Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1978
Title: ผลของการจัดการกับอาการด้วยการนวดประคบต่อความเหนื่อยล้าของมารดาหลังคลอด
Other Titles: Effect of symptiom management by thaiherb-ball compression on fatigue of mothers during postpartum
Authors: อาลี แซ่เจียว, 2501-
Advisors: สุกัญญา ประจุศิลป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การนวดประคบ
ความล้า
ระยะหลังคลอด
การนวด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการกับอาการด้วยการนวดประคบต่อความเหนื่อยล้าของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดครรภ์แรก คลอดปกติ เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติกรรม 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลองอีก 20 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยการนวดประคบและการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การจัดการกับอาการด้วยการนวดประคบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd et al., (2001) และแนวคิดการนวดไทยโดยใช้การนวดประคบ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูแลแบบแพทย์ทางเลือกโดยมีขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ 1) การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของมารดาหลังคลอด 2) การจัดการกับอาการโดยใช้กระบวนการพยาบาลและการนวดประคบ และ 3) การประเมินผล โดยมีคู่มือการนวดประคบมารดาหลังคลอดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่านและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินความเหนื่อยล้าโดยแปลจากแบบประเมินความเหนื่อยล้าของ Pugh (1993) ค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของมารดาหลังคลอดภายหลังได้รับการจัดการกับอาการด้วยการนวดประคบ ([Mean] = 36.45) น้อยกว่าก่อนได้รับการจัดการกับอาการด้วยการนวดประคบ ([Mean] = 59.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของมารดาหลังคลอด กลุ่มที่ได้รับการจัดการกับอาการ ([Mean] = 36.45) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ([Mean] = 55.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: The purpose of this quasi- experimental study was to test the effect of symptom management and Thai herb-ball compression on fatigue of mothers during postpartum. The study sample were 40 new mothers who were admitted to ward postpartum 2 in Suratthani hospital. The subjects were divided into a control group and an experimental group. The groups were matched in terms of age and time of labor. The control group received routine nursing care, while the experimental group received the symptom management and Thai herb-ball compression together with routine nursing care. The program, based on the Symptom Management Model (Dodd et al., 2001) and Thai massage concepts was comprised of three sessions: a) Symptom experience assessment, b) Nursing care base on nursing process with Thai herb-ball compression, and c) Fatigue management evaluation. The instrument for collecting data was the Fatigue Continuum Form (Pugh, 1993). Internal consistency reliability tested with Cronbachs Alpha Coefficient was .91. Data were analyzed using descriptive statistic and t-test. The major findings were as follows: 1. The posttest mean score for fatigue of the experimental group ([Mean] = 36.45) was significantly lower than that of the pretest ([Mean] = 59.95, p<.001). 2. The posttest mean score for fatigue of the experimental group ([Mean] = 36.45) was significantly lower than of the control group ([Mean] = 55.90, p< .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1978
ISBN: 9745314676
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aree.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.