Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19747
Title: การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตร ของนักเรียนโปรแกรมเกษตรกรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Other Titles: A comparison of English proficiency for agriculture of agriculture program students at the upper secondary education level and the certificate of vocational education level
Authors: อุทัยวรรณ ด่านวิวัฒน์
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sumitra.A@chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
ภาษาอังกฤษ -- การทดสอบความสามารถ
นักเรียน -- วิจัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตรของนักเรียนโปรแกรมเกษตรกรรมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตรของนักเรียนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว ตัวอย่างประชาการในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนจำนวน 781 คน เป็นนักเรียนโปรแกรมเกษตรกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 390 คน และนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในวิทยาลัยเกษตรกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 391 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายชั้น โดยสุ่มจังหวัดมาร้อยละ 25 จากเขตการศึกษา 12 เขต และกรุงเทพมหานครแล้วสุ่มจำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยเกษตรกรรมมาร้อยละ 25 จากรายชื่อจังหวัดที่สุ่มได้ หลังจากนั้นสุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาโรงเรียนละ 15 คน และนักเรียนโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 มาวิทยาลัยละ 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตรซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรและหนังสือภาษาอังกฤษเกษตร สอ 101 ถึง สอ 104 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยได้รับการตรวจความเหมาะสมและความตรงตามเนื้อหาจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการสอนและการวัดผลภาษาอังกฤษ หลังจากปรับปรุงแก้ไขแล้วผู้วิจัยได้ทำการทดลองใช้กับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและในวิทยาลัยเกษตรกรรมเป็นจำนวน 3 ครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแหนอยู่ในเกณฑ์จากนั้นนำแบบสอบที่มีค่าความเที่ยง 0.95 ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน รวม 80 ข้อ และใช้เวลาในการทำแบบสอบ 1 ชั่วโมง 40 นาที ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่สุ่มไว้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 กลุ่ม โดยการใช้อัตราส่วนวิกฤต ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างประชากรได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในการทำแบบสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตร รวมสี่ทักษะ และในทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ส่วนทักษะการฟังปรากฏว่านักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทักษะอื่น ๆ และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตรที่นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือทักษะการอ่าน นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในการทำแบบสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตรรวมสี่ทักษะและในทักษะการฟัง และทักษะการเขียน นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเป็นครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม ในทักษะการพูด และได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในทักษะการอ่าน ส่วนทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเกษตรที่นักเรียนทำคะแนนเฉลี่ยได้สูงที่สุดคือ ทักษะการเขียน และได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดในทักษะการอ่าน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีความสามารถในทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน รวมสีทักษะและแยกแต่ละทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งตรงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: The purposes of these study were to study English proficiency for agriculture of agricultrure program students at the upper secondary education level and the certificate of vocational education level and to compare the English proficiency for agriculture of these two groups of agriculture program students. The samples of this study were 781 students, consisted of 390 matayom suksa six students in upper secondary schools under the Department of General Education and 391 third-year students of the certificate of vocational education in agricultural colleges under the Department of Vocational Education. The samples were selected by means of multi-stage random sampling. Twenty-five percent of provinces were drawn for twelve educational regions, and Bangkok Metropolis. From selected provinces, twenty-five percent of upper secondary schools and agricultural colleges were selected at random. After that, 15 matayom suksa six students and 23 third-year students of the certificate of vocational education were randomly selected from each school and college. The instrument used for collecting data in this study was a proficiency test of English for agriculture constructed and developed by the researcher. Its content was in accordance with those in the curriculum as well as the textbooks of English for Agriculture Book I to Book IV. It was checked for its appropriateness and content validity by the advisor and experts in the field of English testing and teaching. After it was refined, three experimental texts were done with the matayom auks six agriculture program students and the third-year agriculture students at the certificate of vocational education level to check the degree of difficulty and power of discrimination of each test item. The reliability of the test was 0.95. The test, divided into four skills – listening, speaking, reading and writing –consisted of 80 items in total and it took an hour and forty minutes to do the test. Then the tests were administered to the samples. The obtained data were statistically analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The results of this study were as follows: The upper secondary school students got the mean scores lower than a half of the total point in doing English for agriculture test in all skills and in speaking skill, reading skill and writing skill. They got the mean score higher than a half of the total point in listening skill, which was higher than the mean scores of the other skills, and got the lowest mean score in reading. The certificate of vocational education students got the mean scores higher than a half of the total point in doing English for agriculture test in all skills especially in listening and writing skills. They got the mean score at a half of the total point in speeding skill and got the mean score lower than a half of the total point in reading skill. The mean score in writing skill was higher than the mean scores of the other skills and the mean score in reading skill ranked the lowest. The upper secondary school students and the certificate of vocational education students and the certificate of vocational education students had different abilities in all skills-listening, speaking, reading and writing-and each skill, which were statistically significant at 0.05 and retained to the hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19747
ISBN: 9745661481
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uthaivan_Da_front.pdf487.54 kBAdobe PDFView/Open
Uthaivan_Da_ch1.pdf488.53 kBAdobe PDFView/Open
Uthaivan_Da_ch2.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Uthaivan_Da_ch3.pdf466.81 kBAdobe PDFView/Open
Uthaivan_Da_ch4.pdf282.88 kBAdobe PDFView/Open
Uthaivan_Da_ch5.pdf514.92 kBAdobe PDFView/Open
Uthaivan_Da_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.