Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19465
Title: กลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
Other Titles: Communication strategies of state enterprises' labor unions in Thailand
Authors: ภัทราวรรณ จูฑะพันธุ์
Advisors: รุ่งนภา พิตรปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rungnapar.P@chula.ac.th
Subjects: สหภาพแรงงาน -- ไทย
การสื่อสารในองค์การ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการสื่อสารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในองค์กร (2) กลยุทธ์การสื่อสารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในองค์กร (3) ผลลัพธ์ที่เกิดจากกลยุทธ์การสื่อสารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในองค์กร การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 การศึกษาเรื่อง "กระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจใน ประเทศไทย" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของสหภาพแรง งานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 30 คน นำมาประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 การศึกษา "ผลลัพธ์ที่เกิดจากกลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจใน ประเทศไทย" เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจาก สมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยในส่วนของกระบวนการสื่อสารขององค์กรสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจนั้น พบว่า 1.ผู้ส่งสารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจคือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประกอบไปด้วยประธาน คณะกรรมการ อนุกรรมการ ผู้แทนอนุกรรมการ 2.สารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแบ่งตามสถานการณ์ คือ (1)ข่าวสารตามวาระปกติ (2)ข่าวสารในวาระไม่ปกติ (3)ข่าวสารอื่นๆ 3.สื่อหรือช่องทางการสื่อสารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจคือ สื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ 4.ผู้รับสารของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจคือสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเป็น กลุ่มหลัก กลุ่มเป้าหมายรองก็คือกลุ่มผู้บริหารและพนักงานทั่วไป ผลการวิจัยในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจนั้น พบว่ามีการดำเนินงาน ด้านการสื่อสารอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ โดยสามารถแบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ได้เป็น 7 ประเภท คือ (1) กลยุทธ์ด้านเนื้อหาข่าวสาร ซึ่งประกอบไปด้วย รูปแบบของการสื่อสาร ลักษณะการใช้การสื่อสาร สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร และการไหลของข่าวสาร (2) กลยุทธ์การเผยแพร่ข่าวสาร ซึ่งประกอบไปด้วย กลยุทธ์การดำเนินการประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (3) กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ (4) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายบุคคล (5) กลยุทธ์การดำเนินงานกิจกรรมสาธารณะ (6) กลยุทธ์สร้างพันธมิตร (7) กลยุทธ์แรงงานสัมพันธ์ ผลการศึกษาในส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดจากกลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรสหภาพแรง งานรัฐวิสาหกิจ พบว่า (1) สมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจมีทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสารของสหภาพแรงงานรัฐ วิสาหกิจ โดยมีทัศนคติที่ดีต่อประธานสหภาพแรงงานฯ สูงที่สุด (2) สมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจมีความร่วมมือในระดับสูงต่อการสื่อสารของสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจ โดยมีการติดตามข่าวสารและข้อมูลของสหภาพแรงงานในระดับสูงที่สุด
Other Abstract: The objectives of this research aim to know (1) The Communication Process of State Enterprises’ Labor Unions in Organization (2) The Communication Strategies of State Enterprises’ Labor Unions in Organization. (3) The Result from the Communication Strategies of State Enterprises’ Labor Unions in Organization. This research will be divided into 2 parts. Part 1 is Qualitative research about "Communication Process and Communication Strategies of State Enterprises’ Labor Unions in Thailand" . The primary data was gathered from in-depth interview with 30 persons who involved in communication of State Enterprises’ Labor Unions. while the secondary data was collected from all related documents. Part 2 “Result from the Communication Strategies of State Enterprises’ Labor Unions in Thailand” is a survey research using questionnaire as a tool to collect the data from the members of State Enterprises’ Labor Unions by 200 persons. From the research of Communication Process of State Enterprises’ Labor Unions in Organization, found that : (1) Sender of State Enterprises’ Labor Unions is State Enterprises’ Labor Unions, which consisting of Chairman of Committee, Subcommittee and Subcommittee representative. (2) Message of State Enterprises’ Labor Unions is classified as Situational of 1) Normal Period News, 2) Abnormal Period News and Others News. (3) Media or Communication Channel of State Enterprises’ Labor Unions are : Personal Media, Mass Media and Specific Media. (4) News Receiver of State Enterprises’ Labor Unions are Members of State Enterprises’ Labor Unions as a key group. While the next target group are Executive Group and General Officer. From the research of Communication Strategies of State Enterprises’ Labor Unions, found that ; the communication process is processing as organized steps. And there are different of strategies implementation to create good relationship with members of State Enterprises’ Labor Unions which can be set as different of 7 types of strategies those are : (1 )The Strategies of Content which combined of Communication Format, Communication Application, Communication Symbol and Communication Flow. (2) Publicity Strategies which combined of Public Relations Implementation Strategies, Public Relation Strategies, Public Relation Media Strategies. (3) Convincing Strategies. (4) Personal Network Building Strategies. (5) Public Activities Implementation Strategies. (6) Alliance Strategies. (7) Labor Relations Strategies. From the research of Result from the Communication Strategies of State Enterprises’ Labor Unions, found that: 1. Members of State Enterprises’ Labor Unions has the good attitude to the communication of State Enterprises’ Labor Unions, and have highest of good attitude to the Chairman of State Enterprises’ Labor Unions. 2. Members of State Enterprises’ Labor Unions have high level of communication coordination members of State Enterprises’ Labor Unions by having good follow up on news and information of State Enterprises’ Labor Unions at its highest level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19465
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.57
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.57
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phatrawan_ju.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.