Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19381
Title: ความพร้อมของชุมชนกับการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Readiness of community to participate in "Credit Union Community Radio Station" in Suratthani Province
Authors: สุพิชชา สินเลิศไพบูลย์
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: สถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน
วิทยุชุมชน -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี
วิทยุชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
Credit Union Community Radio Station
Community radio -- Thailand -- Surat Thani
Community radio -- Citizen participation
Communication in community development
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และศึกษาความพร้อมและความต้องการของชุมชนกับการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนฯ เพื่อวิเคราะห์ถึงความพร้อมของชุมชนกับการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยชุมชน ผลการวิจัยพบว่า สถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยนใช้หลักการบริหารจัดการร่วม และการบริหารจัดการด้วยตนเองเป็นหลักทั้งในมิติการบริหารจัดการทั่วไป ด้านการบริหารจัดการคนที่มีการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ ที่เลือกตั้งมาจากอาสาสมัครที่เป็นชาวบ้านในพื้นที่ ที่สามารถรับฟังการกระจายเสียงสัญญาณของสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยนได้ ซึ่งสะท้อนการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมทุกคน ด้านการบริหารจัดการงานเนื่องด้วยคณะทำงานที่อาสาเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ของสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยนนั้นทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของอาสาสมัคร เพราะฉะนั้นเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ คณะกรรมการจึงใช้การประชุมเป็นเวทีในการหารือทุกประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยุชุมชน ทุกคนที่เข้ามาร่วมประชุมก็จะมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นเท่าเทียมกัน ซึ่งสะท้อนการบริหารจัดการร่วม ส่วนด้านการบริหารจัดการงบประมาณ ก็ใช้หลักการบริหารจัดการร่วม และการบริหารจัดการด้วยตนเอง ด้วยการบริหารจัดการงบประมาณนั้นคณะทำงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ในการช่วยกันกำหนดระเบียบข้อบังคับในการจัดหาทุน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยอยู่บนหลักของความหลากหลายของแหล่งงบประมาณ ซึ่งสะท้อนถึงการบริหารจัดการด้วยตนเองที่ปราศจากอำนาจใดๆ และในมิติของการบริหารจัดการการกระจายเสียงนั้น ก็ใช้หลักการบริหารจัดการร่วมเป็นสำคัญ โดยคณะทำงานทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดรูปแบบ เนื้อหารายการและผู้จัดรายการ โดยอยู่ภายใต้ความสอดคล้องกับบริบทชุมชน นอกจากมีหลักการบริหารจัดการตามแนวคิดวิทยุชุมชนแล้ว สถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยนยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งเครือข่าย หน่วยงานภายในและภายนอกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนจากชุมชนทั้งระดับชาวบ้าน และระดับผู้นำกลุ่ม ซึ่งสามารถสะท้อนความยั่งยืนของสถานีได้ และจากการสนับสนุนของชุมชนยังสะท้อนถึง ความพร้อมของชุมชนกับการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน ซึ่งพบว่าชุมชนมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน โดยแบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับผู้นำกลุ่ม ซึ่งมีความพร้อมเรื่องความกระตือรือร้น ความพร้อมด้านเวลา ความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ส่วนระดับชาวบ้านมีความพร้อมด้านเงิน ด้านเวลา และการร่วมแสดงความคิดเห็นต่อสถานี ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจความพร้อมของชุมชนกับการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนเครดิตยูเนี่ยน ที่พบว่าชุมชนมีความพร้อมด้านจิตใจในเรื่องความกระตือรือร้น มากที่สุด รองลงมาคือความพร้อมด้านฐานะทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีบทบาทในสถานีวิทยุชุมชนเป็นเพียงกลุ่มผู้นำ เพราะฉะนั้นควรวางแผนในการเสริมความพร้อมของชุมชนระดับชาวบ้าน ในการมีส่วนร่วมจากความพร้อมในการมีส่วนร่วมฐานะผู้รับสาร ให้ขยับฐานะเป็นผู้ผลิตและผู้วางแผนต่อไป โดยให้ผู้นำกลุ่มเป็นผู้แสดงศักยภาพในการเป็นผู้สืบทอด เพื่อถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อการใช้สื่อวิทยุชุมชนเพื่อเป็นสื่อในการระดมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: To study the management of Credit Union Community Radio Station in Suratthani province and the readiness and need of the community in order to participate the radio station by using quantitative and qualitative analysis. The research is aimed to study the readiness of community to participate the Credit Union Community Radio Station in Suratthani province. The research result shows that Credit Union community radio station mainly used the union management principle and self management principle for the dimension of human resource management, in which the committees are elected from volunteers who live in the broadcasting area of Credit Union Community Radio Station. This reflects the openness for a participation of all residents in the area. For the activity management, all the management members are volunteers. Thus, time management is the most important factor. Every member has an equal chance to express their opinion, which reflects the union management principle. For the budget management, both principles are used as every member gets involved in setting regulations for fund raising in order to improve and develop the radio station. However, the basis that the fund comes from variety of sources reflected the self management principle. The broadcasting management dimension mainly uses the union management principle as every member shared idea to set pattern, content and moderator in accordance with the community concept. Apart from the radio station management principles, Credit Union Community Radio Station are also supported by internal and external community organizations especially the support from all levels of residents in the community, creating Credit Union Community Radio Station a sustainable channel. Moreover, the support reflects the readiness of the community in order to get involve with the radio station activities. The research shows that the readiness can be categorized into 2 levels; the leaders who are ready in terms of enthusiast, time, knowledge, skill and experience, and the residents who are ready in terms of money, time and opinion to the station, which corresponded to the readiness of the community. The results found that the community has mind readiness in the field of enthusiasm and economic status, respectively. However, the persons who have the major roles are only the leaders group. Therefore, the station should plan to support the community’s readiness at villagers’ level in order to participate from the receivers to be the producers and planers ahead. The leaders should express their potential as the successors in order to pass on their knowledge, skills, and experiences to use the community radio as a media to gather participation for developing the community onwards, permanently.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19381
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.359
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.359
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supitcha_si.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.