Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19372
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย |
Other Titles: | The Effect of perceived self-efficacy promoting program on safe sex behaviors of male vocational students |
Authors: | สุขิตา มาศขาว |
Advisors: | รัตน์ศิริ ทาโต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ratsiri.T@chula.ac.th |
Subjects: | ความสามารถในตนเอง การรับรู้ตนเองในวัยรุ่น นักเรียนอาชีวศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ เพศศึกษา Self-efficacy Self-perception in adolescence Vocational school students -- Sexual behavior Sex instruction |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาชายที กำลังศึกษาหลักสูตร ปวส. ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี จากโรงเรียน 2 แห่ง ที่มีลักษณะคล้ายกันใน จังหวัดน่าน โดยสุ่มโรงเรียนเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลองหรือควบคุม แล้วคัดเลือกโรงเรียนละ 2 ห้อง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้จาก หลักสูตรการเรียนการสอนตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การใช้คำพูดชักจูง 2) การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น 3) ประสบการณ์ที่กระทำสำเร็จด้วยตนเอง และ 4) สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ โดยมีสื่อ ประกอบการดำเนินกิจกรรม คือ แผนการสอน ภาพสไลด์ วีดิทัศน์ และคู่มือ “อาชีวะยุคใหม่ ทันสมัย ไม่เข้าใกล้เอดส์” ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีพฤติกรรมทาง เพศที่ปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย มีค่าความเที่ยง .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชายหลัง ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ([mean] = 66.40, SD = 2.43, ระดับสูง) สูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ([mean] = 55.77, SD = 6.09, ระดับปานกลาง) อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชายในกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ([mean] = 66.40, SD = 2.43, ระดับสูง) มากกว่ากลุ่มที่ ได้รับความรู้ตามปกติ ([mean] = 57.30, SD = 5.36, ระดับปานกลาง) (p<.01) |
Other Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาชายที กำลังศึกษาหลักสูตร ปวส. ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี จากโรงเรียน 2 แห่ง ที่มีลักษณะคล้ายกันใน จังหวัดน่าน โดยสุ่มโรงเรียนเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลองหรือควบคุม แล้วคัดเลือกโรงเรียนละ 2 ห้อง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้จาก หลักสูตรการเรียนการสอนตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การใช้คำพูดชักจูง 2) การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น 3) ประสบการณ์ที่กระทำสำเร็จด้วยตนเอง และ 4) สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ โดยมีสื่อ ประกอบการดำเนินกิจกรรม คือ แผนการสอน ภาพสไลด์ วีดิทัศน์ และคู่มือ “อาชีวะยุคใหม่ ทันสมัย ไม่เข้าใกล้เอดส์” ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีพฤติกรรมทาง เพศที่ปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย มีค่าความเที่ยง .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชายหลัง ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ([mean] = 66.40, SD = 2.43, ระดับสูง) สูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ([mean] = 55.77, SD = 6.09, ระดับปานกลาง) อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชายในกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ([mean] = 66.40, SD = 2.43, ระดับสูง) มากกว่ากลุ่มที่ ได้รับความรู้ตามปกติ ([mean] = 57.30, SD = 5.36, ระดับปานกลาง) (p<.01) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19372 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1776 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1776 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukita_ma.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.