Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19782
Title: การพัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: The development of a service learning system to enhance civic responsibility of undergraduate students in Business Administration programs
Authors: เวสาลี ชาติสุทธิพันธุ์
Advisors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pateep.M@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
ความรับผิดชอบ
การเรียนรู้
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ประกอบด้วยการสำรวจและการสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ วิเคราะห์การเรียนรู้เชิงบริการ และพัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาบัณฑิต โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจจากผู้ดำเนินการทางธุรกิจของบริษัทที่มีผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการดี 100 บริษัทแรก ตามโครงการ Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2005 จำนวน 100 คน และอาจารย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ) จากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 54 คน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะจากอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิกของ SIFE Thailand (Students in Free Enterprise) จำนวน 6 คน และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 1 คน เพื่อนำมาพัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะ ระบบการเรียนรู้เชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ หลักการ แนวคิดทฤษฎี วัตถุประสงค์ ผู้สอน ผู้เรียน สถาบัน และชุมชน (2) กระบวน การเรียนการสอน ได้แก่ การเตรียมการ การดำเนินการ การไตร่ตรอง การประเมินผล และ การเผยแพร่ผลงาน และ (3) ผลลัพธ์ ได้แก่ ผลที่ได้รับจากการใช้ระบบการเรียนการสอน ซึ่งนำระบบมาทดลองโดยใช้แบบแผน การวิจัยแบบหนึ่งกลุ่ม-สอบก่อน-สอบหลัง (One Group Pre -Post test Design) กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาการประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จำนวน 20 คน โดยมีระยะเวลาในการทดลอง 15 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง รวมเป็น 45 ชั่วโมง จากผลการทดลองการใช้ระบบการเรียนรู้เชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะ พบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยทำกิจกรรมบริการที่ตรงต่อความต้องการและปัญหาของชุมชนผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงและการประกันภัยแก่ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความรับผิดชอบสาธารณะ ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางวิชาชีพ และทักษะในการดำรงชีวิต อีกทั้ง ผู้สอนได้แนวทางของการพัฒนาวิธีการสอนที่บูรณาการหลักสูตรเข้ากับชุมชน สถาบันการศึกษาได้เพิ่มความรับผิดชอบในการช่วยเหลือสังคมซึ่งก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดี และชุมชนได้สร้างความสัมพันธ์อันดีและมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา
Other Abstract: This study was a quantitative research, composed of surveying and interviewing, and an experimental research. The study aims to analyze corporate social responsibility, to analyze service learning, and to develop service learning system to enhance civic responsibility of undergraduate students in business administration programs. Data was collected from businesspeople of Top 100 Companies listed in the Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2005 and BBA instructors of fifty-four private and public universities in Thailand, via a questionnaire for corporate social responsibility. Six advisors of SIFE (Students in Free Enterprise) and one lecturer were also interviewed about service learning courses. Data was analyzed in order to develop a service learning system. As a result of the analysis, a service learning system was developed. The system consisted of three components: (1) Inputs. Concepts, theories, objectives, and all stakeholders (i.e. teacher, students, university and community) were brought into the system; (2) Process. Service learning process included five steps: preparation, action, reflection, evaluation and celebration; and (3) Outputs. All stakeholders gained benefits as service learning outputs. The service learning system was used as a pilot study by conducting a one-group pre-post test experimental design. Twenty BBA students, majoring in Life Assurance and Property & Casualty Insurance from the Faculty of Business Administration, Assumption University, participated in the pilot course for 45 hours (3 hours for 15 sessions). The findings indicated that students, who participated in the service learning process and underwent the entire process of preparation, action, reflection, evaluation, and celebration, improved their civic responsibility, academic skills, professional skills and life skills. Additionally, faculties had the opportunity to develop a practical teaching method, rather than traditional lecture. Through service learning, the university became more responsiveness to society needs, while public perception towards the university was enhanced. Communities improved their relationship with the university and contributed to education as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19782
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1267
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1267
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wasalee_c.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.