Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19588
Title: กลวิธีและโครงสร้างปริจเฉทของการให้คำแนะนำในภาษาไทย
Other Titles: Strategies and discourse structure of advice giving in Thai
Authors: ปาริดา สุขประเสริฐ
Advisors: กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Krisadawan.H@Chula.ac.th
Subjects: วัจนกรรม
ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาษาในแนววัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรมวิเคราะห์เกี่ยวกับการให้คำแนะนำในภาษาไทย ดดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษากลวิธีและโครงสร้างปริจเฉทของการให้คำแนะนำใน 2 บริบท ได้แก่ บริบทที่มีการขอคำแนะนำ และบริบทที่ไม่มีการขอคำแนะนำ 2) เปรียบเทียบกลวิะีและโครงสร้างปริจเฉทของการให้คำแนะนำในทั้ง 2 บริบทข้างต้น ข้อมูลที่ใช้ศึกษาสำหรับบริบทที่มีการขอคำแนะนำรวบรวมมาจากการรายการวิทยุที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังประสบปัญหาโทรศัพท์เข้ามาขอคำแนะนำ และรวบรวมจากการสนทนาระหว่างเพื่อนในชีวิตประจำวันเพื่อใช้ในส่วนของบริบทที่ไม่มีการขอคำแนะนำ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์กลวิธีการให้คำแนะนำโดยใช้กรอบทฤษฎีของเจียง (Jiang,2006) และดครงสร้างปริจเฉทของการให้คำแนะนำวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎีของอาเบะ (Abe,2001) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้คำแนะนำในทั้ง 2 บริบท จะใช้ทั้งกลวิธีแบบตรงและกลวิธีแบบอ้อม ในบางสถานการณ์ผู้ให้คำแนะนำจะใช้กลวิธีแบบตรง ได้แก่ การใช้ประโยคที่มีกริยาแสดงวัจนกรรม และการใช้ประโยคคำสั่ง ยกตัวอย่างเช่น "ฉันแนะนำว่า..." "ไปนอนเดี๋ยวนี้" แต่อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่าผู้ให้คำแนะนำจะใช้กลวิธีแบบอ้อมมากกว่าแบบตรง ดังนั้นผู้ที่ให้คำแนะนำจึงพยายามใช้รูปภาาาแบบอ้อมมากกว่าแบบตรง ดังนั้นผู้ที่ให้คำแนะนำจึงพยายามใช้รูปภาษาแบบอ้อมเพื่อที่จะลดอัตราการคุกคามหน้าของผู้ที่ถูกให้คำแนะนำ กลวิธีแบบอ้อมที่พบ เช่น การใช้รูปประโยคแสดงเงื่อนไข การใช้ประโยคที่มีกริยาช่วย เป็นต้น ในส่วนของโครงสร้างปริจเฉทพบว่า ในบริบทที่มีการขอคำแนะนำและบริบทที่ไม่มีการขอคำแนะนำประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่เหมือนกัน 7 ส่วน ได้แก่ การกล่าวถึงปัญหา, การซักถามเกี่ยวกับปัญหา, การต่อรองเพื่อให้คำแนะเป้นที่ยอมรับ และการให้กำลังใจ โดยที่องค์ประกอบในส่วนของการให้กำลังใจเป้นลักษณะเฉพาะของการใช้ภาษาของชาวเอเชีย องค์ประกอบเดียวที่แตกต่างกันของ 2 บริบท ได้แก่ องค์ประกอบในส่วนของการต่อว่า ซึ่งจะพบแต่เฉพาะในบริบทที่ไม่มีการขอคำแนะนำ ที่เป้นเช่นนี้เนื่องมาจากว่าคู่สนทนามีความรู้จักและสนิทสนมกันมาก่อน แต่ในทางกลับกันจะไม่พบองคืประกอบในบริบทที่มีการขอคำแนะนำเนื่องมาจากคู่สนทนาไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ดังนั้นผู้ให้คำแนะนำจึงไม่มีการต่อว่าผู้ขอคำแนะนำเนื่องจากจะเป็นการกระทำที่คุกคามหน้า
Other Abstract: This research presents a pragmatic and discourse analysis of advice giving in Thai. The aims are two-fold: 1) to investigate strategies and discourse structures of two types of advice giving, i.e., solicited and unsolicited advice, and 2) to compare the strategies and discourse structures of these two kinds of advice givings. The data are drawn from radio call-in advice program and free conversations between friends. The strategies and discourse structures employed in advice giving are analyzed according to Jiang's (2006) and Abe's (2001) respectively. It is found that there are two mains strategies- direct and indirect- employed in both solicited and unsolicited advice. Sometimes the advice giver suggests explicitly what and how the advice seeker should do to overcome their problem by using performative verbs and directive sentence, e.g., I recommend you to , Go to bed now. However, indirect strategies are mostly found in both types of advice giving. It shows that the advice giver tries to avoid face threatening act of the advice seeker by using indirect syntactic patterns such as conditional sentences and modals. In terms of discourse structure, there are 7 similar components in both advice giving types: disclosure of the problem, clarification of the problem, proposal of the advice, refusal of the advice, negotiation that makes advice accepted, acceptance of the advice and moral support, which is characteristic of Asian languages. Reprehension of the advice seeker is the component that found only in the unsolicited advice context because the relationship between both interlocutors is intimate, on the other hand, in the solicited context, the interlocutors had never known each other so that the advice giver tries not to do a face threatening act
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19588
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.63
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.63
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parida_su.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.