Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19494
Title: การใช้หลักโน้มน้าวใจสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง
Other Titles: The use of persuation in printedmedia for general election campaign
Authors: ขวัญชมัย สุธรรมพิทักษ์
Advisors: เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โฆษณาทางการเมือง
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
การโน้มน้าวใจ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเลือกตั้ง เป็นการแสดงออกถึงเจตนารมณ์ที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยประชาชนทั่วไปเลือกผู้แทนหรือพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ นโยบาย และวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับตน ที่จะนำอุดมการณ์และนโยบายไปเป็นแนวนโยบายในการบริหารประเทศ การหาเสียงเลือกตั้ง คือการประชาสัมพันธ์ที่ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรู้จักและเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง การหาเสียงเลือกตั้ง ต้องมีการวางยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะการเลือกตั้งกันด้วยการวางภาพลักษณ์และทำให้ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์คงอยู่ในใจของผู้รับสารตลอดเวลา ในปัจจุบันภาพลักษณ์จากพรรคการเมืองต้องควบคู่ไปกับภาพลักษณ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ปัจจุบันปัญหาเลือกตั้งที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาเรื่องป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ที่มีการติดตั้งตามข้างทางอย่างมากมาย และป้ายก็ไม่แสดงเอกลักษณ์ให้โดดเด่น ผลที่เกิดขึ้นคือ ศึกแย่งชิง “ความจดจำของประชาชน” ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการจดจำว่าแต่ละป้ายเป็นของใคร การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ คือการที่มนุษย์ใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการจูงใจบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เป็นแหล่งข่าวสาร เพื่อหวังที่จะให้ผู้รับสารตอบสนองต่อข่าวสาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสารให้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวน่าจะประยุกต์ใช้กับการใช้หลักโน้มน้าวใจสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางในการโน้มน้าวใจที่จะนำมาใช้ในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย การวิจัยนี้เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในเรื่องข้อมูลทางการเมือง, องค์ประกอบและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ข้อมูลองค์ประกอบทางเรขศิลป์ และหลักการจัดองค์ประกอบเรขศิลป์ แล้วจึงนำไปวิเคราะห์เพื่อทำแบบสอบถามเชิงคุณภาพ เพื่อส่งให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตอบแบบสอบถาม จากนั้นจึงสรุปผลที่ได้จากแบบสอบถาม ซึ่งทำให้พบว่าผลที่ได้จะทำให้งานออกแบบมีลักษณะที่แตกต่างและมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยมีเรื่องการใช้ภาพ สี ตัวอักษร หลักการจัดวางองค์ประกอบ ที่จะสามารถสื่อถึงบุคลิกภาพที่ชัดเจนของแต่ละประเภทนักการเมืองได้เป็นอย่างดีในสื่อสิ่งพิมพ์หาเสียงรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ยัง ทำให้งานออกแบบมีความเป็นเอกภาพตลอดจนมีความเป็นระบบมากขึ้น และสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้เกิดการจดจำได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งท้ายสุดจะเป็นการนำผลสรุปที่ได้จากการวิจัยมาทำงานออกแบบ โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นพรรคพลังประชาชน เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางการออกแบบในการใช้หลักโน้มน้าวใจสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งต่อไปในอนาคต
Other Abstract: The election is the express of public intention to participate in the politic. People elect the representatives or political parties whose ideology, policy and vision are accordance with theirs in order to apply such ideology and policy as the policies for the country’s administration. The election refers to the advertising convincing people who have rights to vote and making such people know and elect the candidates. There must be proper strategies to win the election, namely, positioning and creating good image to receivers. Presently, the images of the political parties and the images of the candidates are blended. The problem occurring from the election is printed media often placed along roads and such media show insignificant image. The result is the flight for “being in the memory of the people”. Therefore, the people cannot remember who is an owner of each banner. The persuasive communication is the method that a person uses communication tools to persuade other persons with the purpose of the receivers’ response. The persuasive communication aims to create changes or influence the receivers’ behaviors towards certain directions. Such information should be applied to the persuasive methods for election advertising efficiently. This research is to study and analyze the persuasive approaches to be used in designing printed media to meet needs of target groups properly and efficiently. This research has been started from conducting literature review on political conditions, elements and strategies of persuasive communication, elements of design and principle of design; analyzing data and composing qualitative questionnaires sent to experts to answer; and, then, summarizing the findings. It is found that it will generate various and interesting styles of outputs. The usage of pictures, colors, alphabets, element positioning is able to communicate the characteristics of each type of politicians clearly and appropriately through various styles of printed media. In addition, the designs will be unique and more systematic as well as able to create unique images more of the candidates efficiently. Finally, there is the transformation from the research summary to the actual designs. The case study of People Power Party has been selected to be an example and a practice to design by applying the persuasive method for printed media in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19494
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.338
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.338
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Quanchamai_su.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.