Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19415
Title: | การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก |
Other Titles: | An invariance analysis of nursing performance causal models of second and fourth year students in nursing colleges under Prabaromrajchanok Institution |
Authors: | กันย์สินี วิเศษสิงห์ |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง |
Advisor's Email: | Lawthong_n@hotmail.com |
Subjects: | การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน ลิสเรลโมเดล |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และ 2) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลระหว่างกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 1,251 คน จำแนกเป็นกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 636 คน และชั้นปีที่ 4 จำนวน 615 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบ 4 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบ Rubric scoring 5 ระดับ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัว คือ ปัจจัยด้านผู้สอน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านผู้เรียน และทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาล วัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 20 ตัว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ และทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL 8.72) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าไค-สแควร์ (chi[superscript 2] ) เท่ากับ 67.10 ที่ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 62 และค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .307 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .995 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .982 ค่าดัชนีกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) เท่ากับ .007 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลได้ร้อยละ 16.1 ทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านผู้เรียน มากกว่าปัจจัยด้านผู้สอนและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแปรปัจจัยด้านผู้เรียน ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ กระบวนการเรียนรู้ในการฝึกปฏิบัติ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล มีค่าไค-สแควร์ (chi[superscript 2]) เท่ากับ 143.011 ที่ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 121 และค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .084 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .982 รวมทั้งค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .010 แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ระหว่าง 2 โมเดลที่ศึกษา โดยพบว่า ปัจจัยด้านผู้เรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะการปฏิบัติงานทางการพยาบาลสูงกว่า ปัจจัยด้านผู้สอนและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดในปัจจัยด้านผู้เรียน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 คือ กระบวนการเรียนรู้ในการฝึกปฏิบัติ |
Other Abstract: | The purposes of this research were (1) to develop and validate the nursing performance causal model of students in nursing colleges under prabaromrajchanok institution (2) to test the invariance of the nursing performance causal model of second and fourth year students in nursing colleges under prabaromrajchanok institution. The research sample consisted of 1,251 students in nursing colleges, which classify 636 second and 615 fourth year students by four- stage random sampling. The instrument were measured on five-point Likert scales and Rubric scoring. Data consisted of 4 latent variables: teacher factor, environmental factor, student factor, and nursing performance; with 20 observed variables. The data obtained were analyzed by descriptive statistic, pearson’s product moment correlation by SPSS, confirmatory factor analysis, the analyses of structural equation model and model invariance by LISREL program version 8.72. The major findings were as follow: 1) The nursing performance causal model of nursing students was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 67.103 df = 62 P= .307 GFI = .995 AGFI = .982 and RMR = .010. The model accounted for 16.1 % of variance in nursing performance. Student factor was more effective than teacher factor and environment factor. The factor loading of student factor was practical in learning process. 2) The nursing performance causal model of second and fourth year students in nursing colleges under prabaromrajchanok institution indicated invariance of model form. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 143.011 df = 121 P= .084 GFI = .982 and RMR = .010, but all parameters were variant among 2 models of study. The direct effect of student factor was more effective than teacher factor and environment factor. The factor loading of student factor in second and fourth year students were practical in learning process. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19415 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1064 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1064 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kunsine_wi.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.