Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19271
Title: ผลของวิตามินซีต่อการเติบโต การรอดตาย และความทนทานต่อความเค็มต่ำของลูกหอยหวาน Babylonia areolata ระยะลงเกาะ
Other Titles: Effects of vitamin C on growth, survival and tolerance to low salinity of settling stage spotted Babylonia areolata
Authors: อรนุช พฤษศรี
Advisors: สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หอยหวาน -- การเลี้ยง
หอยหวาน -- การเจริญเติบโต
วิตามินซี
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาระดับวิตามินซีที่เหมาะสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงหอยหวาน Babylonia areolata ระยะลงเกาะเพื่อให้ลูกหอยมีการเติบโต การรอดตาย และความทนทานต่อความเค็มต่ำได้สูงสุด การศึกษาในครั้งนี้ได้เลี้ยงลูกหอยระยะลงเกาะขนาดความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 0.37 ± 0.01 เซนติเมตร ในบ่อทดลองขนาด 10×15×20 เซนติเมตร ระบบน้ำไหลผ่านตลอดเป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยเปรียบเทียบอาหาร 2 ชนิด คือ อาหารธรรมชาติ (เนื้อปลาข้างเหลือง) และอาหารผสมแบบกึ่งเปียก โดยอาหารแต่ละชนิดเสริมด้วยวิตามินซี (ascorbyl-2-polyphosphate; APP) ต่างกัน 5 ระดับ (0, 100, 200, 500 และ 1000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม) ผลการศึกษาพบว่า ระดับวิตามินซีในอาหารมีผลต่อการเติบโตของหอยหวาน โดยหอยหวานที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมเสริมวิตามินซี 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีการเติบโตโดยความยาวเปลือกและน้ำหนักสูงกว่าอาหารทดลองสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และลูกหอยที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมมีการเติบโตสูงกว่าลูกหอยที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติที่ทุกระดับการเสริมวิตามินซีเมื่อสิ้นสุดการทดลอง โดยระดับวิตามินซีในอาหารไม่มีผลต่อการรอดตายของหอยหวาน ส่วนความทนทานต่อความเค็มต่ำ (20 พีพีที) ของลูกหอยที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมเสริมวิตามินซี พบว่าที่ระดับวิตามินซี 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีอัตรารอดสูงสุด ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับทุกระดับอาหารผสมเสริมวิตามินซี แต่มีค่าสูงกว่าอาหารธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ที่ทุกระดับการเสริมวิตามินซี
Other Abstract: A 12 – week feeding trial was carried out to determine the effect of different supplementation of vitamin C on growth, survival and low salinity tolerance of the settled juvenile spotted babylon, Babylonia areolata, under flow-through seawater system. Juveniles (0.37 ± 0.01 cm) were fed to apparent satiation on two types of foods (natural food or artificial diet), varying in 5 levels of vitamin C (ascorbyl-2-polyphosphate; APP) supplementations (0, 100, 200, 500 and 1000 mg / 1 kg diet). Results showed that growth in term of shell length and weight of juveniles fed on artificial diet supplemented with 200 mg / 1 kg diet was significantly higher than those fed on other diet supplemented vitamin C diets (P<0.05) and growth of juvenile fed on the artificial diet was significantly higher than those fed the natural diet in all vitamin C supplementations. No significant difference in survival rate was found among all feeding trials (P<0.05). At the end of the experiment, a low salinity stress test (20 ppt) indicated that survival of juveniles fed artificial diet supplemented with any vitamin C levels was not significantly difference. However, survival of juvenile fed on the artificial diet with 100 mg vitamin C / kg was significantly higher than those juveniles fed the natural diet with all vitamin C supplementations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19271
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.332
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.332
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranoot_pr.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.