Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19123
Title: การบริหารงานของศูนย์พัฒนาอาชีพ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ณ. ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: The administration of Occupation Development Centre of the Community Development Department Ministry of the Interior at Tambon Nongbua, Amphoe Muang, Changwat Kanchanaburi
Authors: สุทธินันท์ หลวงศรี
Advisors: ไพโรจน์ สิตปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์พัฒนาอาชีพ
กรมการพัฒนาชุมชน
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากแนวความคิดที่ว่าในการพัฒนาประเทศนั้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง คือประชากร ถ้าหากว่าคนมีความสามารถแล้วการพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างก็ย่อมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการพัฒนาประเทศจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงคุณภาพของประชาชนให้ได้มาตรฐานเป็นประชาชนที่มีคุณภาพจากหลักหารอันนี้เองโครงการศูนย์พัฒนาอาชีพ ซึ่งดำเนินการโดยกรมพัฒนาชุนชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้กำเนิดขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาเยาวชนในชนบทให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพโดยจัดฝึกอบรมเยาวชนที่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนต่อ ให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชัพช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวต่อไป ศูนย์พัฒนาอาชีพ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี จึงเป็นสถานที่ซึ่งให้การฝึกอบรมอาชีพแก่เยาวชนให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว การที่เยาวชนจะได้รับประโยชน์และมีความสามารถเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารงานจองศูนย์ฯ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อเยาวชนผู้ทำการศึกษาวิจัยจึงได้นำเอาการบริหารงานของศูนย์ฯ มาทำการศึกษาวิจัยวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้คือ มุ่งศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของศูนย์พัฒนาอาชีพ ต. หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตอลดจน ศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานขิงศูนย์พัฒนาอาชีพ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เพื่อจะได้ทราบปัญหาข้อขัดช้องในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขและจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการบริหารงานของศูนย์ฯ เพื่อศูนย์ฯ สามารถดำเนินงานได้สัมฤทธิผลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้อาศัยข้อมูลและโครงร่างทางทฤษฎีจาดเอกสารทางวิชาการ เอกสารทางราชการ หนังสือ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม จากการศึกษาพบว่าปัญหาการบริหารงานของศูนย์ฯ มักประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนทรัพยากรทางการบริหาร และความไม่คล่องตัวของกระบวนการบริหารซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ดังนี้ 1. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ มีน้อยไม่สมดุลย์กับปริมาณงาน 2. ศูนย์ฯ ขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ประจำที่แท้จริงและมีความชำนาญเฉพาะด้าน จึงต้องยืมทรัพยากรจากอำเภอต่างๆ จากจังหวัดกาญจนบุรีมาทำหน้าที่แทน 3. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ทั้งที่ใช้ในสำนักงานและที่ใช้ในการฝึกอบรม 4. งบประมาณที่ใช้สำนักงานและที่ใช้ในการฝึกอบรมมีไม่เพียงพอ 5. เกิดความสับสนในสายการบังคับบัญชาและการรายงานเพราะจำนวนเจ้าหน้าที่มีน้อย จึงทำให้เจ้าหน้าที่บางคนต้องรับผิดชอบหลายฐานะ 6. การประเมินผลการฝึกอบรมและติดตามเยาวชนยังทำไม่ต่อเนื่องและจริงจัง 7. การจัดสถานที่ฝึกอบรมยังไม่เหมาะสม เพราะจัดโรงฝึกงานช่างยนต์งานด้านช่างตัดผม งานด้านกิจกรรมพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน อยู่รวมในอาคารเดียวกัน ทำให้เกิดเสียงรบกวนทำลายสมาธิของผู้เข้ารับการฝึกอบรม นอกจากนี้แล้ว ยังประสบปัญหาทางด้านเยาวชน กล่าวคือ เยาวชนบางคนอ่านและเขียนหนังสือไม่ค่อยได้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรม ตลอดจนปัญหาการลาออกในระหว่างการฝึกอบรมของเยาวชนเมื่อผิดหวังไม่ได้เรียนวิชาชีพที่ต้องการเนื่องจากไม่ผ่านการทดสอบความถนัดจากศูนย์ฯ จากผลของการศึกษาวิจัยยังค้นพบว่า ทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อการฝึกอบรมของศูนย์ฯ เป็นไปในทางบวกซึ่งทำให้การฝึกอบรมเป็นไปโดยราบรื่นได้รับความร่วมมือด้วยดี นอกจากนั้นจากการศึกษาวิจัยยังค้นพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกอบรมส่วนใหญ่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจดี ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะอย่างเต็มที่
Other Abstract: One of the most crucial factors in developing a country is the quality of population. If manpower is efficient , the national development will be effectively perused. Therefore, to be development will be effectively perused. Therefore, to be developed, a country needs to improve its population quality. With regard to this principle, the Occupation Development Centre Program under the Community Department has been originated. The major objective of the program is to improve the quality of the youths Z most of whom have completed compulsory education, but do not have an opportunity to further their study at a higher level ) by training them knowledge and understanding in professional skills in order that they can utilize the skills in pursuing their livelihood, or earning additional income. The Nong Bua Occupation Development Center in Kanchanaburi, thus serves the above mentioned purpose in training professional skill as well as general knowledge for the youths so that they are able to utilize those skills to pursue their livelihood or earning additional income. Nevertheless Whether the youths would acquire maximum benefits from such a grogram rests primarily upon the efficiency of the Centre’s administration since it is one of the factors which has direct impact upon the youths. Accordingly this study focuses mainly on the Administration of the Occupation Development Centre, namely, the Nong Bua Occupation Development Center. This Study begins by questioning whether the youths who have been trained by the Centre receive benefits and improve their professional skills depending on the efficiency of the administration of the Centre or not. Thus, the main objectives of this study is to investigate the history and development of the Centre including the work of the Centre so as to know the problems of the Centre and therefore be able to give suggestions and recommendations on the improvement of its administration. This study relies on research papers government documents books observations interviews and some questionnaires for data and theoretical framework. The summary of the findings in that the Centre has been facing deficiency in administrative resources and administrative efficiency. In brief, there are : 1. The number of personnel’s is too small to cope with the work load. 2. There is insufficiency of standing official instructors who have specialized skills therefore the center has to request several district community development workers to come to help in training courses. 3. The supplies and equipment’s in the office and training courses are insufficient. 4. The budget for the office and training courses is insufficient. 5. The chain of command and the line of responsibility are complicated because of the deficiency of personnel’s and thus an official has to be responsible for several roles. 6. The evaluation and follow up of the youths who have finished the training courses are done without continuity and seriousness. 7. The management of the training courses is not good enough. For example, the courses for mechanical engineering, for the barber, and for the women’s children’s and youth’s development activities are organized in the same building. As a result, the trainees cannot concentrate on the training because of the disturbing noises from other training room. Considering the trainees, some of the youths cannot read and write well and some of them resign as they are disappointed for not being able to take the courses they like because they cannot pass the skill-test from the Centre. The attitudes of the trainees towards the Centre’s training yet are positive ; thus the Centre are receives good cooperation from them. Finally, it is found that the trainers have high ability in training. Consequently the trainees can well understand and receive knowledge and skills from training courses.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19123
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthinan_Lu_front.pdf634.93 kBAdobe PDFView/Open
Suthinan_Lu_ch1.pdf659.24 kBAdobe PDFView/Open
Suthinan_Lu_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Suthinan_Lu_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Suthinan_Lu_ch4.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Suthinan_Lu_ch5.pdf621.17 kBAdobe PDFView/Open
Suthinan_Lu_back.pdf861.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.