times a week and each time took 30 minutes. For the Peer Tutoring with Group Contingency, they got the token reinforcement according to Group contingency when the score in the Mathematics exercises or tests increased more than the last time they did at least 1 mark. The Peer Tutoring Group received no reinforcement and the control group received no Peer Tutoring and Reinforcement. After the experimental phase, each group was given the Mathematics Achievement Test. One-Way Analysis of Variance was used to analyze the data. The results showed that there were significant differences between the peer tutoring with Group Contingency Group, the Peer Tutoring Group and the control group at the .05 level, and no significant difference between the peer tutoring Group and control group at the .05 level.
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19100
ISBN: 9745441031
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_Le_front.pdf429.71 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Le_ch1.pdf965.63 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Le_ch2.pdf387.33 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Le_ch3.pdf444.5 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Le_ch4.pdf408.9 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Le_ch5.pdf317.44 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Le_back.pdf401.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.