Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19753
Title: การศึกษาการใช้สารประกอบโลหะผสมกันในกระบวนการชุบนิกเกิลและโครเมี่ยมด้วยไฟฟ้า
Other Titles: Study on mixed metal compound use for niccle and chromium electroplating processes
Authors: ธีรศักดิ์ เจริญเศรษฐกุล
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.Pua@chula.ac.th, Puajindanetr.Pua@chula.ac.th
Subjects: การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า
การชุบนิเกิล
แผ่นเหล็กเคลือบโครเมียม
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความเข้มข้นของสารประกอบโลหะชนิดนิกเกิลและโครเมียมที่เหมาะสมในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีในบ่อน้ำยาชุบนิกเกิลและโครเมียม ที่ประกอบด้วยบ่อน้ำยานิกเกิลและโครเมียมจำนวน 4 บ่อ คือบ่อ Semi-Ni , บ่อ Tri-Ni, บ่อ Bright-Ni และบ่อ Bright-Cr โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งชิ้นงานที่ทำการศึกษาคือชิ้นส่วนป้องกันความร้อนจากท่อไอเสีย (Protector Muffler) และท่อระบายไอเสีย (Exhaust Pipe)โดยศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการชุบและความเข้มข้นของสารประกอบโลหะชนิดนิกเกิลและโครเมียมที่มีผลต่อค่าความหนาของชั้นนิกเกิลและโครเมียม โดยทำการทดลองในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการฮัลเซลล์ที่ความเข้มข้นของสารชุบประกอบชนิดนิกเกิลที่ 240, 250, 260 และ 275 กรัมต่อลิตร ในบ่อ Semi-Ni, บ่อ Tri-Ni , บ่อ Bright-Ni และความเข้มข้นของสารชุบประกอบชนิดโครเมียมที่ 260, 280 และ 315 กรัมต่อลิตร ในบ่อ Bright-Cr หลังจากนั้นทำการทดลองในสายการผลิตจริงที่ความเข้มข้นของสารชุบประกอบชนิดนิกเกิลที่ 250, 260 และ 275 กรัมต่อลิตร ในบ่อ Semi-Ni , บ่อ Tri-Ni , บ่อ Bright-Ni และความเข้มข้นของสารชุบประกอบชนิดโครเมียมที่ 260, 280 และ 315 กรัมต่อลิตร ในบ่อ Bright-Cr การออกแบบการทดลองปัจจัยเดียวได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าความหนาทำให้ทราบว่าที่ระดับความเข้มข้นต่างๆจะมีผลต่อค่าความหนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่มีข้อบกพร่องของคุณสมบัติทางกายภาพของชิ้นงาน ผลการทดลองพบว่าความเข้มข้นของสารชุบประกอบชนิดนิกเกิลที่ 260 กรัมต่อลิตร ในบ่อ Semi-Ni, บ่อ Tri-Ni , บ่อ Bright-Ni และ ความเข้มข้นของสารชุบประกอบชนิดโครเมียมที่ 260 กรัมต่อลิตร ในบ่อ Bright-Cr เป็นสภาวะ ที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ค่าความหนาและคุณภาพของชิ้นงานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ภายหลังจากการศึกษาหาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อค่าความหนาแล้วได้นำไปประยุกต์ใช้กับการผลิตจริง โดยควบคุมค่าความเข้มข้นให้อยู่ในระดับที่กำหนด พบว่าปริมาณสารเคมีที่ใช้ลดลง จาก 0.033 กิโลกรัมต่อชิ้น เหลือ 0.029 กิโลกรัมต่อชิ้น หรือคิดเป็นลดลง 12.12 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลงจาก 11.08 บาทต่อชิ้น เหลือ 9.56 บาทต่อชิ้นหรือคิดเป็นลดลง 13.72 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The objective of the research were to (1) study the proper concentration of mixed metal compounds for nickel and chromium electroplating processes, and (2) reduce the cost of mixed metal compounds for nickel and chromium tank which have 4 tanks which were Semi-Ni tank, Tri-Ni tank, Bright-Ni tank and Bright-Cr tank by without any effect on the product quality. The products were Protector Mufflers and Exhaust Pipes. The research emphasized on the relation between concentration of mixed metal compounds and the thickness value for nickel and chromium. Hull Cell test method was applied for trial in laboratory which have concentration of mixed metal compounds for nickel at 240, 250, 260 and 275 g/l in Semi-Ni tank, Tri-Ni tank, Bright-Ni tank and concentration of mixed metal compounds for chromium at 260, 280 and 315 g/l in Bright-Cr. tank. The experimental results were carried on to production line which have concentration of mixed metal compounds for nickel at 250, 260 and 275 g/l in Semi-Ni tank, Tri-Ni tank, Bright-Ni tank and concentration of mixed metal compounds for chromium at 260, 280 and 315 g/l in Bright-Cr tank. The study found that the different concentrations affecting the thickness value by significant without any effect on physical qualification of products. Furthermore, It found out that concentration of mixed metal compounds for nickel at 260 g/l in Semi-Ni tank, Tri-Ni tank, Bright-Ni tank and concentration of mixed metal compounds for chromium at 260 g/l in Bright-Cr tank is the best concentration which result of thickness value and product quality within the standard. After applying the suitable concentration obtained from the experiment to the production line, the factory could reduce the chemical usage from 0.033 kg/work piece to 0.029 kg/work piece or decreasing 12.12 percent, and also reduce the cost of chemical from 11.08 baht/work piece to 9.56 baht/work piece, or reducing 13.72 percent
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19753
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1350
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1350
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerasak_ch.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.