Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19866
Title: ความแตกต่างในการจัดการขยะมูลฝอยระหว่างชุมชนล้อมรั้วและไม่ล้อมรั้วในจังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Differences in solid waste management between gated and non-gated communities in Nonthaburi province
Authors: นิติ เจริญสุข
Advisors: อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: rapiwat@gmail.com
Subjects: การกำจัดขยะ
บ้านจัดสรร -- ไทย -- นนทบุรี
ชุมชนล้อมรั้ว -- ไทย -- นนทบุรี
Refuse and refuse disposal
Gated communities -- Thailand -- Nonthaburi
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการจัดการด้านขยะมูลฝอยในชุมชนล้อมรั้วและไม่ล้อมรั้วในจังหวัดนนทบุรี โดยเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานด้านขยะมูลฝอยของชุมชนและการจัดการขยะมูลฝอย ผู้ศึกษาแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว ชุมชนจัดสรรไม่ล้อมรั้วและชุมชนเดิม และเก็บข้อมูลโดยการสังเกต แบบสอบถามและสัมภาษณ์หน่วยงานท้องถิ่น การสังเกตใช้เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานด้านขยะมูลฝอย ส่วนแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ชุมชนทั้ง 3 รูปแบบมีมาตรฐานภาชนะรองรับขยะตามมาตรฐานกรมควบคุมมลพิษกำหนดแตกต่างกัน โดยชุมชนที่มีภาชนะรองรับได้มาตรฐานมากที่สุด ได้แก่ ชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว ชุมชนจัดสรรไม่ล้อมรั้ว และชุมชนเดิม ตามลำดับ ส่วนการจัดวางภาชนะรองรับขยะของชุมชนทั้ง 3 รูปแบบ เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบของชุมชนมีผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะสองตัวแปร คือ ความพึงพอใจและขยะคงเหลือ ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะ ได้แก่ ราคาบ้านเรือนมีผลต่อระดับความพึงพอใจในการจัดการขยะและขยะคงเหลือ ชุมชนที่บริหารจัดการโดยนิติบุคคลกับชุมชนที่บริหารจัดการโดยหน่วยงานท้องถิ่นดูแล มีความพึงพอใจและขยะคงเหลือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรแทรกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะ ได้แก่ ราคาค่าบริการจัดเก็บขยะมีผลต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการสังเคราะห์ผลการศึกษาจากเครื่องมือทั้ง 3 พบว่าสาเหตุที่ชุมชนจัดสรรล้อมรั้วมีประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย มากกว่าชุมชนจัดสรรไม่ล้อมรั้วและชุมชนเดิมนั้นเกิดจากรูปแบบการจัดการชุมชนโดยนิติบุคคล ส่งผลให้คนชุมชนจัดสรรล้อมรั้วส่วนเสียค่าใช้จ่ายด้านการจัดการขยะ มากกว่าชุมชนจัดสรรไม่ล้อมรั้วและชุมชนเดิมในรูปแบบของค่าส่วนกลาง ค่าส่วนกลางดังกล่าวนิติบุคคลนำไปจัดซื้อภาชนะรองรับขยะที่ได้มาตรฐาน เพื่อนำมาใช้ในชุมชนโดยไม่ต้องร้องขอจากหน่วยงานท้องถิ่น และนำไปจ่ายค่าบริการขยะแบบเหมาจ่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยค่าบริการคิดตามปริมาณขยะที่เกิดขึ้นเฉลี่ยแล้วมีราคาตั้งแต่ 25-50 บาทต่อหลังคาเรือนต่อเดือน ซึ่งแตกต่างจากชุมชนเดิมที่จ่ายเพียง 20-25 บาทต่อหลังคาเรือนต่อเดือน อย่างไรก็ตามชุมชนทั้ง 3 รูปแบบ ยังขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้งเรื่องการวางแผนร่วมกันและการคัดแยกขยะ ทั้งนี้เมื่อเกิดชุมชนจัดสรรล้อมรั้วแห่งใหม่ จะส่งผลต่อการวางแผนเส้นทางการจัดเก็บขยะมูลฝอย เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาการจัดเก็บมากกว่าเดิม ดังนั้นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นต้องวางแผนการจัดเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเก็บขยะในช่วงเวลาเร่งด่วน การจัดเก็บขยะมูลฝอยของชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว ชุมชนจัดสรรไม่ล้อมรั้วและชุมชนเดิมแตกต่างกัน เนื่องจากภายในชุมชนจัดสรรล้อมรั้วมีบ้านเรือนเรียงติดกัน จัดวางภาชนะรองรับขยะอย่างเป็นระบบ รวมถึงการทิ้งขยะลงถังเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่งผลให้หน่วยงานของส่วนท้องถิ่นจัดเก็บสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น หน่วยงานท้องถิ่นจึงสามารถประหยัดเวลาในการจัดเก็บ รวมถึงประหยัดค่าเชื้อเพลิงซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการจัดเก็บขยะมูลฝอยด้วย
Other Abstract: To examine the differences in solid waste management among gated and non-gated subdivided communities, and traditional non-gated communities in Nonthaburi Province. The data were collected by observation, questionnaires and interviews. The observation method was used to collect data about the infrastructure for solid waste management, while the questionnaires and the interviews were used to collect data on solid waste management in the select communities. The results show that the solid waste management in gated communities follows the standard criteria established by the Pollution Control Department. The solid waste containers are appropriately arranged according to the regulations specified by the Department of Local Administration. On the contrary, most of the non-gated subdivided and traditional communities use sub-standard containers, even though the containers are properly located according to the regulations of are the Department of Local Administration. The community types are significantly associated with the levels of efficiency in waste management both in terms of users’ satisfaction and the amount of left-over garbage. House prices and fees for waste collection are significantly correlated with the level of satisfaction. This is because the housing associations in gated communities are able to spend more on waste management and infrastructure systems. Nonetheless, residents in most communities still do not participate actively in planning and separating solid waste. According to local authorities, it is easier for them to collect garbage in gated communities, because the containers are properly located.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19866
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.379
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.379
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niti_ch.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.